• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​แบงก์ชาติกับปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงโควิด 19
​
นายรณดล นุ่มนนท์
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน


การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 นักระบาดวิทยาแนะนำให้ประชาชนลดการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันแทบทุกอย่างในสังคมลง ซึ่งผลข้างเคียงคือกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เคยหมุนเร็วกลับหยุดนิ่ง มาตรการลดการแพร่ระบาดก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและรุนแรง ปัจจุบันแม้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่วิกฤตโควิดที่เริ่มจากปัญหาด้านสุขภาพกลายมาเป็นวิกฤตด้านเศรษฐกิจที่ท้าทายยิ่ง 

ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ในฐานะธนาคารกลางของประเทศได้ดำเนินมาตรการในหลายด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจ และบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มมาตรการ

กลุ่มที่ 1 มาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง (liquidity) ให้แก่ประชาชนและธุรกิจ หัวใจสำคัญของมาตรการกลุ่มนี้เพื่อดูแลปัญหาสภาพคล่องของคนแต่ละคน บริษัทแต่ละบริษัท ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ (solvency) ของทั้งระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมาตรการกลุ่มนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ

1) การเลื่อนกำหนดชำระหนี้ (debt payment holiday) สำหรับประชาชนและธุรกิจ โดยลูกหนี้กลุ่มต่างๆ อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ สามารถเลื่อนกำหนดชำระหนี้ออกไปได้ 3-6 เดือน โดยไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต ในขณะที่บัตรเครดิตจะมีการปรับลดอัตราขั้นต่ำรายเดือนลง ธปท. หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีเงินสดในมือเพิ่มเติมเพื่อรองรับรายจ่ายจำเป็น ทั้งในด้านการรักษาสุขภาพ อนามัย และการดูแลครอบครัว หรือค่าจ้างพนักงานในกรณี SMEs

Article_28May2020_1.jpg

นอกจากนี้ สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งกลุ่มธุรกิจกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ไม่เกิน 100 ล้านบาท จะได้รับสิทธิ์เป็นการทั่วไป สำหรับยอดหนี้ที่เกิดก่อนหน้านี้ที่จะไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตาม พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เริ่มมาตรการ lockdown ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ประชาชนรายย่อยที่ได้รับการผ่อนปรนให้สามารถเลื่อนกำหนดชำระหนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวม 15 ล้านคน คิดเป็นยอดหนี้รวม 6.6 ล้านล้านบาท


Article_28May2020_02.jpg

2) การปรับโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) โดย ธปท. ตระหนักถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ต้นปี 2563 ก่อนที่โรคโควิด 19 ระบาด จึงปรับปรุงและผ่อนปรนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้หลายเรื่อง อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้รายที่สถานะปกติ ไม่กระทบประวัติข้อมูลเครดิต การปรับโครงสร้างหนี้สำหรับ NPL สามารถจัดชั้นปกติได้ใน 3 เดือน (ไม่ต้องรอ 12 เดือน) ไม่ต้องกันสำรองสำหรับวงเงินที่ไม่ได้ใช้ และสินเชื่อปล่อยใหม่สามารถจัดชั้นปกติได้ทันที เพื่อสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้ความสำคัญกับ "การปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน” (preemptive debt restructuring) ดังที่ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ในอดีตเมื่อพูดถึงการแก้ไขปัญหาหนี้จะเน้นที่ "การแก้หนี้เสีย" หรือ "หนี้ที่เป็น NPL แล้ว” แต่ในรอบนี้จะเน้นการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ที่สถานะปกติเบาตัว ลดโอกาสเป็นหนี้เสียในอนาคต

Article_28May2020_3.jpg

งานสำคัญอีกเรื่องในส่วนนี้ คือ การปรับรูปแบบการดำเนินการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งกระทรวงการคลัง ธปท. และ บสย. ได้ร่วมกันศึกษาและปรับปรุงกระบวนการในหลายส่วน อาทิ ในขั้นตอนเบิกเงินชดเชย เดิมสถาบันการเงินต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน บสย. ถึงจะจ่ายเงินชดเชยให้ แต่ตามแนวใหม่ ได้ปรับให้ใช้หนังสือ notice แทนได้ เพื่อลดผลกระทบจากการที่ SMEs ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีโดยไม่จำเป็น และการปรับปรุงรูปแบบการค้ำประกันของ บสย. ที่เดิมสถาบันการเงินสามารถเคลมความเสียหายในแต่ละรายได้ทั้ง 100% ปรับมาเป็นสถาบันการเงินร่วมรับส่วนสูญเสียตั้งแต่บาทแรก ซึ่งจะช่วยให้แรงจูงใจของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรวมสมดุลขึ้น รวมทั้งจะช่วยให้สถาบันการเงินมีแรงจูงใจปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้มากขึ้นด้วย

สำหรับช่วงโควิด 19 ธปท. คาดหวังว่า ในช่วงที่มีการเลื่อนกำหนดการชำระหนี้ออกไป 3-6 เดือน สถาบันการเงินจะใช้โอกาสนี้ทำงานร่วมกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และปรับแผนการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง นอกจากนี้ ธปท. ได้สั่งการให้สถาบันการเงินตั้งทีมพิเศษขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้และดูแลลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

3) การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ soft loan เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจ เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลัง ธปท. และสถาบันการเงินให้ความสำคัญและผลักดันผ่านโครงการต่าง ๆ โดยตั้งแต่ต้นปี 2563 มีสินเชื่อใหม่ที่ปล่อยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจรวมประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งมาจาก 3 ส่วนสำคัญ คือ (1) soft loan ของ ธปท. 5.8 หมื่นล้านบาท (2) soft loan ของธนาคารออมสิน 5.5 หมื่นล้านบาท และ (3) สินเชื่อของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) อื่นที่ค้ำประกันโดย บสย. อีก 3.1 หมื่นล้านบาท

Article_28May2020_4.jpg

สำหรับสินเชื่อ soft loan ของ ธปท. ประมาณ 5.8 หมื่นล้านบาท ที่ปล่อยออกไปครอบคลุมลูกหนี้ 35,217 ราย เฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 1.65 ล้านบาท โดย 71% เป็น SMEs รายเล็กในต่างจังหวัดที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยสถาบันการเงินที่ยื่นคำขอเข้ามามากที่สุด คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารไทยพาณิชย์

Article_28May2020_5.jpg
โครงการสินเชื่อ soft loan ของ ธปท. กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 2 เรื่อง คือ (1) ช่วยเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีสภาพคล่องในสภาวะเช่นปัจจุบันนี้ และ (2) ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ในช่วงหลังวิกฤตโควิดที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นดีขึ้น ให้สามารถขยายกำลังการผลิตและซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมได้ ดังนั้นจากวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท แม้ว่าในช่วงต้นจำนวนสินเชื่อที่ออกไปอาจจะต่ำกว่าที่วางแผนไว้อยู่บ้าง ส่วนหนึ่งจากสถาบันการเงินบางแห่งมีสภาพคล่องสูงจึงใช้สภาพคล่องที่มีปล่อยสินเชื่อก่อน แต่คาดว่าระยะต่อไปจะมีความสนใจใช้วงเงินสินเชื่อ soft loan ของ ธปท. มากขึ้น

Article_28May2020_6.jpg

อย่างไรก็ดี ธปท. ได้กำชับและติดตามให้สถาบันการเงินเร่งช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs ที่ต้องการสินเชื่อให้เร็วที่สุด และขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินสื่อสารไปยังสาขาไม่ให้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม หรือบังคับขายประกันที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ สำหรับ SMEs ที่ไม่สามารถขอ soft loan ธปท. ได้กำชับให้สถาบันการเงินพิจารณาให้ความช่วยเหลือ SMEs ตามแนวทางของแต่ละสถาบันการเงิน

กลุ่มที่ 2 มาตรการดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งมาตรการกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน

1) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงมาอยู่ที่ 0.5 % ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย โดยในแถลงข่าว กนง.ระบุวัตถุประสงค์ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่า "อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ" โดย ธปท. ถือเป็นธนาคารกลางแห่งแรก ๆ ของโลกที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังเกิดวิกฤตโควิด 19 ไม่นาน ดร.วิรไท ผู้ว่าการ ธปท. ได้กล่าวถึงสถานการณ์ช่วงนั้นว่า “แม้ตอนนั้นยังไม่ใช่จุดพีคแต่เราต้องรีบตั้งรับ เพราะหากช้าเกินไป การแก้ไขจะทำได้ยากในอนาคต"

ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 0.75% นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ อีก 0.23% เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้เพิ่มเติม ทำให้โดยรวมในช่วงโควิด 19 ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงประมาณ 1 % การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. ส่งผลต่อเนื่องทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR MOR MRR ลดลง 0.62-0.95% จากช่วงต้นปี ทำให้ประชาชนที่มีเงินกู้ได้รับประโยชน์จากภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง

Article_28May2020_7.jpg

2) ธปท. ได้สั่งการให้สถาบันการเงินปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมใน 3 เรื่องสำคัญ กล่าวคือ 1. ค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด 2.ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตและบัตรเดบิต และ 3. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้

เรื่องที่ถือเป็นการปรับครั้งใหญ่ที่สำคัญมาก คือ การปรับปรุงวิธีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเดิมจะคำนวณบนฐานของ "เงินต้นคงเหลือทั้งหมด" ในขณะที่วิธีใหม่จะคิดบนฐานของ "เงินต้นในงวดที่ผิดนัดจริง" เท่านั้น โดยจะไม่รวมงวดในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงและยังไม่มีการผิดนัดจริงเหมือนวิธีเดิม  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา สถาบันการเงินได้เริ่มใช้วิธีการคำนวณแบบใหม่แล้ว การปรับปรุงในครั้งนี้ช่วยยกระดับให้แนวปฏิบัติของไทยในเรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้นและสอดคล้องแนวปฏิบัติของนานาประเทศ รวมทั้งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของประชาชนจำนวนมากที่ในช่วงวิกฤตโควิด 19 อาจจะไม่สามารถจ่ายค่างวดได้ครบเพราะรายได้ลดลงมาก  

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าเรื่องนี้ไม่ได้รับการแก้ไข สถานการณ์วิกฤตโควิด 19 ในวันนี้จะแย่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก เพราะการพลาดการจ่ายค่างวดเพียงงวดใดงวดหนึ่ง ก็มีโอกาสสูงที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ และการปรับโครงสร้างหนี้ก็จะมีโอกาสสำเร็จยากขึ้นมากด้วย เพราะเจ้าหนี้จะมีแรงจูงใจที่ปรับโครงสร้างหนี้น้อยลง เพราะแม้การเจรจาจะไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ก็ยังมีรายได้จากดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ค่อนข้างสูง 

Article_28May2020_8.jpg

นอกจากนี้ ธปท. ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลให้สถาบันการเงินมีการให้บริการอย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะในช่วงโควิด 19 การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการต่าง ๆ ของสถาบันการเงินต้องไม่แพงเกินสมควร เพราะจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนที่กำลังเดือดร้อน สัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท. ได้เปรียบเทียบปรับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมประเมินหลักทรัพย์สูงเกินสมควร โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ที่ ธปท. เปรียบเทียบปรับสถาบันการเงินที่ให้บริการอย่างไม่เป็นธรรม และเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทราบ

กลุ่มที่ 3 มาตรการรับข้อร้องเรียนและช่วยแก้ปัญหาของประชาชน (รายบุคคล)

1) ในช่วงวิกฤตโควิด 19 แม้จะมีมาตรการ lockdown แต่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ของ ธปท. ยังเปิดให้บริการรับเรื่องร้องเรียง รวมทั้งรับฟังและช่วยแก้ปัญหาของประชาชนตามปกติ ซึ่งมีทั้งกรณีต้องการร้องเรียนสถาบันการเงินที่ให้บริการไม่เป็นธรรม แต่ส่วนใหญ่ในช่วงนี้เป็นกรณีที่ต้องการขอสถาบันการเงินให้ผ่อนปรนเกี่ยวกับชำระหนี้ เนื่องจากรายได้ปรับลดลงมากทำให้ไม่สามารถจ่ายค่างวดได้ รวมทั้งกรณีที่ไม่สามารถติดต่อสถาบันการเงินได้ โดยเดือนเมษายน 2563 มีประชาชนติดต่อ ศคง. ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้ง call center โทร. 1213 อีเมล จดหมาย และ social media รวม 10,586 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธปท. ให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ ในช่วงวิกฤตโควิด 19 โดยเจ้าหน้าที่ call center ของ ศคง. ทั้ง 4 ภาค เป็นผู้รับฟังข้อร้องเรียนและปัญหาของประชาชน จึงเปรียบเหมือนกองหน้าที่จะทราบว่ากำลังเกิดปัญหาอะไรขึ้นในจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งทุกวันจะมีการสรุปปัญหาที่พบและส่งข้อเสนอแนะแก้ไขไปให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง ศคง. จะเป็นจุดกลางที่จะช่วยประสานกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่ ธปท. กำกับดูแลการแก้ไขจะง่ายและเร็ว แต่กรณีที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่ ธปท. ไม่ได้กำกับดูแล ธปท. ก็จะช่วยประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขต่อไป

2) จัดให้มีช่องทาง “ทางด่วนแก้หนี้” เพื่อเป็นช่องทางเสริมที่จะเชื่อมให้เจ้าหนี้-ลูกหนี้ให้สามารถปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกัน จากการติดตามปัญหาในช่วงโควิดอย่างใกล้ชิดพบว่า ปัญหาของประชาชนมีอยู่ 2 เรื่องสำคัญ กล่าวคือ หนึ่ง ไม่สามารถติดต่อสถาบันการเงิน หรือไม่สามารถเดินทางไปที่สาขาในช่วงที่มาตรการเว้นระยะเพื่อลดการติดเชื้อ และ สอง กรณีที่ได้ติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้หรือขอความช่วยเหลือแล้ว แต่ข้อเสนอหรือมาตรการช่วยเหลือที่ได้รับจากสถาบันการเงิน ลูกหนี้ยังไม่สามารถทำได้ จึงเป็นที่มาของการสร้าง “ทางด่วนแก้หนี้” ขึ้นเพราะมองไปข้างหน้า การที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้จะสามารถปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกันจะเป็น economic agenda ที่สำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป

นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการช่วงวันสงกรานต์ 2563 มีผู้ใช้บริการทางด่วนแก้หนี้  4,271 ราย โดยสถิติที่น่าสนใจคือ สำหรับรายที่สถาบันการเงินรับเรื่องและพิจารณาเสร็จแล้ว ประมาณ 70% เจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถหาข้อสรุปและตกลงร่วมกันได้หลังจากที่ใช้บริการทางด่วนแก้หนี้ของ ธปท. สำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินยังไม่สำเร็จ อยากจะขอแนะนำให้ลองแจ้งความต้องการผ่าน “ทางด่วนแก้หนี้” เว็บไซต์ https://www.1213.or.th/App/DebtCase ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Article_28May2020_9.jpg

3) ธปท. จัดทำเว็บไซต์ BOT COVID-19 ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลมาตรการช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 โดยผู้สนใจสามารถค้นหา เปรียบเทียบ และศึกษาเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งหมดของ ธปท. และสถาบันการเงินได้ผ่านเว็บไซด์ BOT COVID-19 นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังรวบรวมข้อมูลช่องทางติดต่อสถาบันการเงิน และข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินในช่วงวิกฤตโควิด 19 ( https://www.bot.or.th/covid19 )

Article_28May2020_10.jpg
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.