• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ ทำไมต้อง EEC ?

​ดร. นครินทร์ อมเรศ
ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ

     

          ในช่วงที่คนไทยใจจดใจจ่อรอคอยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจจะนำโดยนายกรัฐมนตรีคนเก่านั้น ทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจมีความชัดเจนว่ารัฐบาลใหม่จะมุ่งต่อยอดนโยบายในช่วงก่อนหน้า ความไม่แน่นอนจึงเหลือเพียงว่ารัฐบาลใหม่จะจัดตั้งได้เมื่อใด ซึ่งอาจมีนัยต่อการล่าช้าของระยะเวลาในการประกาศใช้งบประมาณปี 2563 และการเบิกจ่ายลงทุนโครงการใหม่ของรัฐบาล หากเรามองย้อนกลับไปในช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคการเมืองที่ต่างแนวคิดอาจมีข้อเสนอด้านนโยบายที่แตกต่างกัน โดยบางกลุ่มเสนอให้ยกเลิกนโยบายหลัก อาทิ นโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นต้น ท่ามกลางความหลากหลายของนโยบายเศรษฐกิจ เป็นที่น่าสังเกตว่าแทบทุกพรรคการเมืองมีความเห็นร่วมกันว่ายังควรสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจสำคัญประการหนึ่ง คือ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor- EEC จึงเป็นที่มาของคำถามว่าทำไมต้อง EEC?

          หลายท่านอาจถามกลับว่า ทำไมจะไม่ ? ในเมื่อแท้จริงแล้วโครงการ EEC เป็นการปัดฝุ่น หรือ re-launch โครงการที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เกือบ 40 ปีก่อน คือ เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น มีแผนการลงทุนรอบด้านมากขึ้น และถูกคาดหวังให้เป็นหัวจักรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปภายใต้สถานการณ์ที่การลงทุนภาคเอกชนมีบทบาทลดลง จึงต้องกระตุ้นให้เกิดวัฏจักรการลงทุนใหม่ เพื่อสร้างการจ้างงานและรายได้ อันจะนำมาสู่การเติบโตของกำลังซื้อและการใช้จ่ายในประเทศ (ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล 2562) ในวันนี้จึงขอแลกเปลี่ยนความคิดกับทุกท่านด้วยการประมวลเหตุผลสามข้อที่อธิบายว่าทำไมต้อง EEC ? ดังนี้

          ประการแรก กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ EEC มีความโดดเด่นแตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยข้อมูลสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติสะท้อนว่าโดยเฉลี่ยแล้วภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่สามจังหวัด EEC มีสัดส่วนการจ้างงานแรงงานมีทักษะร้อยละ 39 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศที่ร้อยละ 29 ได้รับการสนับสนุนด้านการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนถึงร้อยละ 13 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศที่ร้อยละ 3.5มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศที่ร้อยละ 5.6 ตลอดจนมีสัดส่วนการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาที่ร้อยละ 8 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศที่ร้อยละ 3 เป็นต้น

          ประการต่อมา พื้นที่ EEC มีทำเลที่ตั้งและศักยภาพในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางทั้งในภาคอุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยว ผ่านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ทั้งบก ราง น้ำ และอากาศ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่มีนวัตกรรมสูงขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะข้างหน้า

          ประการสุดท้าย โครงการ EEC ได้ปลดล็อกข้อจำกัดด้านกฎหมายในหลายด้าน โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจ และมีกฎหมายที่สามารถดำเนินการอนุมัติอนุญาตได้ 8 ฉบับ อาทิ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร คนเข้าเมือง โรงงาน การจัดสรรที่ดิน เป็นต้น จึงช่วยกระชับขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ และเอื้อให้ไทยสามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งการขาดแคลนบุคลากรทักษะสูงและเทคโนโลยีนวัตกรรม ผ่านการสร้างแรงดึงดูดนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายจากต่างประเทศได้

          โดยสรุปแล้ว ความโดดเด่นของอุตสาหกรรม ทำเลที่ตั้งและศักยภาพของพื้นที่ ตลอดจนการลดข้อติดขัดด้านกฎเกณฑ์ เป็นคำตอบของคำถามว่าทำไมต้อง EEC? แต่คำถามต่อไป คือ ทำไมแค่ EEC ? เพราะหากเราจำกัดการพัฒนาให้กระจุกตัวเช่นนี้แล้วเราจะเจอปัญหาการโตเดี่ยวของเมืองเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ หรือไม่ ดังนั้นคำถามที่ขอทิ้งท้ายไว้ คือ เราจะวางแผนควบคู่กันไปอย่างไรให้การพัฒนาในพื้นที่ EEC ส่งผลบวกกระจายออกในวงกว้าง เพื่อที่คนไทยจะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ?

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.