• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > รายงาน
  • > รายงานประจำปีธนาคารแห่งประเทศไทย
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​
โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่าง ธปท. กับภาคธุรกิจ
(Business Liaison Program: BLP)

>>ดาวน์โหลดเอกสาร



          โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจ ระหว่าง ธปท. กับภาคธุรกิจนั้น เป็นโครงการที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 เพื่อให้เข้าใจถึงภาวะเศรษฐกิจจริงในเชิงลึกทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ รับทราบข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรค ช่วยในการมองไปข้างหน้า รวมถึงสร้างความเข้าใจต่อพฤติกรรมและบทบาทของผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจระดับจุลภาคที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจ สำหรับใช้ประกอบในการพิจารณาเพื่อดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผ่านการสัมภาษณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบธุรกิจในสาขาต่าง  ๆ สมาคมและองค์กรภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ รวมถึงครัวเรือนฐานราก แนวทางการทำงานในลักษณะนี้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมจากหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ และช่วยให้ ธปท. สามารถประเมินภาวะเศรษฐกิจได้อย่างรอบด้านมากขึ้น

          รูปแบบหลักในการทำงานของ BLPจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

          1. การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ผู้แทน ธปท. จากสำนักงานใหญ่และสำนักงานภาค โดยส่วนเศรษฐกิจภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จะติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบการประมาณ 200 รายต่อไตรมาส หรือ 800 รายต่อปี มีทั้งกลุ่มที่สัมภาษณ์เป็นประจำทุกปีเพื่อติดตามภาวะธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มใหม่ ๆ
เพื่อกระจายกลุ่มตัวอย่างให้หลากหลาย ทั้งในมิติของขนาดและประเภทของธุรกิจ รวมถึงมิติของพื้นที่ โดยกลุ่มตัวอย่างจะครอบคลุมทั้งบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และกลุ่มธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม การบริการ การค้า ก่อสร้าง และเกษตรกรรม ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญจะติดต่อสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที รวมถึงลงพื้นที่จริงเพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและรอบด้าน

          2. จัดประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น (roundtable) ในประเด็นที่มีนัยต่อเศรษฐกิจ จะระดมความคิดเห็นจากตัวแทนบริษัท หน่วยงาน หรือสมาพันธ์ สมาคม สภาต่าง ๆ ทั้งในประเทศ อาทิ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ SMEs สมาคมผู้ค้าปลีก สมาคมโชห่วย สภาองค์การลูกจ้าง สหภาพแรงงาน สมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง สมาคมแท็กซี่ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ JETRO และสถานทูต หรือหอการค้าของประเทศคู่ค้าหลักของไทย

          3. โครงการผู้บริหาร ธปท. พบผู้ประกอบการในภูมิภาค เป็นการหารือกับผู้ประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. กับผู้ประกอบการภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับภาวะและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค รวมถึงการเยี่ยมชมบริษัทหรือลงพื้นที่ เพื่อให้เห็นการทำงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง โดยในแต่ละปี ธปท. จะลงพื้นที่ในสี่ภูมิภาคหลัก ครอบคลุมหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

          ทั้งนี้ รูปแบบการทำงานในโครงการ BLP มีความหลากหลาย เอื้อให้เกิดการสร้างเครือข่ายผ่านความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้รับข้อมูลในภาคเศรษฐกิจจริง ธปท. ได้ดำเนินการด้านธรรมาภิบาลข้อมูลอย่างเข้มงวด ข้อมูลที่ได้รับถือเป็นความลับ และ ธปท. จะสรุปข้อมูลเป็นภาพรวมเพื่อเผยแพร่ในรายงานแนวโน้มธุรกิจเป็นประจำทุกไตรมาส และจะใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบการประชุมภาวะเศรษฐกิจรายเดือน และการประชุม กนง. อย่างต่อเนื่อง

          นอกจากการติดตามภาวะเศรษฐกิจผ่าน BLP แล้ว ธปท. ยังได้พัฒนาดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นที่ครอบคลุมทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนฐานราก ทั้งในมิติเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพื้นที่ เพื่อใช้ประเมินภาพความเป็นอยู่ของทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนเป็นประจำทุกเดือน ดังนี้

          1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business Sentiment Index: BSI) จากการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการประมาณ 800 รายต่อเดือน นอกจากนี้ ในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อาทิ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ธปท. ได้ดำเนินการสำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 ผ่านแบบสอบถามไปยังผู้ประกอบการเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยให้สามารถติดตามภาวะและพัฒนาการของเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว

          2) ดัชนีความเชื่อมั่นครัวเรือนฐานราก (Relationship Manager Sentiment Index: RMSI) ที่จัดทำร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจผ่านการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้จัดการสาขาของธนาคารทั่วประเทศ เพื่อประเมินความเชื่อมั่น  ครัวเรือนฐานราก ทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง (rural and urban areas) โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามรวมกว่า 2,200 รายต่อเดือน

          3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retail Sentiment Index: RSI) ร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและร้านค้าตามหัวเมืองใหญ่ เพื่อติดตามความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีก ครอบคลุมกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ




Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร

ผู้จัดการบริการ
จุฑามาศ โทร 0-2356-7551
ษกาณ โทร 0-2283-5317

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.