• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​หนี้บัตรเครดิต ไร้หลักประกันจริงหรือ?
​พวกเราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า บัตรเครดิตที่เราถืออยู่มีขั้นตอนการสมัครที่แสนจะง่ายดาย “แค่ใช้สำเนาสลิปเงินเดือน ก็สมัครบัตรเครดิตได้แล้ว” แถมสมัครแล้วยังได้รับ “สิทธิพิเศษและของแถม” มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเดินทาง แพ็กเกจที่พักฟรี ตั๋วเครื่องบินฟรี คะแนนสะสมไมล์ บัตรกำนัลร้านอาหาร เครดิตเงินคืน หรือคะแนนสะสมแต้มบัตรเครดิต ซึ่งล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้คนจำนวนมากตัดสินใจสมัครบัตรเครดิต โดยไม่เคยศึกษาเงื่อนไขการใช้บัตร นอกจากนี้ ที่พิเศษยิ่งกว่าคือ พอใช้บัตรเครดิตไปสักระยะ หลายคนคงเคยได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ที่มาเสนอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้พร้อมใช้จ่ายต่อไปอีก ... นี่คือสิ่งที่หลายคนที่ใช้บัตรเครดิตคงเคยพบเจออยู่บ่อย ๆ


จากประสบการณ์การแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และการได้พูดคุยกับผู้ประสบปัญหาภาระหนี้สินล้นพ้นตัว ปัญหาแรกที่เจอคือ ลูกหนี้จำนวนมากใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าด้วยจำนวนเงินที่สูง โดยไม่ได้กันเงินไว้จ่ายคืนเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระ เมื่อเงินไม่พอ ก็จ่ายแค่ขั้นต่ำ โดยไม่ทราบแม้แต่น้อยว่าเมื่อจ่ายขั้นต่ำนั้นจะถูกคิดดอกเบี้ยในส่วนที่ยังไม่ได้จ่ายในอัตราที่สูงมาก และนับวันยิ่งจะทวีคูณขึ้นหากยังคงพฤติกรรมการผ่อนชำระขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายจากการรูดเงินซื้อของเพียงไม่กี่บาท ก็กลายเป็นภาระหนี้ก้อนโต

เรามาลองดูว่า ภาระหนี้ก้อนโต เกิดขึ้นได้อย่างไร ในกรณีที่ลูกหนี้ผ่อนชำระขั้นต่ำ 

สมมติว่า 5 มีนาคม 2564 นาย A ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้ามูลค่า 20,000 บาท โดยทุก วันที่ 25 ของทุกเดือน เป็นวันปิดยอดการใช้จ่าย ถ้าวันที่ 27 มีนาคม 2564 นาย A จ่ายขั้นต่ำ 10% เท่ากับ 2,000 บาท ในรอบบัญชีแรกจะยังไม่คิดดอกเบี้ย แต่ในรอบบัญชีถัดไป คือ 25 เมษายน 2564 ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ โดยมีรายละเอียดยอดคงค้าง และดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง 

สูตรคำนวณดอกเบี้ย = (จำนวนเงินที่รูดบัตร x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวัน) / 365

article_210419.jpg

ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่ในใบแจ้งหนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน
 
ส่วนแรก ดอกเบี้ยที่คิดจากจำนวนเงินที่รูดซื้อสินค้า คือ 20,000 บาท โดยเริ่มนับจากวันที่รูดซื้อสินค้าจนถึงวันที่สรุปยอดรายการรวม 20 วัน (5 – 25 มีนาคม) ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 16% ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะเป็นเงิน 175.34 บาท 

ส่วนที่สองคือ ดอกเบี้ยที่คิดจากยอดเงินต้นค้างชำระ คือ 18,000 บาท (20,000 บาท หัก 2,000 บาทที่จ่ายขั้นต่ำ) โดยคิดจากวันที่เราชำระไปคือ 27 มีนาคม ถึงวันปิดยอดในรอบล่าสุดคือ 25 เมษายน รวม 29 วัน ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 16% ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะเป็นเงิน 228.82 บาท 

หมายความว่า ในการผ่อนขั้นต่ำครั้งนี้ เราจะมีภาระหนี้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 404.16 บาท และถ้าไม่ทำอะไร เชื่อหรือไม่ว่า เพียงเวลาไม่กี่ปี ดอกเบี้ยส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินที่รูดซื้อของเลยทีเดียว 

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เจอคือ ลูกหนี้จำนวนไม่น้อยยังชะล่าใจว่า แม้ไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิต ก็ไม่เป็นไร เพราะคิดว่า เจ้าหนี้มีแค่สลิปเงินเดือนเป็นหลักฐาน ตอนนี้ก็ออกจากงานแล้ว ใครจะมาติดตามหนี้ได้ ถ้าไม่รับโทรศัพท์ เปลี่ยนเบอร์โทร เปลี่ยนชื่อ หรือ เปลี่ยนที่อยู่ ก็หมดเรื่อง มีแต่จดหมายที่ติดตามทวงถามหนี้ที่ส่งไปที่บ้านต่างจังหวัด ถ้าไม่รับรู้เสียอย่าง ใครจะทำอะไรได้ ... จริงหรือ?

เชื่อหรือไม่! ด้วยความคิดเช่นนี้ ทำให้ลูกหนี้บางคนไม่ระมัดระวังการใช้จ่ายของตนเอง รูดบัตรเครดิตแล้วไม่ได้ชำระคืนแบบเต็มจำนวน แต่กลับผ่อนชำระแบบขั้นต่ำ ทำให้หนี้สินพอกพูนขึ้นโดยไม่รู้ตัว จนในที่สุดไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ สุดท้ายเจ้าหนี้สืบทรัพย์จนเจอ นำมาสู่การฟ้องร้องและยึดบ้านในที่สุด โดยที่ลูกหนี้ไม่เคยรู้ว่า ถ้าตัวเองมีทรัพย์ทั้งที่เป็นชื่อตัว หรือเป็นทรัพย์มรดก เช่น ที่นาของพ่อแม่ ก็สามารถถูกยึดได้ทั้งนั้น  

บทสรุปที่ไม่สวยงามย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ... กลับเกิดขึ้นจนได้ ผลจากการใช้เงินโดยไม่ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนและประมาทศักยภาพเจ้าหนี้เกินไป อาจทำให้ครอบครัว คนที่รัก ได้รับความเดือดร้อน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่มีที่ทำมาหากิน 

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ เมื่อสถานการณ์บีบคั้นมาก ๆ ลูกหนี้บางรายที่พวกเราลงพื้นที่ไปช่วยแก้ปัญหา รับแรงกดดันไม่ไหว จนมีอาการซึมเศร้าจากความเครียดที่ไม่สามารถหาทางออกให้ชีวิตได้ แต่นี่ไม่ใช่ชีวิตลูกหนี้เพียงคนเดียว เพราะในฐานะหัวหน้าครอบครัว เมื่ออยู่ในภาวะเช่นนี้ แล้วอีกหลายชีวิตที่อยู่เบื้องหลังจะทำอย่างไร 

นี่เป็นอุทาหรณ์ที่นำมาเตือนลูกหนี้บัตรเครดิตว่า โลกนี้ไม่มีของฟรี ...เจ้าหนี้บัตรเครดิตมีฐานข้อมูลลูกหนี้ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพฤติกรรมการไม่ชำระเงินของลูกหนี้มานับไม่ถ้วน มีนักกฎหมายและหน่วยงานที่ใช้ติดตามการชำระเงินจากลูกหนี้ ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุด เมื่อเป็นหนี้ควรจ่ายหนี้ให้ครบถ้วน หากรู้ตัวว่าเริ่มที่จะชำระไม่ไหว ให้รีบเข้าคุยกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อเจรจาขอความช่วยเหลือและหาทางออกในการแก้ไขหนี้ร่วมกัน หรือสมัครเข้ามาที่ “งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์” โดยการสนับสนุนของธนาคารแห่งประเทศไทย กรมบังคับคดีและสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ที่ www.bot.or.th และ www.1213.or.th 

สุดท้ายนี้ ขอให้เชื่อมั่นว่า ทุกปัญหามีทางออก เพียงท่านมีความตั้งใจและจริงใจที่จะชำระหนี้คืน หากมีข้อสงสัย โทรมาหาพวกเราได้ที่ 1213 พวกเราพร้อมช่วยหาทางออกให้ลูกหนี้สุดกำลัง

อย่าลืมนะคะ “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”   


ผู้เขียน :
นางสาวปริยดา อาสยวชิร
ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
นางสาวกัลยรัตน์ ศิริภัทรพิพิธ
ฝ่ายบริหารความเสี่ยงภาพรวม


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย



>> Download PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.