• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​4 ปีที่ได้หยิบยื่นโอกาส คนไทยได้อะไรจากคลินิกแก้หนี้?
​

กว่า 4 ปีแล้วที่ “คลินิกแก้หนี้” เป็นชื่อที่หลายคนรู้จักในฐานะช่องทางที่หยิบยื่นโอกาสให้ลูกหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (“หนี้บัตร”) ที่กลายเป็นหนี้เสีย ให้สามารถกลับมาผ่อนชำระได้ด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเป็นพิเศษ และกลับมามีสถานะข้อมูลเครดิตเป็นปกติได้ในที่สุด

debt-clinic.jpg

มองย้อนกลับไปช่วงปี 2560 “คลินิกแก้หนี้” เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการก่อหนี้ของคนไทยนำไปสู่ฐานะทางการเงินที่เปราะบางมากขึ้น กล่าวคือ เป็นหนี้เร็วขึ้น เป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นหนี้นาน แม้ถึงวัยเกษียณอายุทำงานก็ยังคงมีภาระหนี้สูง ประกอบกับ การมีวินัยและความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งติดอยู่ในกับดักหนี้ ไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาหนี้สินได้

“คลินิกแก้หนี้” จึงถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต ชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) โดยมี SAM เป็นหน่วยงานกลางในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ในโครงการ ให้บริการแบบ One-stop service โดยเริ่มที่ “หนี้บัตร” เนื่องจากเป็นหนี้ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย อัตราดอกเบี้ยสูง และมีระยะเวลาผ่อนชำระไม่นาน อีกทั้งเกือบทั้งหมดเป็นการกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภค ใช้แล้วหมดไปต่างจากหนี้เพื่อการซื้อบ้านซื้อรถ ซึ่งกลายเป็นสินทรัพย์ถาวรหรือเครื่องมือประกอบอาชีพ

ความพิเศษของคลินิกแก้หนี้ หลักๆ มี 2 เรื่อง ประการแรก คือ ลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการจะไม่ถูกเจ้าหนี้ทั้งหลายในโครงการรุมทวงถามหนี้ หรือฟ้องร้องดำเนินคดี โดยมี SAM ทำหน้าที่เป็นคนกลางปรับปรุงโครงสร้างหนี้และรับชำระเงินจบในที่เดียว ประการที่ 2 คือ ลูกหนี้ในโครงการจะได้รับข้อเสนอที่ผ่อนปรนเป็นพิเศษ ลูกหนี้สามารถปฏิบัติได้จริง ด้วยเงื่อนไขผ่อนชำระเฉพาะเงินต้นเดิม อัตราดอกเบี้ยในโครงการต่ำเพียงร้อยละ 5 ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุดถึง 10 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระและค่าปรับที่ค้างชำระอยู่ก่อนเข้าโครงการ เจ้าหนี้จะยกให้เมื่อลูกหนี้ปฏิบัติได้ครบตามสัญญา

ปัจจุบัน คลินิกแก้หนี้มีเจ้าหนี้ร่วมในโครงการ 34 แห่ง ถือเป็นเครือข่ายในการแก้ไขหนี้รายย่อยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานมากว่า 4 ปี ได้ผลักดันการขยายขอบเขตความช่วยเหลือลูกหนี้ และปรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมหนี้บัตรที่เป็นหนี้เสียแทบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังถูกฟ้องหากยังไม่ถึงชั้นบังคับคดีก็สามารถสมัครได้ ปรับปรุงกระบวนการรับสมัครเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกหนี้ ล่าสุดโครงการได้ขยายขอบเขตความช่วยเหลือให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย (NPL) จากเดิมที่ต้องมีสถานะเป็น NPL ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2564 


สรุปการขยายความช่วยเหลือของโครงการคลินิกแก้หนี้ในปี 2564

 article_211130-1.png

นอกจากนี้ เพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 โครงการได้ออกมาตรการผ่อนปรนช่วยเหลือลูกหนี้ด้วย “ยา 2 สูตร” มาตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งปัจจุบัน “สูตรจ่ายเท่าที่ไหว” ยังให้ลูกหนี้ในโครงการ รวมถึงรายที่สมัครเข้าโครงการใหม่สามารถชำระหนี้ตามกำลังเท่าที่จ่ายไหว ไม่ต้องจ่ายเต็มค่างวดโดยไม่เสียประวัติ แต่ขอให้ชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกหนี้ที่ยังจ่ายเข้ามาไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของค่างวดตามสัญญาในช่วงมาตรการผ่อนปรน นอกจากจะหมดหนี้ไม่ล่าช้าแล้วยังจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยร้อยละ 1-2 เป็นแรงจูงใจอีกด้วย แต่หากลูกหนี้รายใดได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนไม่สามารถชำระค่างวดได้ สามารถขอพักชำระหนี้ชั่วคราวเป็นรายกรณี ตามหลักเกณฑ์ที่โครงการกำหนด โดยผลขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโครงการ

ตลอดระยะเวลาการเดินทาง 4 ปีกว่าของคลินิกแก้หนี้ที่ได้ขยายความช่วยเหลือเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง มีลูกหนี้เข้าโครงการทั้งสิ้น 22,011 ราย รวม 68,071 บัญชี ภาระหนี้เงินต้นตามสัญญา 5,163 ล้านบาท อีกทั้งมีลูกหนี้ที่ชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วจำนวน 430 ราย รวม 1,185 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 2 ของโครงการ รวมทั้งให้คำปรึกษาในการแก้ไขหนี้ 43,260 ราย 

สุดท้ายนี้ ขอให้เชื่อมั่นว่าสามารถหลุดพ้นจากกับดักหนี้สินได้ เพียงลูกหนี้มีความตั้งใจจริงที่จะปลดหนี้ คลินิกแก้หนี้พร้อมจะยืนอยู่ข้างเพื่อช่วยลูกหนี้จากวงจรหนี้ อย่าลืมว่า “มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารหรือติดต่อโครงการคลินิกแก้หนี้ผ่านทางเว็บไซต์ Facebook LINE และ YouTube รวมทั้งสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของโครงการ หรือติดต่อที่สำนักงานคลินิกแก้หนี้ by SAM ชั้น 4 ศูนย์การค้า ดิ อเวนิว รัชโยธิน (เมเจอร์ รัชโยธิน) กรุงเทพฯ รวมทั้งสำนักงานภูมิภาคของ SAM


article_211130-2.jpg


ผู้เขียน : 
ปริยดา อาสยวชิร 
ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

คอลัมน์ Young Economist นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
เดือน พ.ย. 2564 


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย 

>> Download PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.