• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​โลกการเงินภายหลังไวรัสโควิด-19
​นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์
ฝ่ายนโยบายการเงิน


สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทยที่เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นช้าลง และเริ่มมีการคลาย lock down เพื่อให้คนสามารถกลับไปดำเนินชีวิตเฉกเช่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี วิถีชีวิตของเราคงไม่เหมือนเดิมและจะต้องก้าวเข้าสู่ new normal จากการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) เพื่อลดการสัมผัส (contactless) มากขึ้น หนึ่งใน new normal ที่หลาย ๆ คนพูดถึงคือ สังคมไร้เงินสดรวมถึงการเข้ามาของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีโอกาสเกิดได้เร็วขึ้น บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้จึงอยากชวนท่านผู้อ่านมองไปข้างหน้าและคิดถึงความเป็นไปได้ของโลกการเงินในระยะข้างหน้าค่ะ

ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการหยิบจับและสัมผัสธนบัตรและเหรียญ เนื่องจากธนบัตรและเหรียญสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้โดยงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าไวรัสโควิด-19 จะอยู่บนผิวกระดาษได้นานถึง 5-9 วัน ส่งผลให้การใช้เงินสดลดลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่หันมาใช้จ่ายซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นจากกระแสการทำงานที่บ้านและการเว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงการขอรับความช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐที่ต้องทำผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลเร่งให้การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอาจเกิดได้เร็วขึ้น

"รายงานของธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ ระบุว่า 
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคม 
โดยคนจะหันมาใช้จ่ายด้วยเงินสดลดลง และเปลี่ยนมาใช้วิธีการชำระเงินผ่านช่องทางอื่น ๆ มากขึ้น"

รายงานของธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (Bank of International Settlement; BIS) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคม โดยคนจะหันมาใช้จ่ายด้วยเงินสดลดลง และเปลี่ยนมาใช้วิธีการชำระเงินผ่านช่องทางอื่น ๆ มากขึ้น ทั้งผ่านทางโทรศัพท์มือถือ บัตรเดบิต บัตรเครดิต รวมถึงช่องทางชำระเงินทางออนไลน์ ในรายงานยังประเมินว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ชี้ให้เห็นความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ดำเนินการได้อย่างยืดหยุ่น สามารถเข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็วของธนาคารกลางมีความจำเป็นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะต้องได้รับการออกแบบให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ อาทิ การแพร่กระจายของโรคระบาดต่าง ๆ และการโจมตีทางไซเบอร์  


นอกจากนี้ BIS มองว่าธนาคารกลางบางส่วนจะหันมาออกสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้งาน (Retail Central Bank Digital Currency; Retail CBDCs) มากขึ้น สอดคล้องกับความเห็นจากธนาคารดอยซ์แบงก์ที่มองว่าการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ช่วยเร่งการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDCs) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชน เช่น สกุลเงินดิจิทัลหยวนของธนาคารกลางจีนที่เร็ว ๆ นี้จะเริ่มทดลองใช้ใน 4 เมืองหลักของจีน

"สกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) 
ที่มีการคิดค้นก่อนหน้าและดำเนินการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) 
อาจจะเป็นที่นิยมมากขึ้น"

นอกจากสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแล้ว สกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่มีการคิดค้นก่อนหน้าและดำเนินการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) อาจจะเป็นที่นิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งจากกระแสของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงข้อดีของคริปโทเคอร์เรนซีที่ใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว โดยไม่ต้องดำเนินการผ่านตัวกลาง และคุณสมบัติสำคัญเรื่องความโปร่งใสของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ข้อมูลธุรกรรมจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ทำให้คริปโทเคอร์เรนซีเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สภากาชาดของเนเธอร์แลนด์และอิตาลีได้ยอมรับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นหนึ่งในช่องทางการบริจาคผ่านทางเว็บไซต์เพื่อนำไปจัดซื้อเวชภัณฑ์ รวมถึงรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมองว่า สินทรัพย์ดิจิทัลอื่นอย่างดิจิทัลโทเคน (Digital token) ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้กำหนดสิทธิของบุคคลที่มีต่อสินทรัพย์ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน หรือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น หุ้น สิทธิบัตร อาจเป็นช่องทางในการระดุมทุนแบบใหม่ในระบบเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

ทั้งหมดนี้ อาจจะเป็น new normal ของโลกการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราจึงต้องเตรียมพร้อมปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ค่ะ 


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.