• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​รู้จักและเข้าใจมาตรการดูแลหนี้ครัวเรือน

​นางสาวปิยาณี ประสงค์วรรณะ
ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน


          หนี้ครัวเรือนเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข โดยในระดับมหภาคหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และสัดส่วนหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้นซึ่งทำให้ครัวเรือนมีภาระผ่อนต่อเดือนสูง ทั้งนี้ จากข้อมูลในระดับจุลภาค[1] พบว่าคนไทย ป็นหนี้เร็วขึ้น คือ เริ่มก่อหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นหนี้เยอะขึ้น คือ หนี้สินต่อหัวสูงขึ้นกว่าในอดีต และ เป็นหนี้นานขึ้น คือ ภาระหนี้ไม่ได้ลดลงนักเมื่อผู้กู้อายุเพิ่มขึ้นแม้จะย่างเข้าสู่วัยเกษียณ และที่สำคัญคนไทยจำนวนมากถูกติดตามทวงถามหนี้ โดยมีคนเป็นแสนรายกำลังเข้าสู่กระบวนการบังคับคดีและอาจถูกอายัดทรัพย์ เกิดความเครียด กระทบต่อทั้งประสิทธิภาพการทำงาน สอดคล้องกับปัญหาเชิงสังคมตามที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนก่อนจะลุกลามเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง

          การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งไม่ดี แต่หากหนี้ที่ก่อเพิ่มขึ้นไม่ใช่เพื่อสร้างรายได้ แต่เน้นเพื่อการบริโภค โดยขาดการออมและการวางแผนทางการเงินที่ดี ก็อาจนำมาสู่ปัญหาหนี้เกินตัวในที่สุด ทุกวันนี้ เราเห็นพฤติกรรมของคนทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่าที่คุ้นชินกับการใช้ก่อนจ่ายทีหลัง เพลิดเพลินกับการรูดบัตรแล้วผ่อนจ่ายทำให้ใช้จ่ายเกินตัว หมุนหนี้ผ่านสินเชื่ออนุมัติไว ขณะที่เก็บออมน้อยลง ส่งผลให้เมื่อมีรายได้เข้ามาก็ต้องนำไปจ่ายชำระหนี้เป็นสัดส่วนมากเมื่อเทียบกับรายได้ หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้จ่ายฉุกเฉินหรือรายได้ลดลง ก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และตกอยู่ในกับดักหนี้ได้ง่าย ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินแข่งขันการให้สินเชื่อรายย่อยมากขึ้น ซึ่งในบางกรณีไม่คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริงและเงินเหลือหลังผ่อนชำระให้เพียงพอแก่การดำรงชีพของลูกหนี้ ส่งผลให้กลุ่มลูกหนี้ที่เปราะบางอยู่แล้วเปราะบางยิ่งขึ้นจนมีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวได้

          ที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ติดตามสถานการณ์และช่วยกันดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างใกล้ชิด โดยในส่วนของ ธปท. ได้มีการผลักดันเพื่อดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนในหลายมิติ ได้แก่ มิติที่ 1 การกำกับดูแลให้สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่รายย่อยโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้กู้ในการผ่อนชำระหนี้โดยไม่กระทบชีวิตความเป็นอยู่ (affordability) ผ่านมาตรการต่าง ๆ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความเปราะบางของภาคครัวเรือนในแต่ละช่วงเวลา เช่น
          1. สินเชื่อบัตรเครดิต (ปี 2560) โดยกำหนดรายได้ขั้นต่ำและวงเงินสินเชื่อตามระดับรายได้ของผู้กู้ เพื่อดูแลมิให้ครัวเรือนก่อหนี้สูงเกินไปจนไม่สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งอาจทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการติดกับดักหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้จากสินเชื่อที่เข้าถึงง่าย ไม่มีหลักประกัน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยค้างชำระลงอีกด้วย
          2.
สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (ปี 2560)โดยกำหนดวงเงินตามระดับรายได้ของผู้กู้ในทุกระดับรายได้ และจำกัดจำนวนผู้ให้บริการสำหรับผู้กู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ซึ่งจากข้อมูลในเชิงลึกพบว่ามีความเปราะบางและข้อกังวลในเรื่อง affordability มากกว่ากลุ่มอื่น
          3.
สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ (ปี 2562) ซึ่งถูกนำเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ และคุ้มครองผู้กู้ให้เข้าถึงสินเชื่อในราคาที่เหมาะสม และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้นอกระบบ
          4.
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธปท. ได้เริ่มกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (loan to value : LTV ratio) ในปี 2546 เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และได้มีการปรับปรุงเกณฑ์เรื่อยมา ล่าสุดในปี 2562 ธปท. ได้ปรับเกณฑ์ LTV อีกครั้ง เพื่อดูแล affordability ของผู้กู้ซื้อบ้าน โดยเฉพาะการกู้ซื้อบ้านหลังแรกให้สามารถซื้อบ้านได้ในราคาที่เหมาะสม และลดการเก็งกำไรโดยกำหนดเพดาน LTV ตามจำนวนสัญญาสินเชื่อที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระ นอกจากนี้ หลังจากได้มีการติดตามและประเมินผลของมาตรการ ธปท. ได้ปรับปรุงเกณฑ์เพิ่มเติมในเดือน ส.ค. 2562 โดยผ่อนผันการนับจำนวนสัญญากรณีที่ผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือกันภายในครอบครัว สำหรับการกู้ซื้อบ้านหลังแรกโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไร

          จะเห็นได้ว่ามาตรการที่ผ่านมาเน้นการกำกับดูแลสินเชื่อเฉพาะประเภท ในระยะต่อไป ธปท. มีแผนที่จะผลักดันการให้ความสำคัญกับ affordability ของผู้กู้มากขึ้น ร่วมกับสถาบันการเงินใน 2 เรื่องสำคัญ คือ (1) การกำหนดมาตรฐานวิธีการคำนวณสัดส่วนภาระหนี้ที่ผู้กู้มีทั้งหมดต่อรายได้ หรือ debt service ratio (มาตรฐานกลาง DSR) เพื่อใช้ติดตามความสามารถในการชำระหนี้อย่างครอบคลุม และคำนึงถึงเงินเหลือเพื่อดำรงชีพหลังหักภาระผ่อนชำระทั้งหมดของผู้กู้ โดยธนาคารพาณิชย์ได้มีข้อสรุปมาตรฐานกลาง DSR ร่วมกันแล้ว และจะเริ่มรายงานข้อมูลงวดแรกให้ ธปท. ในไตรมาส 4 ปี 2562 นี้ ซึ่งจะทำให้สามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริงของผู้กู้กลุ่มต่าง ๆ ได้ละเอียดยิ่งขึ้น (2) การผลักดันให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสม เพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน โดยให้ความสำคัญกับความเสี่ยงต่อการมีเงินเหลือไม่พอดำรงชีพของผู้กู้ หลังจากก่อหนี้เพิ่ม (affordability risk) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง นอกเหนือจากความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงิน และนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในกระบวนการให้สินเชื่อแก่รายย่อย ทั้งในการออกแบบและเสนอขายผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่สอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็น และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า และในการประเมินความสามารถของลูกค้าโดยคำนึงว่าลูกค้าจะมีเงินเหลือหลังชำระหนี้เพียงพอต่อการดำรงชีพในระยะยาวหรือไม่ด้วย นอกจากมาตรการและแผนงานข้างต้นซึ่งเน้นดูแลผู้กู้ในขณะก่อหนี้แล้ว ยังได้มีการดำเนินการในมิติที่ 2 การส่งเสริมความรู้และเสริมสร้างวินัยทางการเงิน เพื่อให้ครัวเรือนสามารถบริหารจัดการและวางแผนรายรับรายจ่ายได้อย่างเหมาะสม อันจะช่วยป้องกันการใช้จ่ายและก่อหนี้เกินตัว และในมิติที่ 3 การช่วยเหลือให้ลูกหนี้รายย่อยหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ โดย ธปท. ได้ริเริ่มโครงการคลินิกแก้หนี้เพื่อให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้มีกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้อย่างเบ็ดเสร็จในที่เดียว ซึ่งต่อมาขยายขอบเขตโครงการให้รวมถึงหนี้ที่มีกับ non-bank 19 แห่งด้วย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาได้มากขึ้น

------------------------------
[1] “มุมมองใหม่หนี้ครัวเรือนไทยผ่าน Big Data ของเครดิตบูโร”, วารสาร aBRIDGEd ฉบับที่ 10 ปี 2560, สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.