• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​คนไทยได้อะไรจากการปรับ FX Ecosystem ใหม่ 

​เงินบาท “แข็งค่า” “ผันผวน” เป็นประเด็นที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจไทยมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเปรียบเสมือน “อาการ” ที่เป็นผลจากทั้งภาวะตลาดการเงินที่ผันผวนและปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทย เนื่องจากเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดความสมดุลและกฎเกณฑ์บางอย่างอาจไม่สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แบงก์ชาติจึงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างยั่งยืน ผ่านการผลักดันให้เกิดระบบนิเวศตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX Ecosystem) ซึ่งดำเนินการแบบบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความสมดุลมากขึ้นและเศรษฐกิจไทยสามารถรองรับความผันผวนจากภาวะตลาดการเงินโลกได้ดีขึ้น

article_210626-1.png

การผลักดัน FX Ecosystem ต้องดำเนินการแบบบูรณาการ จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ

ด้วยลักษณะปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกับผู้เล่นในตลาดหลากหลายกลุ่มซึ่งเปรียบเสมือนระบบนิเวศ (Ecosystem) ตั้งแต่ระดับ (1) ต้นน้ำ คือ ผู้กำหนดนโยบายหรือหลักเกณฑ์ (2) กลางน้ำ คือ ผู้ให้บริการหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ และ (3) ปลายน้ำ คือ ผู้ใช้บริการ อาทิ ผู้ลงทุนไทย ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ดังนั้นการผลักดันให้เกิด FX Ecosystem ใหม่อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกองคาพยพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดย แบงก์ชาติแบ่งแนวทางการผลักดันออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 

1. การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ (FX investment ecosystem) 

2. การปรับหลักเกณฑ์ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX regulatory framework) ให้สมดุลขึ้นและสอดคล้องกับบริบทด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงิน 

3. การปรับภูมิทัศน์การแข่งขันของผู้ให้บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (FX service provider landscape) 

4. การยกระดับการติดตามข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายเพื่อดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX surveillance and management)

โดยในวันนี้ จะขอเล่าถึงแนวทางการผลักดันที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคนไทยและประโยชน์จะได้รับจากสิ่งที่ทางแบงก์ชาติได้ดำเนินการแล้ว คือ 1. การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ 2. การปรับหลักเกณฑ์ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน

1. การส่งเสริมการลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ง่ายเหมือนในประเทศ

ถ้าคุณผู้อ่านเป็นผู้ลงทุนรายย่อย อาจเคยรู้สึกว่าการออกไปลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศในอดีต เป็นเรื่องยากและไกลเกินเอื้อม อาจเพราะขาดความรู้หรือติดขัดกฎระเบียบและขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว (pain points) แบงก์ชาติจึงได้ร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ใน 3 ด้านดังนี้ 

(1) แก้เกณฑ์ให้สามารถลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยการลงทุนในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ทำได้ไม่จำกัด ขณะที่การลงทุนผ่านตัวกลางในต่างประเทศ ขยายให้มีวงเงินลงทุนได้มากถึงปีละ 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้กว้างขึ้น อาทิ สัญญาอนุพันธ์ในตลาด OTC 

(2) ปรับกระบวนการให้ลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศง่ายขึ้น โดยลดขั้นตอนและระยะเวลาการลงทะเบียน (register) กับแบงก์ชาติสำหรับผู้ลงทุนรายย่อยที่จะออกไปลงทุนผ่านตัวกลางในต่างประเทศ รวมถึงยกเลิกการจัดสรรวงเงินลงทุนต่างประเทศสำหรับผู้ลงทุนภายใต้ ก.ล.ต. (วงเงิน FIA) ทำให้การลงทุนต่างประเทศของผู้ลงทุนสถาบันทำได้สะดวกขึ้น

(3) ส่งเสริมการแข่งขันการให้บริการลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ ได้แก่ ผลักดันการนำผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศมาซื้อขายในประเทศ โดยเริ่มต้นที่ทองคำสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. และสนับสนุนการพัฒนาระบบการลงทุนต่างประเทศที่สะดวก คล่องตัว และสามารถเข้าถึงผู้ลงทุนรายย่อยด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เช่น ให้บริการผ่านแอปในสมาร์ทโฟน

การปรับ FX investment ecosystem ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ได้ช่วยให้ผู้ลงทุนไทยสามารถเข้าถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้สะดวก คล่องตัว และด้วยต้นทุนที่เหมาะสม นับเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนรายย่อยในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสของผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้ นับแต่ต้นปี 2564 พบว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนไทยค่อนข้างมาก เห็นได้จากการที่คนไทยนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 สูงถึง 8.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 

article_210626-2.png

2. การส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงค่าเงินและการปรับหลักเกณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัวมากขึ้น

ถ้าคุณผู้อ่านเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่งออกหรือนำเข้าอาจเคยปวดหัวกับการทำธุรกรรมบริหารความเสี่ยงค่าเงิน ซึ่งมีกฎเกณฑ์ ขั้นตอน และการเตรียมเอกสารที่ยุ่งยากและซับซ้อนจนกลายเป็นข้อจำกัด (pain points) ดังนั้น ในช่วงปี 2562-2563 แบงก์ชาติได้ลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและนำเข้าจำนวนกว่า 150 ราย รวมถึงเข้าพบสมาคมผู้ประกอบการต่าง ๆ อีกหลายสมาคม เพื่อหารือและรับฟังข้อเสนอแนะต่อแนวทางการปรับหลักเกณฑ์ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใหม่ (FX regulatory framework) ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น ผ่านการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการและตรงจุดใน 3 มิติ คือ

(1) สนับสนุนเครื่องมือและข้อมูล เช่น (1.1) แบงก์ชาติได้ปรับเกณฑ์การใช้บัญชี FCD ให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงและโอนเงินตราต่างประเทศระหว่างบัญชี FCD ได้อย่างเสรี รวมถึงลดจำนวนบัญชี FCD ให้เหลือบัญชีเดียว จากเดิมที่ผู้ประกอบการต้องเปิด FCD หลายบัญชีตามแหล่งที่มา นอกจากนี้ ยังได้เผยแพร่ข้อมูลค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัญชี FCD เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเปรียบเทียบต้นทุนการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินได้ (1.2) แบงก์ชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนิน “โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ” หรือ “FX options ระยะที่ 3” ในปี 2563-2564 โดยเป็นเครื่องมือประกันค่าเงินในการนำเข้าส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในการทดลองใช้เครื่องมือจริง โดยเมื่อหมดระยะโครงการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป (2) แก้เกณฑ์การโอนเงินออกไปยังต่างประเทศและการบริหารความเสี่ยงค่าเงินให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และ (3) ปรับกระบวนการ โดยลดขั้นตอนและลดการแสดงเอกสารในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศเพื่อให้คล่องตัวมากขึ้น

การบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและการปรับหลักเกณฑ์ข้างต้น ทั้งเครื่องมือและข้อมูลที่พร้อม เกณฑ์ที่เอื้อ กระบวนการที่ง่าย จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงจากค่าเงินได้ดีขึ้น เปรียบเสมือนการฉีดวัคซีนเพื่อให้ผู้ประกอบการมีภูมิคุ้มกันป้องกันผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน ภายใต้สภาวะแวดล้อมในตลาดการเงินที่ผันผวนสูงและคาดเดาได้ยาก 

ระบบการเงินไทยจะปรับตัวต่อความผันผวนได้ดีขึ้นภายใต้ New FX Ecosystem

การปรับระบบนิเวศตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX Ecosystem) นอกจากเป็นการปลดล็อกอุปสรรคให้กับผู้ลงทุนและผู้ประกอบการไทยแล้ว ยังเป็นการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างครั้งสำคัญที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วย เนื่องจากภายใต้บริบทของตลาดการเงินโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง เราคงไม่สามารถปฏิเสธความผันผวนของตลาดการเงินได้ เราจึงจำเป็นต้องปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งความร่วมมือจากทุกองคาพยพทั้งรัฐและเอกชนจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันสร้าง FX Ecosystem ใหม่ ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถรองรับกับความผันผวนในตลาดการเงินได้อย่างยั่งยืนต่อไป


ผู้เขียน : 
นิธิสาร พงศ์ปิยะไพบูลย์  
วรพร ทวีทรัพย์ไพบูลย์  

คอลัมน์ "ร่วมด้วยช่วยคิด" นสพ. ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 26 มิ.ย 2564



บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.