• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
Peer-to-Peer Lending สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคลรูปแบบใหม่

​นางสาวปณิดา ถกลวิโรจน์
ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน

          ในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันทั้งในแง่ความสะดวกสบายและความรวดเร็ว เห็นได้จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เช่น การซื้อสินค้า การจองตั๋วภาพยนตร์ การจองที่พัก รวมไปถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันการกู้ยืมเงินก็เป็นอีกหนึ่งธุรกรรมทางการเงินที่สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยผู้ที่ต้องการเงินทุนสามารถมาขอกู้เงินผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือช่องทาง หรือหากเป็นผู้ที่มีเงินเหลืออยากหาทางเลือกใหม่ในการลงทุนก็สามารถปล่อยกู้ได้เช่นกัน โดยอาจทำผ่านผู้ให้บริการ Peer-to-peer lendingplatform (P2P lending platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมผู้ที่ต้องการเงินกับผู้ที่มีเงินเหลือให้มาเจอกัน

          P2P lending ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยกระแสดังกล่าวเริ่มเข้ามาในประเทศไทยกลายเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้ต้องการเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ จากการนำเทคโนโลยีมาทำหน้าที่ตัวกลางทางการเงินซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้กู้ต่ำลง อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินให้ประชาชนและบุคคลผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงการกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ (เพราะไม่มีรายได้ประจำหรือไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน) โดยไม่ต้องไปกู้นอกระบบซึ่งอาจมีดอกเบี้ยที่สูงมาก นอกจากนี้ P2P lending ยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ให้กู้ในการกระจายความเสี่ยงที่สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบเดิมในระดับความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้ยอมรับได้

          อย่างไรก็ดี การทำธุรกรรมสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวก็มีความเสี่ยงในหลายด้าน อาทิ ความเสี่ยงที่ผู้กู้จะก่อหนี้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของตน หรือความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้อาจไม่ได้รับชำระหนี้คืนตามสัญญา เนื่องจากการให้สินเชื่อไม่ใช่การฝากเงิน ผู้ให้กู้จึงไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้จะขาดสภาพคล่องเนื่องจากไม่สามารถยกเลิกการให้สินเชื่อหรือเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญาได้ และที่สำคัญ P2P lending เป็นธุรกรรมการให้สินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการในวงกว้าง สัญญาสินเชื่อสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน จึงมีโอกาสเกิดการหลอกลวงทั้งจากแพลตฟอร์มและผู้กู้ ดังเช่นกรณีศึกษาในต่างประเทศที่แพลตฟอร์มมีการให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง ผู้บริหารแพลตฟอร์มทุจริต แพลตฟอร์มหรือผู้กู้สร้างโครงการขอกู้ปลอม เป็นต้น

          สำหรับ P2P lending ในประเทศไทยนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับดูแลเฉพาะแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ผู้กู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา กับ ผู้ให้กู้ที่เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดย ธปท. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ P2P lending platform ให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ กรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของแพลตฟอร์มต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถ ไม่เคยมีการทำงานที่แสดงถึงการขาดมาตรฐานวิชาชีพ และไม่มีปัญหาด้านสถานะทางการเงิน (ไม่เป็น NPL) แพลตฟอร์มต้องมีระบบงานที่มั่นคง น่าเชื่อถือ สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และมีมาตรฐานในการให้บริการโดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงปลอดภัย มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการและข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) มีการเปิดเผยข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน และมีคำเตือนให้ผู้ใช้บริการตระหนักถึงความเสี่ยงของตน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ และดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเสถียรภาพระบบการเงิน

Article_05Jun2019.PNG

          ถึงแม้ ธปท. จะมีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ P2P lending platform แล้วก็ตาม แต่ธุรกรรมการให้สินเชื่อออนไลน์ยังอาจมีความเสี่ยง ผู้ใช้บริการควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ เลือกใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ หากเป็นผู้กู้ควรก่อหนี้ด้วยความระมัดระวัง และหากสนใจเป็นผู้ให้กู้ควรทำความเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของสินเชื่อก่อนการตัดสินใจทำธุรกรรม เพื่อให้การใช้นวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่นี้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อผู้กู้ ผู้ให้กู้ และระบบเศรษฐกิจของประเทศ

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.