• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ย้อนรอยนโยบายเศรษฐกิจไทยในอดีต
​
นายสุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์




เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนได้รับเกียรติร่วมรับประทานอาหารและพบปะพูดคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงตลาดเงินตลาดทุนและเป็นที่เคารพนับถือในวงการการเงินไทย ส่วนหนึ่งจากการให้ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ชวนให้รัฐบาลแต่ละสมัยได้ฉุกคิดและลงมือทำอยู่เสมอ ในการพูดคุยครั้งนี้ ท่านได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านเศรษฐกิจ เลยขอถือโอกาสนำมาถ่ายทอดและชวนท่านผู้อ่านมาคิดตามกัน จากข้อสังเกตของท่านตลอดเวลาที่ได้ท่องยุทธจักรเศรษฐกิจการเงินไทยมาเกือบ 50 ปี และการตกผลึกจากหลักคิดที่เชื่อมั่นในระบบทุนนิยมอย่างแรงกล้า เมื่อมองย้อนกลับไป ไม่ว่าจะเป็นสมัยการเมืองพรรคใด ไม่ว่าจะอยู่ในสมัยการปกครองประชาธิปไตยแบบ (ใกล้เคียง) เต็มใบ ครึ่งใบ หรือภายใต้ยุครัฐประหาร ในสายตาของผู้ใหญ่ท่านนี้ นโยบายเศรษฐกิจที่มีประสิทธิผลและมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทย มีอยู่หลายนโยบาย แต่จะขอยกตัวอย่างในที่นี้ 4 นโยบาย/โครงการ ด้วยกัน ได้แก่

1. นโยบาย “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก”: ชื่อนโยบายคุ้นหูที่บ่งบอกในตัวเองอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้มีความเจริญไปทั่วเมืองและชนบท ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น ”แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” และเป็นแม่แบบของแผนอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ผู้เขียนได้กลับไปศึกษาประวัติศาสตร์เพิ่มเติมและพบว่านโยบายนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานเด่นสมัยจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นนโยบายที่ริเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า ส่งเสริมการลงทุนและเร่งพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เพื่อป้องกันภัยจากการแพร่หลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในช่วงนั้นเป็นสำคัญ

2. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard): เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทราให้เต็มไปด้วยนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ติดกับอ่าวไทย ซึ่งเป็นช่องทางเข้าออกสำคัญในการส่งสินค้าทางทะเล และสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งจ้างงานและวัตถุดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนา Eastern Economic Corridor หรือ EEC ในปัจจุบันนั่นเอง โครงการนี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ตั้งแต่สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) ทั้งนี้ Eastern Seaboard เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ GDP ของไทยในช่วงระยะเวลา 10 ปี คือตั้งแต่ปี 2528 ถึง 2538 มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปริมาณมหาศาล (ประจวบเหมาะพอดีกับช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเน้นการออกไปลงทุนในต่างประเทศ จากผลกระทบของข้อตกลง Plaza Accord [1] ที่ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น โดยหากผลิตสินค้าในญี่ปุ่น จะมีราคาแพง นักธุรกิจญี่ปุ่นจึงออกนอกประเทศไปสร้างโรงงานการผลิตในประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพแทน รวมถึงไทย) ถึงขนาดที่ทำให้ไทยได้รับการกล่าวถึงในช่วงนั้นว่าจะเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย ตามหลังแค่ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวันเท่านั้น

3. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ: หลังจากช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 หนึ่งในมาตรการที่เห็นผลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ชัดเจนคือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตามการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในรัฐบาลสมัยคุณชวน หลีกภัย (อันที่จริงเคยถูกระบุไว้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 แต่ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง) ซึ่งต่อมามีหลายรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสำเร็จ สร้างผลกำไรให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงขึ้น (แม้จะมีบางรายเกิดปัญหาขาดทุนและต้องเร่งปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจต่อไป)

4. การเปิดเสรีการบิน: นโยบายนี้ได้ปรากฎให้เห็นชัดในสมัยคุณทักษิณ ชินวัตร ประมาณปี พ.ศ. 2547 เพื่อมุ่งส่งเสริมให้สายการบินต่างชาติสามารถขยายบริการมายังจุดต่าง ๆ ในไทยได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถขนส่งผู้โดยสารออกจากไทยไปยังประเทศที่สามได้มากขึ้นด้วย หากไม่นับกรณีอื้อฉาวที่เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว นโยบายนี้ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการบินโดยเพิ่มการแข่งขัน สร้างประโยชน์ให้แก่การท่องเที่ยวไทยอย่างก้าวกระโดด และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศได้มาก

อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน มีด้านดีก็มีด้านเสีย การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจก็เช่นกัน อาทิ การพัฒนาโครงการ Eastern Seaboard ที่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเบียดบังสิทธิของประชาชนทั้ง 3 จังหวัดก่อนมาเป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือการเปิดเสรีการบินที่อาจต้องพิจารณาประเด็นด้านความมั่นคงของประเทศอย่างระมัดระวังด้วย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรชั่งน้ำหนักระหว่างด้านดีกับด้านเสียในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และให้เหมาะสมกับบริบทในแต่ละช่วงเวลา

โดยสรุป เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่ายุคสมัยใด มักจะมีนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นดาวเด่นของยุคอยู่เสมอ และเป็นที่น่าสังเกตว่านโยบายที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน มักเป็นนโยบายในเชิงพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่งเสริมการแข่งขันและยกระดับศักยภาพการผลิตที่ไม่ได้อิงกับผลลัพธ์ในระยะสั้นเท่านั้นครับ!


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


[1] Plaza accord เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2527) ระหว่างกลุ่มประเทศ G5 คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น โดยจะควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนและเงินดอยช์มาร์กซ์ เพื่อแก้ไขความไม่สมดุลของดุลการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น และสหรัฐฯ กับเยอรมนี

>> Download PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.