• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในมือว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 
​
นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์
ฝ่ายนโยบายการเงิน



ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวที่เป็นที่จับตาทั่วโลกคงหนีไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นการเลือกผู้นำที่จะเข้ามาบริหารสหรัฐฯ แล้ว แต่ยังหมายถึงทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ในระยะต่อไปซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในฐานะที่สหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจสำคัญ ภายหลังผลการเลือกตั้งชี้ว่าโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครตจะก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐฯ หนึ่งในนโยบายที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากสมัย ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ คือ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้จึงอยากชวนท่านผู้อ่านทำความรู้จักกับนโยบายนี้ให้มากขึ้นค่ะ

"นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของว่าที่ ปธน.ไบเดน ให้ความสำคัญกับวาระด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากและถือเป็นวาระแห่งชาติ"

ที่ผ่านมาอดีต ปธน.ทรัมป์ ให้ความสำคัญกับนโยบาย “สหรัฐฯ ต้องมาก่อน” (America First) โดยเน้นการสร้างและจัดการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แม้ว่าผลประโยชน์ดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น นโยบายสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการยกเลิกกฎระเบียบข้อบังคับด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของว่าที่ ปธน.ไบเดน ให้ความสำคัญกับวาระด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากและถือเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลับไปเข้าร่วมใน “ความตกลงปารีส” หลังสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวในปี 2019 ซึ่งความตกลงนี้เป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กว่า 200 ประเทศร่วมกันลงนาม เพื่อกำหนดเป้าหมายของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมีเป้าหมายควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ภายใต้การนำของว่าที่ ปธน.ไบเดน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กัน โดยนโยบายที่หาเสียงของไบเดนมองว่าการปรับนโยบายต่าง ๆ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเป็นการนำสหรัฐฯ เข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่และก่อให้เกิดการสร้างงานหลายล้านตำแหน่งในกระบวนการนี้ โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการลงทุนและพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด อาทิ ปรับระบบขนส่งโดยหันมาสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และปรับโครงสร้างพื้นฐานโดยเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และกังหันลม เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด 100% ภายในปี 2035 และมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 นอกจากนี้ ยังมีแผนยุติการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันในประเทศที่สร้างความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เช่น การไม่อนุมัติให้มีการผลิตน้ำมันและก๊าซจากบริษัทรายใหม่ๆ เพิ่มเติมในสหรัฐฯ 

สำหรับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังสหรัฐฯ รวมถึงไทย โดยเฉพาะมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (carbon border adjustment mechanism) หรือการเก็บภาษีคาร์บอน ซึ่งเป็นนโยบายที่สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาบังคับใช้เช่นกัน โดยเน้นการใช้มาตรการทางภาษีกับสินค้านำเข้าที่มีการใช้พลังงานเข้มข้น และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิตในระดับสูง โดยสหภาพยุโรปมีแนวคิดที่จะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนในอัตรา 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันคาร์บอน และในอนาคตจะเพิ่มจนถึง 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันคาร์บอน ในกรณีสหรัฐฯ นักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์ประเมินว่า อัตราภาษีที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บอาจสูงถึง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคาร์บอน นอกจากนี้ ว่าที่ ปธน.ไบเดน อาจออกนโยบายบังคับให้สินค้านำเข้าต้องติดฉลากคาร์บอน (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) เพื่อให้ผู้บริโภคทราบรายละเอียดของก๊าซเรือนกระจกที่ผลิตภัณฑ์นั้นปล่อยออกมาตลอดการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันนิยมติดฉลากเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหาร เครื่องเขียน และเสื้อผ้า ทั้งนี้ แม้ทั้ง 2 นโยบายมีเป้าหมายเพื่อลดโลกร้อน แต่ก็เพิ่มต้นทุนและทำให้สินค้าน้ำเข้าจากไทยมีราคาสูงขึ้น รวมถึงอาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันได้ เช่น ต้นทุนในการดำเนินการให้หน่วยงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมาตรวจวัดการปล่อยก๊าซและให้การรับรองฉลาก 

ในปัจจุบันแม้ทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังไม่บังคับใช้มาตรการข้างต้น แต่ผู้ส่งออกสินค้าของไทยจำเป็นต้องดำเนินการยกเครื่องการผลิตของตนเองให้สอดคล้องกับเทรนด์สิ่งแวดล้อมที่สินค้าคาร์บอนสูงกำลังจะสูญหายไป และสินค้าคาร์บอนต่ำกำลังจะเข้ามาแทนที่ในไม่ช้า รวมถึงภาครัฐควรให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกันค่ะ 


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF



Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.