• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ในวิกฤติ ยังมีโอกาส: e-Business ทางรอดของธุรกิจ SME ในยุคดิจิทัล
​
นางสาวฐิตินันทน์ ฐิตะฐาน
ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน

article_200917cover.jpg

​“ถ้าไม่ปรับ…ก็ไม่รอด ถ้าไม่ก้าวไปข้างหน้า…ก็คือถอยหลัง” ประโยคนี้อาจฟังดูโหดร้ายไปซักนิด แต่เป็นข้อเตือนใจได้อย่างดีให้กับผู้ประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยวิกฤติโควิด-19 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของคำว่า “ปรับตัว” เราได้เห็นผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจรายย่อย (SME) เริ่มปรับกลยุทธ์ และเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาจับจ่ายใช้สอย ทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนโลกออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าซื้อเสื้อผ้า ของกินของใช้ ของสด ของแห้ง ไปจนกระทั่งคอร์สฝึกอบรม หรือครูสอนออกกำลังกายออนไลน์ จนเป็นความเคยชินและค่อย ๆ กลายเป็น new normal ในที่สุด 

ในช่วงที่ผ่านมา เราจึงได้เห็น e-commerce ในไทยเติบโตสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการสร้างร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง ผ่านทางเว็บไซต์ หรือ social media เช่น Facebook และ Instagram ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลการใช้บริการของลูกค้าได้โดยตรงและนำมาใช้ต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการได้ดีขึ้น หรืออาจเลือกขายผ่านตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-marketplace) เช่น Lazada และ Shopee ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องลงทุนมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน ก็นับเป็นการปรับตัวที่ดี ช่วยให้ผู้ขายเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในวงกว้าง เรียกได้ว่า แม้จะมีแค่ร้านเล็ก ๆ หรือไม่มีหน้าร้านเลย แต่สามารถมีลูกค้าได้ทั่วประเทศหรืออาจจะทั่วโลกก็มีตัวอย่างให้เห็นกันแล้ว 

แต่จะว่าไป...นี่เป็นเพียงแค่ “หน้าบ้าน” หรือส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจเท่านั้น เมื่อมองในภาพรวมของทั้งกระบวนการทำธุรกิจตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เราจะพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงทำธุรกิจในรูปแบบเดิม เน้นการใช้เอกสารกระดาษในขั้นตอนต่าง ๆ เป็นหลัก เช่น ใบสั่งซื้อ ใบกำกับภาษี และใบเสร็จ ทำให้มีต้นทุนโดยรวมสูง ยุ่งยาก เสียเวลา เสียโอกาสในการเข้าถึงบริการต่อยอดอื่น ๆ ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่าคู่แข่ง ดังนั้นแล้ว การปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-business ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง (e-procurement) การผลิตและบริหารจัดการคลังสินค้า (e-inventory) การติดต่อสื่อสารกับคู่ค้า (e-message) การขนส่ง (e-logistic) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) หรือการชำระภาษี (e-tax) จึงเป็น “ทางเลือก” ที่นำไปสู่ “ทางรอด” ในยุคดิจิทัลนี้ 

ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบ e-inventory และ e-logistic ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบการขายหน้าบ้าน ทำให้เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ระบบจะบริหารจัดการสต๊อกสินค้าและขนส่งสินค้าไปถึงลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ทันใจ การใช้ระบบ e-payment ที่ทำให้การชำระเงินสะดวก ง่าย ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ และมีทางเลือกที่หลากหลาย เช่น พร้อมเพย์ Thai QR Payment บัตรเครดิต/เดบิต และ e-money ช่วยทำให้กระแสเงินหมุนเวียนในธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสามารถตรวจทานการรับจ่ายเงินระหว่างคู่ค้าได้ทันที หรือการใช้ระบบ e-tax ที่จะช่วยลดขั้นตอนและเอกสารในการชำระภาษี สามารถตรวจสอบข้อมูลภาษีได้สะดวก และอาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การตรวจสอบ และคืนภาษีที่รวดเร็วอีกด้วย 

อีกประโยชน์หนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ การนำข้อมูลหรือเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ไปพัฒนาต่อยอดสู่บริการทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การนำข้อมูลจากประวัติการดำเนินธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความน่าเชื่อถือสูง มาเป็นใช้ประกอบการขอสินเชื่อออนไลน์ แทนรูปแบบเก่าที่ต้องใช้เอกสารกระดาษจำนวนมากและใช้เวลาตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้การพิจารณาสินเชื่อและประเมินความเสี่ยงในการกู้มีความรวดเร็วและแม่นยำขึ้น และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SME 

การปรับตัวเข้าสู่ e-business ยังช่วยส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย ยิ่งหากกลับมาเปิดประเทศได้เหมือนเดิมแล้ว การแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม สินค้าและบริการจากต่างประเทศจะเริ่มหลั่งไหลกลับเข้ามาเป็นทางเลือกของผู้บริโภค ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากการทำธุรกิจดิจิทัลมาประมวลผล ต่อยอด ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ พัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบตรงโจทย์ ครองใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน  

อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่อยู่ ๆ จะทำให้ผู้ประกอบการลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนจากการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ  ก้าวไปสู่ e-business คงต้องขอบคุณสถานการณ์โควิด-19 ที่เป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในยุคดิจิทัล เรียนรู้และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ โดยผู้ประกอบการ SME ที่อาจยังไม่พร้อมลงทุนกับระบบ e-business ด้วยตัวเอง ก็อาจเริ่มจากการใช้ ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ซึ่งจะช่วยบริหารจัดการ เชื่อมผสานกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี และมีความยืดหยุ่นสูงและหลากหลาย ปัจจุบันมีทางเลือกและโซลูชันที่สามารถนำมาใช้ให้เหมาะกับธุรกิจแต่ละประเภทได้ โดยมีต้นทุนที่เหมาะสม ในราคาที่สามารถจับต้องได้   

การปรับและเปลี่ยนไม่ใช่เพียงเพื่อการเอาตัวรอดให้พ้น “วิกฤติ” นี้ไปเท่านั้น แต่ถือเป็น “โอกาส” ในการวางรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและยืนได้อย่างมั่นคงในยุคดิจิทัลอีกด้วย


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.