You may be trying to access this site from a secured browser on the server. Please enable scripts and reload this page.
EN
EN
เกี่ยวกับ ธปท.
บทบาทหน้าที่และประวัติ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
กฎหมาย/กฎเกณฑ์
ผังโครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการ
รายงานทางการเงิน
รายงานประจำปี ธปท.
ธนบัตร
มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
สมัครงานและทุน
พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
ศคง. 1213
งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
คณะกรรมการ กนง.
ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
ภาวะเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจภูมิภาค
ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
คณะกรรมการ กนส.
โครงสร้างระบบ สง. ไทย
บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
การกำหนดนโยบาย สง.
การกำกับตรวจสอบ สง.
ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล
มุมสถาบันการเงิน
การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
การดำเนินนโยบายการเงิน
การบริหารเงินสำรอง
การพัฒนาตลาดการเงิน
ตลาดเงินตราต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
การลงทุนโดยตรง ตปท.
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
คณะกรรมการ กรช.
นโยบายการชำระเงิน
การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
บริการระบบการชำระเงิน
แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
งานสัมมนา
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถิติ
สถิติตลาดการเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงิน
สถิติสถาบันการเงิน
สถิติระบบการชำระเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
คู่มือประชาชนด้านสถิติ
บริการข้อมูล BOT API
Toggle navigation
หน้าหลัก
>
วิจัยและสัมมนา
>
บทความ
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ทำอย่างไรให้ไทยเก่ง: พลิกตำรา สู่นโยบายเพื่อเพิ่มผลิตภาพ
นางปัณฑา อภัยทาน
นางสาวลัลนา กีรติวุฒิกุล
ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึกอยู่ในเศรษฐกิจไทยได้อย่างชัดเจน จากเมื่อ 30 ปีก่อนที่เศรษฐกิจเติบโตได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ใกล้เคียงกับระดับศักยภาพในระยะยาว กลับขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.4 ในปี 2019 ซ้ำร้ายสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โ
ค
วิด
19 ยิ่งตอกย้ำว่าไทยกำลังต้องพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้สำเร็จและยกระดับมาเป็นประเทศร่ำรวย (High-Income Country) เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจชะงักงันและไม่สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางได้
เป้าหมายของไทยเพื่อที่จะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและกลายเป็นประเทศร่ำรวยภายในปี 2037 ธนาคารโลกประเมินไว้ว่า ไทยจะต้องรักษาระดับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ให้ต่ำกว่าร้อยละ 5 ...คำถามคือ แล้วอะไรคือปัจจัยกำหนดทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า?
เศรษฐกิจไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มที่จะเติบโตช้าลงจากปัจจัยกดดัน 2 ด้าน คือ 1) ปัจจัยแรงงานที่มีแนวโน้มลดลงจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุ และ 2) ปัจจัยทุนที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานานเหมือนหนอนที่อยู่ในดักแด้นานกว่า 2 ทศวรรษ
ด้วยข้อจำกัดด้
านแรงงานและทุน
จึงดูเหมือนว่า
กุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ก็คือ “ผลิตภาพการผลิต (Productivity)”
ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการผลิต อธิบายว่า “ผลิตภาพการผลิต” คือ ตัวชี้วัดความสามารถหรือประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในภาคการผลิตของประเทศ โดยเฉพาะในภาวะที่ทรัพยากรแรงงานและทุนมีอยู่จำกัด ประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลผลิตได้สูงกว่าภายใต้ทรัพยากรที่เท่ากัน จึงแสดงถึงผลิตภาพการผลิตที่สูงกว่า
“ผลิตภาพ” ในที่นี้จึงเปรียบเหมือน “ความเก่ง”
ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนและ
ความเชี่ยวชาญในการทำงานของแรงงาน
การปรับทักษะของแรงงานให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในกระบวนการผลิต รวมไปถึงบริบทแวดล้อมที่เอื้อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพการผลิตของไทย (Kiratiwudhikul, forthcoming)
1
โดยใช้ข้อมูลผลสำรวจสำมะโนอุตสาหกรรมที่สำรวจข้อมูลจากสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมรวมกว่า 2.5 แสนราย ในปี 2006-2016 พบข้อเท็จจริงที่สำคัญว่า ผลิตภาพการผลิตในภาพรวมของไทยเติบโตได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ต่อปี และสถานประกอบการที่มีผลิตภาพสูงสุด 10 เปอร์เซ็นต์ไทล์แรก (กลุ่ม Frontier) มีระดับผลิตภาพสูงกว่าบริษัทที่เหลือ (กลุ่ม Non-frontier) ถึง 20 เท่า
คำถามต่อมาคือ จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการทั้งหมดสามารถยกระดับผลิตภาพไปสู่กลุ่ม Frontier?
จากการวิเคราะห์ได้ข้อสรุปว่าปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดระดับผลิตภาพของสถานประกอบการ
ในภาคอุตสาหกรรมไทยมีอยู่ 3 ประการ
ปัจจัยแรก คุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน ซึ่งมีผลเชิงบวกต่อการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพมากที่สุด
ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนจากระดับค่าจ้างของแรงงาน สัดส่วนรายจ่ายที่สถานประกอบการใช้ในการฝึกอบรมแก่แรงงานเพื่อเพิ่มพูนทักษะ รวมถึงสัดส่วนของเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่เป็นหุ้นส่วนต่อแรงงานที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ ความสำคัญของปัจจัยนี้ยังสะท้อนได้จากผลสำรวจเรื่องอุปสรรคในการดำเนินกิจการที่สถานประกอบการจำนวนมากโดยเฉพาะในกลุ่ม Frontier ระบุว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะสูงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง
ปัจจัยที่สอง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิต (R&D) และการแพร่กระจายของนวัตกรรม
จากการวิเคราะห์ผลสำรวจฯ สถานประกอบการในกลุ่ม Frontier มีการทำ R&D อย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าใช้จ่ายมากถึงร้อยละ 6-8 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และมีสัดส่วนของบริษัทข้ามชาติ มากกว่ากลุ่ม Non-frontier 7 เท่า ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาและรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ จากต่างประเทศมาใช้ในระดับที่สูงกว่า นอกจากนี้ สถานประกอบการทั้ง 2 กลุ่ม เห็นตรงกันว่าการสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุน เงินลงทุนและสภาพคล่อง รวมถึงแรงจูงใจด้านภาษีเพื่อการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญในการส่งเสริม R&D
ปัจจัยที่สาม โครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบภาครัฐที่เอื้อให้เกิดการยกระดับความสามารถ
ในการแข่งขันและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ
โดยต้นทุนค่าสาธารณูปโภคและต้นทุนอื่นจากการดำเนินธุรกิจมีผลเชิงลบต่อการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ ขณะที่สถานประกอบการที่เป็นผู้ส่งออกและเผชิญกับการแข่งขันจากภายนอกประเทศเป็นปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิต สอดคล้องกับผลสำรวจเรื่องอุปสรรค
ในการดำเนินกิจการที่สถานประกอบการจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าอุปสรรคสำคัญคือ การขนส่งและโลจิสติกส์ กฎระเบียบราชการ และความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐ
หากการเพิ่มผลิตภาพคือบันไดไปสู่การยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การกำหนดนโยบายที่มุ่งให้ประเทศขับเคลื่อนด้วยการเพิ่มผลิตภาพ จึงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องผลักดัน โดยควรมุ่งเป้าไปที่หัวใจของผลิตภาพ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ยกระดับทักษะและพัฒนาคุณภาพแรงงานไทย
ผ่านการสร้างกลไกที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงานที่ตรงความต้องการของตลาด พัฒนาแพลตฟอร์มฐานข้อมูลระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และสถาบันการอบรม ให้เชื่อมต่อถึงกันแบบครบวงจรเพื่อให้ลูกจ้างได้งานที่ใช่ และนายจ้างได้คนที่มีทักษะตามความต้องการ ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเอื้อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะสูงเข้าสู่ภาคการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย และพัฒนาระบบประกันสังคมให้ครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียม
2) ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
ผ่านการสร้างกลไกแรงจูงใจ ด้านสิทธิประโยชน์ ภาษี และสินเชื่อ รวมถึงสร้างกลไกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันศึกษาและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสร้างนวัตกรรมการผลิตของประเทศ
3) สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการลงทุนและพัฒนาการผลิต
ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างภาครัฐเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงทบทวนกฎระเบียบราชการและวางแผนพัฒนาประเทศให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เศรษฐกิจบริบทใหม่
หากต้องการเปลี่ยนไทยให้เป็น “ไทยเก่ง” และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ไต่ระดับไปสู่กลุ่มประเทศร่ำรวยภายในสองทศวรรษข้างหน้า นอกจากนโยบายภาครัฐต้องพุ่งตรงไปที่การพัฒนาทักษะแรงงาน สร้างนวัตกรรม
การผลิต
และยกระดับโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ไทยยังต้องลดละเลิกกฎระเบียบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และที่สำคัญ การยกระดับผลิตภาพต้องเดินหน้าต่อเนื่องโดยไม่รอช้า เพราะความท้าทายจากบริบทโลกใหม่กำลังมาถึงแล้ว
1
งานศึกษานี้วิเคราะห์ผลิตภาพตามฟังก์ชั่นการผลิตแบบ Cobb-Douglas โดยผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity: TFP) วัดจากการมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากส่วนที่มิได้มาจากการเพิ่มของปัจจัยจำนวนแรงงานและทุน
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
>>
Download PDF
Share
Tweet
Email
Share
Tweet