• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน?

​ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ผศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ. ดร.ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
นายจิรัฐ เจนพึ่งพร ธนาคารแห่งประเทศไทย




          ภาคเกษตรนับว่ามีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก เพราะมีการจ้างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 30 ของกําลังแรงงานทั้งประเทศ ครอบคลุมถึง 6.4 ล้านครัวเรือน และที่ดินทำการเกษตรครอบคลุมถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ภาคเกษตรกลับมีสัดส่วนในมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพียงร้อยละ 10 มีอัตราการเติบโตช้าและมีความเปราะบางสูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ของประเทศ และยังเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรชั้นนำของโลก หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียหลายประเทศ

          จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาคเกษตรไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งสำคัญ เช่นเดียวกันกับทั่วโลก คือการลดลงของการใช้กำลังแรงงาน ซึ่งทดแทนด้วยการเพิ่มขึ้นของการใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เราจะเห็นได้ว่ารูปแบบการเติบโตของภาคเกษตรได้เปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการขยายตัวเชิงปริมาณ เช่น ขยายพื้นที่เพาะปลูก และการใช้ปัจจัยการผลิตที่มากขึ้น เป็นต้น มาเป็นการเติบโตที่มาจากคุณภาพ หรือผลิตภาพมากขึ้น ในอดีตประเทศไทยเคยมีการขยายตัวของปัจจัยเชิงคุณภาพในระดับต้น ๆ ของโลก แต่กลับตกลงมาอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องจนถูกประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้า

          ทุกวันนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ของเรายังคงทำการผลิตแบบเดิม ๆ โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าให้ผลผลิตต่ำแต่มีความเสี่ยงสูง (“high risk, low return”) โดยเฉพาะพืชมหาชนที่มีความเสี่ยงจากการมีอุปทานส่วนเกินในตลาดโลกสูง เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ มีรายได้สุทธิต่ำและเปราะบาง (รูปที่ 1) ตลอดถึงมีหนี้สินจำนวนมาก สวนทางกับความพยายามของภาครัฐและงบประมาณที่ได้ทุ่มลงไปในภาคเกษตรเป็นจำนวนมากทุก ๆ ปี


รูปที่ 1: ลักษณะการทำเกษตรรายครัวเรือนแสดงให้เห็นว่า 2 ใน 3 ของครัวเรือนปลูกพืชเชิงเดี่ยว (จุดสีเทา)

(ที่มา: ผู้เขียนคำนวณจากข้อมูลรายแปลงจากทะเบียนเกษตรกร 2560)


         คำถามที่น่าสนใจก็คือ เกิดอะไรขึ้นกับภาคเกษตรไทย และเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยเข้มแข็ง ปรับตัว และแข่งได้ ทำให้เกิดการ “ระเบิดจากข้างใน” ในการพลิกโฉมภาคเกษตรไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติของโลกซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อภาคเกษตรเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้นในสังคมโลกโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบอุปสงค์ของอาหารทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ซึ่งกำลังทำให้เกิด “การปฏิวัติเขียวครั้งที่สอง” ในภาคเกษตรทั่วโลก

          งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่พยายามจะสร้างองค์ความรู้เพื่อจะตอบคำถามข้างต้น โดยใช้ข้อมูลเกษตรขนาดใหญ่ของประเทศหลากหลายฐาน ซึ่งเมื่อนำมาบูรณาการร่วมกัน ทำให้เราสามารถศึกษามิติต่าง ๆ ของภาคเกษตรไทยได้อย่างความละเอียดในระดับแปลง ครัวเรือน และแรงงานเกษตร ตลอดถึงครอบคลุมเกษตรกรกว่าร้อยละ 90ของเกษตรกรทั่วประเทศ ในระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา

          งานวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง 8 ความท้าทายที่สำคัญซึ่งเป็น “ปัญหาเชิงโครงสร้าง” ที่มีผลฉุดรั้งต่อการปรับตัวของเกษตรกรไปสู่การพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ (1) การเข้าสู่สังคมสูงวัยในภาคเกษตรที่มีความรวดเร็วและรุนแรงกว่าสถานการณ์โดยรวมของประเทศ (2) เกษตรกรถึงร้อยละ 40 ยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินไม่สมบูรณ์หรือยังไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และที่ดินทำกินของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีขนาดเล็ก (3) การเข้าถึงทรัพยากรน้ำที่ยังไม่ทั่วถึงเกษตรกรกว่าครึ่ง (4) ผลิตภาพการผลิตและมูลค่าเพิ่มของผลผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำ (5) ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและรายได้ที่ผันผวน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างตลาดที่มีลักษณะห่วงโซ่อุปทานที่ยาวและแข่งขันไม่สมบูรณ์ (6) โครงสร้างการทำเกษตรที่ทำให้เกษตรกรตกอยู่ในวงจรหนี้สิน (7) ความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ที่สำคัญคือ (8) นโยบายภาครัฐที่ขาดความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินการและมักเน้นผลเพียงระยะสั้นผ่านการแทรกแซงราคา ซึ่งก่อให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม และลดแรงจูงใจในการปรับตัวของเกษตรกรอย่างไม่ได้ตั้งใจ 

          งานวิจัยนี้ยังได้ชี้ให้เห็นถึง 5 โอกาส ที่อาจเป็น “ตัวช่วยสำคัญ” ในการพลิกโฉมภาคเกษตรไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ (1) การศึกษาที่เพิ่มขึ้นของแรงงานเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานอายุน้อย (2) สถาบันเกษตรกรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร (3) การพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรที่เอื้อต่อการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าเพิ่มของผลผลิตโดยตรง ตลอดถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่อาจช่วยปลดล็อกการเข้าถึงองค์ความรู้ ทรัพยากร และตลาด ทำให้ห่วงโซ่อุปทานในตลาดสั้นลง (4) การทำเกษตรที่มีลักษณะกระจุกตัวเชิงพื้นที่สูง ซึ่งจะเอื้อให้มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด หรือ economies of scale ในหลากหลายมิติ และอาจช่วยปลดล็อกให้เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งตัวอย่างที่สำคัญ คือการเพิ่มขึ้นของตลาดเช่าเครื่องจักรกลสมัยใหม่ที่แพร่หลายมากทั่วประเทศ

          งานวิจัยนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับตัวช่วยสุดท้าย นั่นก็คือความเข้าใจถึงพฤติกรรมและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมของเกษตรกร หรือ behavioral insights ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจ ปรับเปลี่ยน และตัดสินใจของเกษตรกร (รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงลักษณะของพฤติกรรมลำเอียงของเกษตรกรตัวอย่างกว่า 250 ราย และชี้ว่าการไม่ชอบความเสี่ยง และคิดแค่ปัจจุบันไม่สนใจอนาคต เป็นลักษณะพฤติกรรมลำเอียงหลัก ๆ ของเกษตรกรไทย) เราแสดงให้เห็นผ่านการทดลองทางเศรษฐศาสตร์กับเกษตรกรตัวอย่างในภาคกลางและภาคอีสานว่า วิธีการส่งเสริมการเกษตรและนโยบายเกษตรที่ถูกออกแบบด้วยพื้นฐานความเข้าใจข้างต้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบที่ไม่ตั้งใจของนโยบายต่อแรงจูงใจของเกษตรกรได้


รูปที่ 2 ลักษณะพฤติกรรมลำเอียงของเกษตรกร

(ที่มา: ผู้เขียนลงทำการทดลองภาคสนามจากเกษตรกรตัวอย่าง 250 รายจากจังหวัดปทุมธานีและกาฬสินธุ์)

          คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลและองค์ความรู้จากงานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบและแลกเปลี่ยนความคิดเชิงนโยบายอย่างสร้างสรรค์ คณะผู้เขียนขอเชิญชวนเข้ารับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยฉบับเต็มเรื่อง “ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน?” ได้ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2562 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “พลิกโฉมเศรษฐกิจ พิชิตการแข่งขัน” ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม Centara Grand at Central World (รายละเอียดที่ www.bot.or.th/BOTSymposium2019)

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.