• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​เร่งเงินให้หมุนไว...เร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
​
ดร.ฐิติมา ชูเชิด 
ฝ่ายนโยบายการเงิน 


ไม่นานนี้มีโอกาสได้ฟังมุมมองที่น่าสนใจว่า การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (digital payment) จะช่วยให้เงินหมุนเร็วขึ้น และเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวรับกับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปตั้งแต่เกิดโควิด-19 ให้ฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เพราะจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หันไปช้อปปิ้งและจ่ายชำระเงินในระบบออนไลน์สูงขึ้นมากได้ วันนี้จึงอยากมาชวนคิดกันค่ะว่า digital payment จะเร่งเงินให้หมุนไวและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้จริงหรือ 

เข้าใจการหมุนของเงิน 

เริ่มจากมาทำความรู้จักกับ “อัตราการหมุนของเงิน” กันก่อนค่ะ ซึ่งวัดจากจำนวนรอบที่ “ปริมาณเงิน” ถูกนำไปใช้ซื้อขายสินค้าและบริการในประเทศ ส่วนใหญ่นิยมดูเป็นสัดส่วนของมูลค่า GDP เทียบกับปริมาณเงิน จะบอกให้รู้ถึงพฤติกรรมการใช้เงินเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงจะบอกให้รู้ถึงพฤติกรรมการเก็บเงินของประชาชนและธุรกิจเป็นเงินสดและเงินฝากเพื่อคงสภาพคล่องและรักษามูลค่าไว้ 

คำว่า “ปริมาณเงิน” มีหลายนิยามตั้งแต่นิยามแคบสุดไปกว้างสุด ถ้าดู “ปริมาณเงินความหมายแคบ (narrow money)” จะนับรวมเฉพาะเงินสดกับเงินฝากสภาพคล่องสูง เช่น เงินฝากกระแสรายวัน แต่ปริมาณเงินที่นิยมใช้กันจะเป็น “ปริมาณเงินความหมายกว้าง (broad money)” ที่รวมเงินฝากประเภทอื่นๆ เช่น เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ สำหรับบางประเทศที่ตลาดการเงินพัฒนามาก เช่น สหรัฐฯ อาจดูปริมาณเงินความหมายกว้างขึ้น ที่รวมเงินลงทุนในกองทุนตลาดเงินที่ไถ่ถอนเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้เร็ว (money of zero maturity: MZM) ด้วย 

ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ปริมาณเงินจะหมุนได้น้อย เพราะผู้บริโภคและธุรกิจมีพฤติกรรมเก็บเงินมากกว่าใช้เงิน สถาบันการเงินเองก็ระมัดระวังการนำเงินฝากไปปล่อยสินเชื่อต่อเพราะกลัวหนี้เสีย เงินเลยไม่สะพัด การเทียบดูอัตราการหมุนของปริมาณเงินแต่ละประเภทจะช่วยให้เห็นว่า ภาพรวมกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากการหมุนของเงินสดและเงินฝาก (รวมถึงเงินลงทุนสภาพคล่องสูงในตลาดเงิน สำหรับปริมาณเงินความหมายกว้างที่สุด) ได้กี่รอบ 

เงินหมุนช้าลงมากในช่วงโควิด-19

ในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 อัตราการหมุนของปริมาณเงินความหมายกว้างในไทย  (เมื่อคิดเทียบกับมูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นแต่ละไตรมาส) ค่อนข้างจะต่ำและนิ่งอยู่ที่ประมาณ 0.2 เท่า สะท้อนว่าจังหวะการเติบโตของเศรษฐกิจไทยขยับไปพร้อมกับการเติบโตของปริมาณเงิน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า อัตราหมุนขอเงินที่ค่อนข้างต่ำเช่นนี้กำลังบอกเราว่า ขนาดเศรษฐกิจไทยค่อนข้างจะเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณเงินที่มีในระบบเศรษฐกิจการเงิน ยิ่งพอมาในช่วงโควิด-19 อัตราการหมุนของเงินในไตรมาส 2 ปี 2563 ช้าลงไป 20% เหลือเพียง 0.16 เท่า 

article_201006.png

สาเหตุที่อัตราการหมุนของเงินในไทยลดลงมากในช่วงไตรมาส 2 นี้มาจากมูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (nominal GDP) ที่ซึมเซาหดตัวถึง -14.5% ขณะที่ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นถึง 11% เทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ส่วนนึงเพราะคนไม่มั่นใจที่จะเก็บเงินไว้ในสินทรัพย์รูปแบบต่างๆ จึงไถ่ถอนโยกย้ายมาเก็บเป็นเงินสดหรือเงินฝากมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน เงินสดและเงินฝากโดยรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีนี้ถึงเติบโตขึ้นมาก 16% และ 11% เทียบจากปีก่อน ตามลำดับ แม้ปริมาณเงินจะปรับลดลงบ้างจากช่วงเดือน มี.ค. ที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มรุนแรงในไทย แต่ข้อมูลล่าสุดก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงผิดปกติ นอกจากนี้ ยังมีการเร่งอัดฉีดเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากรัฐบาลอีกราว 3 แสนล้านบาทที่มีส่วนทำให้ปริมาณเงินมีมากขึ้น

สำหรับกรณีสหรัฐฯ ปริมาณเงินหมุนเร็วกว่าไทยมาก หมุนได้ประมาณ 2 เท่าในช่วงก่อนวิกฤตปี 2551 แต่ลดลงเรื่อยๆ จนล่าสุดเหลือประมาณ 1 เท่าในช่วงโควิด-19 สาเหตุของการลดลงที่พิเศษกว่าไทย คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ โตไม่ทันการอัดฉีดเงินจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ใช้มาตั้งแต่หลังเกิดวิกฤตการเงินโลกปี 2551 พอมาเจอวิกฤตโควิด-19 ทำให้ Fed ใช้มาตรการ QE หนักมือขึ้น อัตราการหมุนของเงินยิ่งดิ่งลงแรง ซึ่งนับเป็นอัตราการหมุนของเงินที่ต่ำสุดในรอบ 60 ปี สะท้อนว่ามูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ขณะที่ปริมาณเงินก็ท่วมระบบจากมาตรการ QE เร่งอัดฉีดสภาพคล่อง แต่เงินไม่ได้หมุนออกไปใช้จ่ายสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากนัก 

โลกการเงินดิจิทัล...คน(มีเงิน) ใช้เงินได้เร็วขึ้น 

จริงอยู่ว่า digital payment เข้ามาช่วยให้การจ่ายโอนเงินสะดวกรวดเร็วขึ้น ลดต้นทุนและเวลา ทำได้ตลอดเวลาผ่านโทรศัพท์มือถือหรือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ส่วนผลศึกษาของ ธปท. ก็สนับสนุนว่า digital payment ช่วยให้เงินหมุนเร็วขึ้นและมีบทบาทมากขึ้น แต่อย่าลืมว่า คนจะตัดสินใจกดปุ่มใช้จ่ายออนไลน์ได้เร็ว ก็ต้องอุ่นใจด้วยว่ามีเงินใช้จริงๆ ดังนั้น ปัจจัยหลักที่จะทำให้เงินหมุนเร็วขึ้นจึงมาจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจและความมั่นใจของประชาชนด้วย ถ้าคนมีงานทำมีกระแสรายได้แน่นอน ไม่ต้องกังวลว่าจะตกงานหรือถูกลดเงินเดือน หรือกิจการจะต้องปิดในวันหน้า พอได้เงินมาก็กล้าใช้เงิน เงินก็จะหมุนเปลี่ยนมือเป็นทอดๆ ได้ไม่จบ แต่ถ้าคนยังกังวล พอได้เงินมาก็จะเก็บออมไว้มากขึ้น ใช้จ่ายต่อไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เงินก็จะหมุนเปลี่ยนมือช้าลง 

ดังนั้น การจะเร่งให้เงินหมุนไวขึ้นได้ในยามวิกฤต คงไม่ใช่แค่การออกมาตรการแจกเงินเยียวยา พักหนี้ หรือเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราว แต่ภาครัฐคงต้องมองถึงนโยบายที่จะสร้างความมั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจ การมีงานทำมีกระแสรายได้ที่แน่นอน รวมถึงการสร้างบรรยากาศให้คนที่มีเงินสดเงินฝากตุนอยู่เยอะอยากใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัย digital payment ที่รอท่าอยู่ จะช่วยให้ข้อต่อการใช้จ่ายหมุนเงินเป็นทอดๆ ทำได้ไวขึ้น เศรษฐกิจไทยจะได้ฟื้นกลับมาในเร็ววันค่ะ 


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.