• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ปัญหาสภาพคล่องกับตลาดตราสารหนี้ไทย
​นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์
ฝ่ายนโยบายการเงิน



ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะคลี่คลายเมื่อใด ยังได้สร้างความไม่แน่นอนและความผันผวนให้กับตลาดการเงินเป็นอย่างมาก ซึ่งรวมถึงตลาดตราสารหนี้ของไทยที่เผชิญแรงเทขายจนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาตรการเพื่อเข้ามาดูแลสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ บางขุนพรหมชวนคิดจึงขอพาท่านผู้อ่านมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินในช่วงที่ผ่านมาค่ะ  

ในสถานการณ์ปกติ หากตลาดการเงินอยู่ในภาวะ risk-off  หรือสภาวะเสี่ยง ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่มีความไม่แน่นอนและผันผวนสูง นักลงทุนจะย้ายเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำกว่า จึงมักเกิดการเทขายตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของภาคเอกชนเพื่อไปถือเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลโดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาวมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในระยะสั้น อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงและกระจายไปทั่วโลก ประกอบกับหลายประเทศประกาศปิดประเทศ (Lockdown) เพื่อจำกัดการแพร่ระบาด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักหรือทำได้จำกัด รวมถึงสงครามราคาน้ำมันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่คาดว่าจะกดดันรายได้ของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันอย่างหนัก เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเพิ่มความกังวลให้กับตลาดการเงินและนักลงทุน ส่งผลให้ตลาดเคลื่อนไหวแบบไม่สมเหตุสมผล 

จากเหตุการณ์ข้างต้นทำให้สินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ถูกเทขายออกมาจากภาวะ risk off ที่เห็นชัดเจนคือ ตราสารทุน โดยดัชนีหุ้นทั่วโลกปรับลดลงแรงจนถูกสั่งพักการซื้อขายชั่วคราวระหว่างวัน (Circuit breaker) หลายครั้ง แต่สิ่งที่แตกต่างจากสถานการณ์ปกติคือ สินทรัพย์ปลอดภัยทั้งพันธบัตรรัฐบาลและทองคำกลับถูกเทขายเช่นเดียวกัน สะท้อนถึงการขายอย่างตื่นตระหนกหรือ panic sell ภาวะตลาดที่ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นเดียวกับไทย โดยสิ่งที่นักลงทุนต้องการถือ ณ ตอนนี้มีแค่เพียงเงินสดเท่านั้น ความต้องการถือเงินสดที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องปรับสูงขึ้นตามจากการที่มีคนขายสินทรัพย์มากกว่าคนซื้อ ซึ่งปัญหาสภาพคล่องนี้เห็นได้ชัดในตลาดตราสารหนี้ของไทยที่มีแรงขายอย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการปรับน้ำหนักการลงทุนเมื่อราคาหุ้นตกลงอย่างหนักจึงจำเป็นต้องขายตราสารหนี้เพื่อปรับสัดส่วนการลงทุน ความกังวลว่าอาจไม่ได้รับทั้งเงินลงทุนและดอกเบี้ยคืน (default risk) รวมถึงการขายของนักลงทุนต่างชาติเพื่อลดการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และส่วนหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทที่ปรับอ่อนค่าลง การเทขายตราสารหนี้ทำให้กองทุนตราสารหนี้จำเป็นต้องขายตราสารหนี้ที่ถืออยู่ แม้จะเป็นตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี เพื่อนำเงินมาชำระคืนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่เทขาย จนส่งผลให้กองทุนต้องขายตราสารหนี้ในราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะได้รับหากรอให้ตราสารหนี้ครบกำหนด และท้ายที่สุดทำให้บริษัทจัดการกองทุนตราสารหนี้บางแห่งเริ่มยืดระยะเวลาได้รับเงินคืนให้ยาวขึ้น 

ปัญหาสภาพคล่องที่เกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลโดยเร็วอาจทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกและยิ่งพยายามเทขายหน่วยลงทุนออกมา จนอาจกระทบเป็นวงกว้างและลามไปกระทบสภาพคล่องในตลาดอื่น ๆ ทั้งระบบการเงินได้ ธปท. และหน่วยงานภาครัฐจึงได้เข้ามาดูแลปัญหาดังกล่าวผ่านมาตรการเสริมสภาพคล่องให้กองทุนรวมตราสารหนี้ทุกกองทุน โดยหากกองทุนใดถูกขายหน่วยลงทุนคืนจำนวนมาก ธนาคารพาณิชย์สามารถเข้าไปช่วยซื้อหน่วยลงทุนและนำหน่วยลงทุนนั้นไปขายให้ ธปท. ได้ พร้อมทำสัญญาว่าจะซื้อคืนในอนาคต รวมถึง ธปท. รับซื้อพันธบัตรรัฐบาลหากกองทุนใดจำเป็นจะต้องขาย รวมถึงตั้งกองทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้บริษัทที่มีคุณภาพดี แต่ไม่สามารถต่ออายุตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ทั้งจำนวนจากปัญหาตลาดขาดสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยลดความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และเป็นการ “ดับไฟ” ก่อนที่ปัญหาสภาพคล่องจะลุกลามเป็นปัญหาทั้งระบบการเงินได้ค่ะ


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย 


>>> Download PDF




Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.