• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
ปลดล็อก 'แอลทีวี 'รอบสองช่วยเข้าถึงสินเชื่ออย่างมีวินัย

​นายรณดล นุ่มนนท์
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเกณฑ์ LTV ใหม่เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อช่วยให้ประชาชนผู้ต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

บ้านแพงไป คนไทยเอื้อมไม่ถึง

          กลุ่มผู้ซื้อบ้านในไทยแบ่งเป็น ผู้ที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง กับซื้อเพื่อการลงทุน เช่น ปล่อยเช่า หรือเพื่อเก็งกำไร ก่อนที่มาตรการ LTV (Loan to Value Ratio) จะออกใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ธปท. พบการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อบ้านระหว่างสถาบันการเงิน จนทำให้บางแห่งลดมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลง โดยให้สินเชื่อในวงเงินที่สูงเกินกว่ามูลค่าบ้าน หรือที่เรียกว่า “สินเชื่อเงินทอน” ขณะเดียวกันก็เห็นสัญญาณการเก็งกำไรหรือมีอุปสงค์เทียมจากผู้ซื้อบางกลุ่มที่กู้เงินไปซื้อบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 และหลังที่ 4 พร้อมกัน ขณะที่หลังแรกก็ยังผ่อนไม่หมด ความต้องการซื้อบ้านจำนวนมากเกินจริงนี้ ทำให้เกิดภาวะบ้านแพงโดยเฉพาะคอนโดฯ ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้หลายครอบครัวรู้สึกว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองนั้นเป็นจุดหมายที่ไกลเกินเอื้อมเพราะราคาบ้านขยับหนีรายได้ไปเรื่อยๆ ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับระบบเศรษฐกิจ ฟองสบู่ที่สร้างไว้อาจแตก ราคาที่อยู่อาศัยจะร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวหรือหดตัวทำให้รายได้ปรับลด ผ่อนต่อไม่ไหว ขายทิ้งไปก็ไม่ได้ราคา และสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อทุกคนในวงกว้าง

ตอบโจทย์ด้วย LTV

          ธปท. ต้องการตอบโจทย์กลุ่มคนที่ต้องการมีบ้านสำหรับตนเองและครอบครัว ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและได้เป็นเจ้าของบ้านในราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการกู้ซื้อบ้านหลังแรก ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่า 80% ของผู้กู้ซื้อบ้านทั้งหมด จึงออกมาตรการ “อัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน” (Loan to Value: LTV) หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็น “การกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ” ที่ให้สินเชื่อผู้ซื้อบ้านหลังแรกสามารถกู้ได้เต็มมูลค่าบ้าน แต่สัญญาหลังที่ 2-3 ผู้กู้ต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 10-30% เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระ และลดภาระหนี้สินของผู้กู้ในอนาคต

          หลังจากมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 ธปท. ได้ติดตามผลทั้งในแง่ของข้อมูลหลักฐานและรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการที่ออกไปมีความเหมาะสมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คือ ช่วยดูแลการเก็งกำไร ขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนที่มีความต้องการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยจริงโดยเฉพาะบ้านหลังแรก และพร้อมปรับมาตรการหากพบว่าไม่เป็นตามวัตถุประสงค์หรือส่งผลข้างเคียงที่มากเกินควร ซึ่ง ธปท. ได้มีการผ่อนเกณฑ์การกู้ร่วมไปแล้วครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม 2562 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของผู้กู้ร่วมที่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ให้ได้รับสินเชื่อตามความเหมาะสม

ปรับเกณฑ์ใหม่เพื่อคนไทยที่อยากมีบ้าน

          หลังจากมาตรการ LTV เดิมมีผลบังคับใช้มา 9 เดือน ธปท. พบว่าสัญญาณการเก็งกำไรและราคาบ้านปรับลดลง ทำให้ผู้ที่ต้องการมีบ้านสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม ขณะที่สถาบันการเงินก็มีมาตรฐานในการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเป็นเจ้าของบ้านหลังแรกได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังอยู่บนพื้นฐานของมาตรการ LTV ในการดูแลการเก็งกำไรและส่งเสริมการออมของประชาชน ธปท. จึงปรับมาตรการ LTV ใหม่ โดยจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัย ด้วยการให้ผู้กู้ซื้อบ้านหลังแรกที่มีราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งกู้ได้ 100% อยู่แล้ว สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าบ้าน เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซ่อมแซม หรือต่อเติม เพราะที่ผ่านมามีการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยแพงมาใช้ในส่วนนี้ ทำให้คาดว่าค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยจะปรับลดลงประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน สำหรับการกู้บ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป กำหนดให้วางดาวน์น้อยลงจาก 20% เป็น 10% ของราคาบ้าน

ผ่อนหลังแรกอย่างมีวินัย หลังต่อไปดาวน์น้อยลง

          สำหรับผู้ที่ต้องการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ซึ่งมีประมาณ 10% ของผู้ขอสินเชื่อบ้านทั้งหมด ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความจำเป็น จากเดิมที่ต้องผ่อนชำระหลังแรกมาแล้ว 3 ปี จึงจะสามารถวางดาวน์ได้น้อยลงเหลือ 10% ของราคาบ้าน แต่เกณฑ์ใหม่ปรับเป็นผ่อนชำระบ้านหลังแรกมาแล้วเพียง 2 ปี ก็สามารถได้รับสิทธิดังกล่าว ทั้งนี้ การวางดาวน์สำหรับบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไปยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก ธปท.อยากให้คนกลุ่มนี้มีเงินออมของตนเองส่วนหนึ่งมาลงทุนในบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ไม่ใช่กู้ทั้งหมดเพื่อมาลงทุน และการเอาเงินออมมาวางดาวน์ 10-30% จะช่วยลดภาระหนี้ที่ต้องกู้ยืมจากสถาบันการเงินและลดความเสี่ยงจากภาระหนี้ที่ต้องแบกรับในการผ่อนชำระในอนาคตด้วย 

          นอกจากนี้ ธปท. ยังปรับลดน้ำหนักความเสี่ยงซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของสถาบันการเงินในการปล่อยกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และการกู้สร้างบ้านบนที่ดินตนเอง จึงทำให้ประชาชนในกลุ่มนี้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

          การปรับมาตรการ LTV ใหม่ครั้งนี้ มีผลทันทีตั้งแต่ 20 มกราคม 2563 ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะช่วยกันสนับสนุนให้คนไทยได้มีบ้าน รวมไปถึงสถาบันการเงินจะให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริง ทั้งนี้ ธปท. จะยังคงติดตามและประเมินสถานการณ์จากมาตรการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ และที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อให้คนไทยได้มีบ้านอยู่อาศัยในราคาที่เหมาะสม

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.