• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​
ISO 20022 มิติใหม่ของการชำระเงิน

​นางสาวรวมพร ประวัติเมือง
ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน

         การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว (digital disruption) ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจที่เน้นความสะดวก ง่าย รวดเร็ว ทำให้การชำระเงินออนไลน์เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ lifestyle ในปัจจุบัน โดยเราจะเห็นได้จากปริมาณการใช้ mobile/internet banking ที่เพิ่มขึ้นถึง 70.4 เปอร์เซ็นต์เทียบกับปีก่อน จึงมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมระบบการชำระเงินที่เป็นเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของ digital payment ที่สูงขึ้น

          ด้วยเหตุนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีนโยบายผลักดันการพัฒนาระบบการชำระเงินของไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2564) เพื่อให้มั่นใจว่า digital payment จะเป็นทางเลือกหลักของการชำระเงิน มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ และตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยหนึ่งในเรื่องที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ก็คือ การนำมาตรฐานสากล ISO 20022 มาใช้เพื่อรองรับการรับ-ส่งข้อมูลทางธุรกิจและการเชื่อมโยง (interoperability) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          หลายคนอาจสงสัยว่า มาตรฐาน ISO 20022 คืออะไร ถ้าเปรียบง่าย ๆ คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารสำหรับการรับ-ส่งข้อความธุรกรรมทางการเงินระหว่างภาคธนาคาร ภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งรองรับธุรกรรมการเงินประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การโอนเงินและชำระเงิน (payments) การซื้อขายหลักทรัพย์ (securities) การซื้อขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (trade services) การใช้บัตรเครดิต/เดบิต (cards) และ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (foreign exchanges)

          มาตรฐาน ISO 20022 มีจุดเด่นที่ก้าวข้ามข้อจำกัดในปัจจุบัน คือ สามารถรองรับการส่งข้อมูลอื่นไปพร้อมกับข้อความการชำระเงินได้จำนวนมาก เช่น ข้อมูลการซื้อขาย ถือเป็นการตอบโจทย์ความต้องการในการเชื่อมโยงของภาคธุรกิจ และสนับสนุนให้กระบวนการทำงานเป็น digital businesses อย่างครบวงจร รวมถึงมีข้อมูลรองรับกระบวนการตรวจสอบภายใน และใช้วิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ทำให้ลดขั้นตอนและต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นประตูสำคัญไปสู่ digital economy

          ในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และในประเทศแถบเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น สิงค์โปร์ ได้ปรับใช้มาตรฐาน ISO 20022 อย่างแพร่หลาย โดยแคนาดาเองก็ได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจและภาคธนาคารในการนำไปใช้กับระบบการชำระเงินและการซื้อขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันกับต่างประเทศ ในส่วนของญี่ปุ่นได้ปรับใช้กับทั้งระบบการชำระเงิน และระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งนับว่าเป็นการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศเข้าด้วยกัน

          สำหรับประเทศไทยเองได้นำมาตรฐาน ISO 20022 มาใช้กับระบบการชำระเงิน โดย ธปท. ร่วมกับภาคธนาคาร ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้ให้บริการระบบการชำระเงินกลาง และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ในการพัฒนามาตรฐานข้อความให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (stakeholders) ในทุกภาคส่วน โดยภาคธุรกิจสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การสั่งซื้อสินค้า ส่งใบแจ้งหนี้สำหรับเรียกเก็บเงิน การชำระเงิน และการชำระภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการและการใช้กระดาษ (paperless) รวมถึงเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้นด้วยข้อมูลทางการค้าและการชำระเงิน สำหรับภาคธนาคาร จะช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงินดิจิทัล และต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน เช่น digital lendingและภาครัฐได้รับบริการที่รวดเร็วครบวงจร และการรับจ่ายเงินที่มีความโปร่งใสมากขึ้น ตัวอย่างการปรับใช้ เช่น กรณีการใช้ MyPromptQR ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแรกที่ใช้ มาตรฐาน ISO 20022 โดยร้านค้าสามารถรับชำระเงินด้วยการ scan QR code จากมือถือของลูกค้า โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินกับเครื่อง cashier ได้อย่างอัตโนมัติ และลูกค้าไม่ต้องใส่จำนวนเงิน ทำให้ลดความผิดพลาดและเวลาการชำระเงิน

          การนำมาตรฐาน ISO 20022 มาใช้นี้ จะทำให้เกิดโมเมนตัมของการเปลี่ยนแปลงระบบการชำระเงินไทยให้สามารถเชื่อมโยงการชำระเงินกับระบบอื่น ๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวมและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้นในโลกไร้พรมแดน (globalization) สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นเพียงภาพฝัน หากได้รับความร่วมมือและการนำไปปรับใช้จากทุกภาคส่วน ซึ่งถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของ “ISO 20022 มิติใหม่ของการชำระเงิน”

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.