• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​​กิจการเสี่ยงและมาตรการดูแลภายใต้ผลกระทบของ โควิด-19
ดร.จิตเกษม พรประพันธ์ 
ดร.มณฑลี กปิลกาญจน์ 
นางสาวนันทนิตย์ ทองศรี 
นางสาวพรชนก เทพขาม
ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ



การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไป พร้อมกับที่นโยบายการช่วยเหลือจากภาครัฐก็มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราคนไทยทุกคนกำลังได้รับผลกระทบจากมหันตภัยโควิด-19 เพียงแต่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกัน หากทำงานอยู่ในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือสายอาชีพที่ทำงาน ณ สถานที่เสี่ยงต่อการติดโรคก็จะต้องหยุดงานตามการปิดชั่วคราว โดยคนในสายอาชีพดังกล่าว มีอยู่ประมาณหนึ่งในห้าของผู้มีงานทำทั้งหมด และเป็นที่ทราบกันดีว่าคนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก ต้องสูญเสียงานหรือรายได้ ในอีกมุมหนึ่ง กลุ่มข้าราชการ รัฐสาหกิจ ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากยังได้รับเงินเดือนประจำเท่าเดิม แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบความเป็นอยู่ ยิ่งหากคนกลุ่มนี้มีรายได้เสริมจากอาชีพที่ได้รับผลกระทบ เช่น ขายของตามตลาดนัด จึงพูดได้ไม่เต็มปากว่าคนกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบน้อย ดังนั้นนโยบายการช่วยเหลือที่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบในแต่ละระดับที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสมและทั่วถึงจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ณ ช่วงเวลานี้ บทความในวันนี้จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาแลกเปลี่ยนความเห็นถึงผู้ได้รับผลกระทบหลัก ก่อนที่จะชวนคิดถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

article30apr2020.jpg
ภาพที่ 1 : จำนวนผู้ประกอบอาชีพอิสระ จำนวนลูกจ้างในระบบประกันสังคม แยกตามสาขาเศรษฐกิจที่จัดอันดับความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ บริษัท TRIS Rating และ คำนวณโดย ธปท.


การประเมินผู้ได้รับผลกระทบอาจตั้งต้นตามความเสี่ยงของภาคธุรกิจ ตามที่ บริษัท TRIS rating ได้จัดอันดับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบของโควิด-19 โดยใช้ รายได้ มูลค่าทรัพย์สิน และสภาพคล่อง เป็นเกณฑ์ จึงพบว่ากลุ่มสาขาที่มีความเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบมาก คือ สาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือสายอาชีพที่ทำงาน ณ สถานที่เสี่ยงต่อการติดโรคที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้า ได้แก่  สายการบิน โรงแรม โรงภาพยนตร์ รวมถึงสาขาในกิจกรรมการผลิตที่คาดว่าได้รับผลกระทบจากมาตรการ lock down จนทำให้ไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตได้ คือ อิเล็กทรอนิกส์ โลหะ ผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และกระดาษ ซึ่งแน่นอนว่าสาขาเหล่านี้ครอบคลุมแรงงานจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว 

หลังจากมองในมุมของสาขาเศรษฐกิจแล้ว ขอมองลึกถึงมิติของแรงงานที่ได้รับผลกระทบซึ่งขอแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ แรงงานกลุ่มแรกอยู่ในระบบประกันสังคมซึ่งย่อมได้รับการดูแล และเยียวยาผ่านทางมาตรการของสำนักงานประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นการลดและขยายเวลาจ่ายเงินสมทบ การให้เงินชดเชยหากถูกพักงาน หรือแม้แต่การให้เงินเยียวยาที่เพิ่มขึ้นหากถูกเลิกจ้างจากสถานการณ์โควิด-19 จึงยังพอบรรเทาผลกระทบได้บ้าง แต่จะดีกว่าแน่ ถ้าผู้ประกอบการและแรงงานของเขาเหล่านี้จะสามารถอยู่รอดรักษาหน้าที่การงานผ่านวิกฤตนี้ไปได้ด้วยกัน แรงงานกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งอยู่ในภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ได้รับผลต่อเนื่องมาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) แม้รัฐไม่ได้สั่งปิดโดยตรง เช่น โรงแรม รวมถึงแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะที่ทำงานในห่วงโซ่อุปทานของสาขาที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อภาคการผลิตของประเทศ แต่มีสถานประกอบการรายย่อยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้ 

แรงงานอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ คือ ผู้จ้างงานตนเองหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ (self-employed) ซึ่งอยู่นอกระบบประกันสังคม อย่างไรก็ดี ภาครัฐได้เปิดโอกาสให้แรงงานกลุ่มนี้สามารถลงทะเบียนเพื่อได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน หากผ่านกระบวนการคัดกรองตามเงื่อนไขหลักได้แก่ การดำเนินกิจกรรมที่ได้รับผลกระทบหรือที่รัฐสั่งปิด เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก การจัดประชุมแสดงสินค้า และกิจกรรมความบันเทิงและนันทนาการ ซึ่งครอบคลุมผู้ประกอบอาชีพอิสระกว่า 4.5 ล้านคน จากผู้มีงานทำในสาขาเหล่านี้รวม 6.6 ล้านคน 

นอกเหนือจากการช่วยเหลือแรงงานที่ถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว การเยียวยาหรือช่วยเหลือผู้ประกอบการก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะหากผู้ประกอบการยังคงรักษาการจ้างงานไว้ได้ ในท้ายที่สุดแล้วแรงงานจะยังคงมีงานให้กลับไปทำ ขณะที่ ธุรกิจอื่น ๆ ในห่วงโซ่อุปทานที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันก็จะยังคงอยู่ต่อไปได้ โดยจากข้อมูลชี้ว่าสาขาที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงตามเกณฑ์ของ บริษัท TRIS Rating นั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบรายย่อยอ่อนไหวง่ายต่อสภาวะวิกฤตในปัจจุบัน จึงต้องอาศัยมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องด้านการเงิน หรือช่วยสนับสนุนต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในส่วนของค่าจ้างด้วยการให้เงินสนับสนุนแก่สถานประกอบการรายย่อยที่มีรายได้ลดลง ภายใต้เงื่อนไขที่สถานประกอบการจะต้องไม่ปลดคนงาน ดังเช่นที่ประเทศเยอรมัน และมาเลเซีย ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้ว

เมื่อมองไปข้างหน้าหากเราสามารถควบคุมโรคระบาดได้ในระดับหนึ่ง ภาครัฐจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ เช่น มาตรการเร่งการสร้างงาน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ เพราะอุปสงค์ในประเทศจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ขณะที่สถานการณ์ในต่างประเทศยังไม่แน่นอน โดยระยะนี้ต้องกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุนในประเทศ เพื่อเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจหมุนไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่ทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจ สุดท้ายแล้วขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกหลังโควิด-19 จะเกิดภาวะปกติใหม่ (New Normal) ในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ Online platform เพื่อซื้อสินค้าและบริการที่หลากหลายเพิ่มขึ้น จึงเป็นความท้าทายของภาครัฐที่จะต้องเหยียบคันเร่งเปลี่ยนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากโหมดประคับประคองมาสู่โหมดเร่งเครื่องยนต์ จึงต้องยกเครื่องนโยบายที่เอื้อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนมาใช้ในโลกใหม่ อาทิ การพัฒนาฝีมือแรงงาน Online เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทุนมนุษย์ให้สามารถเป็นหัวจักรสำคัญขับเคลื่อนผลิตภาพของประเทศไปสู่การเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ

 
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.