You may be trying to access this site from a secured browser on the server. Please enable scripts and reload this page.
EN
EN
เกี่ยวกับ ธปท.
บทบาทหน้าที่และประวัติ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
กฎหมาย/กฎเกณฑ์
ผังโครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการ
รายงานทางการเงิน
รายงานประจำปี ธปท.
ธนบัตร
มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
สมัครงานและทุน
พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
ศคง. 1213
งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
คณะกรรมการ กนง.
ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
ภาวะเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจภูมิภาค
ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
คณะกรรมการ กนส.
โครงสร้างระบบ สง. ไทย
บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
การกำหนดนโยบาย สง.
การกำกับตรวจสอบ สง.
ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล
มุมสถาบันการเงิน
การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
การดำเนินนโยบายการเงิน
การบริหารเงินสำรอง
การพัฒนาตลาดการเงิน
ตลาดเงินตราต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
การลงทุนโดยตรง ตปท.
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
คณะกรรมการ กรช.
นโยบายการชำระเงิน
การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
บริการระบบการชำระเงิน
แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
งานสัมมนา
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถิติ
สถิติตลาดการเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงิน
สถิติสถาบันการเงิน
สถิติระบบการชำระเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
คู่มือประชาชนด้านสถิติ
บริการข้อมูล BOT API
Toggle navigation
หน้าหลัก
>
วิจัยและสัมมนา
>
บทความ
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
โครงการประกันค่าเงิน: ตัวช่วย SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์
ฝ่ายนโยบายการเงิน
ในบริบทของเศรษฐกิจการเงินโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ข้อพิพาทการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ยังไม่สิ้นสุด และสภาพคล่องที่มีมากในระบบการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของหลายธนาคารกลาง ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายผันผวนมากขึ้น ดังนั้น ในระยะต่อไปเศรษฐกิจการเงินไทยยังต้องเผชิญกับความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มีมากขึ้น การบริหารจัดการความเสี่ยงนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้จึงอยากชวนท่านผู้อ่านทำความรู้จักกับเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและแนะนำโครงการประกันค่าเงินของ ธปท. ซึ่งเป็นโครงการที่จะมาช่วยจัดการความเสี่ยงนี้ค่ะ
"ความผันผวนของค่าเงินเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากและมักมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศควรต้องรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้นผ่านการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม"
ความผันผวนของค่าเงินเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากและมักมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ในปีนี้เงินบาทมีทั้งการอ่อนค่าและแข็งค่า โดยอ่อนค่าในช่วงต้นปีจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน ทำให้นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวจากผลกระทบในภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกและทำให้เงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ดี เงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าภายหลังไทยสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดี ทำให้นักลงทุนปรับมามีมุมมองที่ดีขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และหันมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) มากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงที่เงินบาทผันผวน ธปท. จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนรุนแรงและเร็วเกินไปจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและการปรับตัวของภาคธุรกิจในระยะสั้น อย่างไรก็ดี นอกจากจะเป็นเรื่องของธนาคารกลางแล้ว ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศควรต้องรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้นผ่านการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อจำกัดผลกระทบต่อรายได้และต้นทุนโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ยิ่งมีความจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพราะผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอาจหักล้างกำไรของธุรกิจจนหมดได้
แล้วเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีอะไรบ้าง? โดยทั่วไปมี 2 เครื่องมือหลัก เครื่องมือแรกคือ
การทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
(Forward contract) หรือที่หลายคนเรียกว่าการจองฟอร์เวิร์ด โดยเป็นการตกลงที่จะซื้อหรือจะขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร ณ วันที่กำหนดไว้ในอนาคต ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนและจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ณ ปัจจุบัน สำหรับเครื่องมือถัดมาคือ
การซื้อสิทธิ์ที่จะซื้อหรือสิทธิ์ที่จะขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต
(Options) ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนและจำนวนเงินที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ เครื่องมือทั้ง 2 ประเภทมีความยืดหยุ่นแตกต่างกัน โดย Options จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะสามารถเลือกใช้สิทธิ์หรือไม่ก็ได้ ในขณะที่การใช้ Forwards จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา
นอกเหนือจากเครื่องมือทางการเงินแล้ว ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ทางเลือกอื่นในการบริหารความเสี่ยงได้เช่นกัน อาทิ การเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ
กับธนาคารพาณิชย์ในไทยในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ต้องการที่จะขายเงินตราต่างประเทศทันที การบริหารรายได้และรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้สอดคล้องกันหรือ
การจัดการแบบ Natural hedge
(เช่น การซื้อวัตถุดิบเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. และขายสินค้าเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. มาจับคู่กัน)
การใช้เงินตราต่างประเทศหลายสกุลกับคู่ค้าแทนการใช้เงินสกุลเดียว
เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ประกอบการจะเลือกใช้เครื่องมือใดล้วนช่วยปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ทั้งสิ้น
แม้จะมีหลากหลายวิธีที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่การขาดความรู้ความเข้าใจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่กล้าป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ธปท. ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาทางช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการไทยสามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2561 ได้มี
โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้แก่ SMEs รวมถึงหากผู้ประกอบการใดมีคุณสมบัติตามที่กำหนดและผ่านการอบรม ภาครัฐจะสนับสนุนเงินให้ทดลองใช้เครื่องมือ ‘การประกันค่าเงิน’ หรือ FX options
ซึ่งในปี 2563 ให้วงเงินรวม 100,000 บาทต่อราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ ที่ให้เงินอุดหนุน 30,000 บาทต่อรายในปี 2561 และ 50,000 บาทต่อรายในปี 2562 โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามได้จากธนาคารที่ร่วมโครงการ
มองไปข้างหน้า ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีแนวโน้มลดลง หากผู้ประกอบการไม่บริหารความเสี่ยงเลยผู้ส่งออกมีโอกาสจะทำกำไรได้มากในกรณีบาทอ่อน แต่ก็มีโอกาสขาดทุนมากเช่นกันหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการให้นำค่าประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับการส่งสินค้าไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องซื้อประกันการขนส่งสินค้า เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็เช่นเดียวกัน ควรเป็นส่วนหนึ่งของการทำประกันตามปกติค่ะ
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
>>
Download PDF
Share
Tweet
Email
Share
Tweet