• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​เมื่อธนาคารกลางทั่วโลกหมดกระสุน
​
ดร.สรา ชื่นโชคสันต์
ฝ่ายนโยบายการเงิน 



​วิกฤตโควิด ทำให้เราได้เห็นธนาคารกลางทั่วโลกลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างรวดเร็วเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ หลายประเทศมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ คำถามที่เกิดขึ้น คือธนาคารกลาง “หมดกระสุน” หรือยัง บทความนี้ จะอธิบายทางเลือกที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีเมื่อเผชิญกับสภาวะหมดกระสุน 

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ใช้ทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่คิดกับภาคธุรกิจและประชาชน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินอื่น ๆ เช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล เมื่อเครื่องมือหลักอย่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดข้อจำกัดที่ร้อยละ 0 ธนาคารกลางจะมีทางเลือก 4 แนวทางในการดำเนินนโยบายการเงิน ดังนี้

แนวทางที่หนึ่ง สื่อสารแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (forward guidance) เพื่อลดความไม่แน่นอนของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคต ทำให้ต้นทุนทางการเงินโดยรวมผันผวนน้อยลง ซึ่งจะเอื้อต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในการวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ ธนาคารกลางต้องรักษาความน่าเชื่อถือโดยดำเนินการตามที่ได้สื่อสารไว้ เช่น ธนาคารกลางอาจจะสื่อสารว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันไปอย่างน้อย 1 ปี เป็นต้น

แนวทางที่สอง ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้กันระหว่างธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นกลไกหนึ่งในการพยายามผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เงินที่เหลือจากการลงทุนหรือปล่อยสินเชื่อ มาปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอีกแทนที่จะมาฝากเงินกับธนาคารกลางแล้วขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยติดลบ นโยบายดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของประชาชนในระบบธนาคารพาณิชย์จะติดลบ เพราะหากประชาชนฝากเงินแล้วได้เงินลดลงก็สุ่มเสี่ยงที่ประชาชนจะแห่ถอนเงินและเก็บเงินในรูปแบบอื่น ธนาคารพาณิชย์จึงมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงไม่ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากติดลบ ทั้งนี้ นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบไม่ได้รับความนิยมจากธนาคารกลางทั่วโลกมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยติดลบเป็นการทำโทษหรือเพิ่มต้นทุนแก่ธนาคารพาณิชย์ โดยหวังว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น การทำโทษเพื่อผลักดันนั้นแตกต่างจากการให้รางวัลเพื่อผลักดัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการทำโทษอาจส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภคในรูปแบบอื่น เช่น การเพิ่มค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จึงอาจกลายเป็นผลเสียแทนที่จะเป็นผลดี

แนวทางที่สาม คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น แต่เปลี่ยนโฟกัสมาที่ลดอัตราดอกเบี้ยระยะปานกลางและระยะยาวในตลาดตราสารหนี้แทน โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ธนาคารกลางสามารถประกาศเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพื่อให้อัตราผลตอบแทนในระยะเวลาต่าง ๆ ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ถูกลง ถือเป็นการลดต้นทุนทางการเงินระยะปานกลางและระยะยาวโดยที่ไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น หลายคนอาจจะคุ้นหูกับคำว่า Quantitative Easing หรือ QE ซึ่งก็คือมาตรการในลักษณะที่กล่าวมานี้ 

อีกวิธีหนึ่งคือ การประกาศและควบคุมระดับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง โดยธนาคารกลางจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองจนกว่าจะสามารถตรึงอัตราผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ วิธีนี้เรียกว่า Yield Curve Control หรือ YCC ซึ่งหากธนาคารกลางมีความน่าเชื่อถือ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อในปริมาณมากเพราะตลาดจะเชื่อและยอมรับระดับราคาและผลตอบแทนตามที่ธนาคารกลางได้ประกาศไว้ นอกจากนี้ หากธนาคารกลางประกาศเข้าซื้อตราสารประเภทอื่น ๆ เช่น หุ้นกู้ภาคเอกชนก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ของภาคธุรกิจถูกลง อย่างไรก็ตาม การเข้าซื้อสินทรัพย์โดยธนาคารกลางอาจก่อให้เกิดคำถามถึงความเหมาะสมและประโยชน์ที่เศรษฐกิจจะได้รับ รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง โดยเฉพาะหากเป็นการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกก็อาจถูกมองว่าเป็นการพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจึงมักจำกัดอยู่ที่ตลาดรอง หรือการเข้าซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนก็อาจถูกมองว่าเป็นการช่วยเหลือบางธุรกิจอย่างเฉพาะเจาะจงและสุ่มเสี่ยงที่ธนาคารกลางต้องแบกรับต้นทุนจากการผิดนัดชำระหนี้

แนวทางที่สี่ สร้างแรงจูงใจเพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อแก่กลุ่มเป้าหมายตามเงื่อนไขที่กำหนด (targeted lending) โดยธนาคารกลางสามารถให้เงินกู้แก่สถาบันการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ และกำหนดให้สถาบันการเงินใช้เงินกู้เหล่านั้นปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจตามเงื่อนไขที่กำหนด ถือเป็นการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สินเชื่อกระจายไปสู่กลุ่มเป้าหมาย นโยบายดังกล่าวมักจะใช้คู่กับนโยบายประกันความเสี่ยงด้านสินเชื่อ โดยมีภาครัฐเป็นผู้ค้ำประกันเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

ทั้ง 4 วิธีนี้ถือเป็นการดำเนินนโยบายการเงินแบบไม่ปกติ (unconventional monetary policy) และสามารถใช้ผสมผสานกันได้ เช่น ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ใช้ทั้ง 4 วิธี ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ และอังกฤษไม่ได้ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่เน้นไปที่การลดต้นทุนทางการเงินระยะปานกลางและระยะยาวผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ร่วมกับการใช้ targeted lending 

article_200929.jpg

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ถือว่าเหลือกระสุนไม่มาก แต่ยังมีเครื่องมืออื่นตาม 4 แนวทางดังกล่าว โดยปัจจุบันแบงก์ชาติได้ร่วมมือกับภาครัฐออกมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อต่าง ๆ เช่น มาตรการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) และมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อกระจายสภาพคล่องไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดในบริบทเศรษฐกิจไทยที่ภาคเอกชนต้องการสภาพคล่องเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่านโยบายการเงินแบบไม่ปกติก็เปรียบเสมือนกระสุนสำรองที่แม้อาจมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากระสุนจริง แต่ก็ต้องสำรองไว้พร้อมใช้ในยามจำเป็น


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.