You may be trying to access this site from a secured browser on the server. Please enable scripts and reload this page.
EN
EN
เกี่ยวกับ ธปท.
บทบาทหน้าที่และประวัติ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
กฎหมาย/กฎเกณฑ์
ผังโครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการ
รายงานทางการเงิน
รายงานประจำปี ธปท.
ธนบัตร
มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
สมัครงานและทุน
พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
ศคง. 1213
งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
คณะกรรมการ กนง.
เป้าหมายของนโยบายการเงิน
กำหนดการประชุม
ผลการประชุม กนง.
เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
ภาวะเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจภูมิภาค
งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
คณะกรรมการ กนส.
โครงสร้างระบบ สง. ไทย
บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
การกำหนดนโยบาย สง.
การกำกับตรวจสอบ สง.
ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล
มุมสถาบันการเงิน
การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
การดำเนินนโยบายการเงิน
การบริหารเงินสำรอง
การพัฒนาตลาดการเงิน
ตลาดเงินตราต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
การลงทุนโดยตรง ตปท.
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
คณะกรรมการ กรช.
นโยบายการชำระเงิน
การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
บริการระบบการชำระเงิน
แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
การชำระเงินกับต่างประเทศ
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
งานสัมมนา
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถิติ
สถิติตลาดการเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงิน
สถิติสถาบันการเงิน
สถิติระบบการชำระเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
คู่มือประชาชนด้านสถิติ
บริการข้อมูล BOT API
Toggle navigation
หน้าหลัก
>
วิจัยและสัมมนา
>
บทความ
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
"สภาพคล่อง" ทางรอดฝ่าวิกฤต COVID
นางสาวธนันธร มหาพรประจักษ์
ฝ่ายนโยบายการเงิน
นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและไทย จากทั้งภัยธรรมชาติ สงครามทางการค้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลายและกระทบต่อทุกภาคส่วน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องกังวลในช่วงเวลาเช่นนี้คือ ความอยู่รอดของกิจการ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การมุ่งเน้นกำไร แต่ต้องเน้นรักษาสภาพคล่องของกิจการเช่นกัน บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้จึงขอใช้โอกาสนี้พูดถึงสภาพคล่องของกิจการและมาตรการเสริมสภาพคล่องที่ภาครัฐออกมาเพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับความเดือดร้อนจาก COVID-19 ระลอกใหม่กันค่ะ
แม้วัตถุประสงค์หลักของการทำธุรกิจคือการแสวงหากำไร แต่หากต้องการให้ธุรกิจเดินหน้าได้ สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเช่นกันคือ
“การรักษาสภาพคล่อง”
ซึ่ง
หมายถึง
การที่เจ้าของธุรกิจสามารถบริหารจัดการให้ธุรกิจมีกระแสเงินสดเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้โดยไม่เกิดปัญหา
มีเงินสดสำหรับจ่ายค่าแรงให้พนักงาน เงินต้นและดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ รวมถึงค่าวัตถุดิบ และต้นทุนอื่นที่ใช้ดำเนินธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องตระหนักตลอดเวลา คือ ปัญหาสภาพคล่องอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด ที่เห็นได้ชัดคือการระบาดของ COVID-19 ที่ต่อให้เตรียมวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้าก็อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 มีความแตกต่างกันมาก (uneven) ระหว่างภาคเศรษฐกิจและผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม ทำให้ธุรกิจอาจไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้
แล้วภาครัฐจะทำอย่างไรเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องและช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ได้ รายงานนโยบายเงินของ ธปท. ฉบับ ธ.ค. 63 ชี้ว่า
สภาพคล่องในระบบการเงินไทยมีอยู่สูง รวมถึงต้นทุนทางการเงินของไทยอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่การระดมทุนและสินเชื่อกระจุกตัวในบางกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่
แม้ภาครัฐจะสนับสนุนให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ผ่านมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในปี 63 แต่ก็ไม่จูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจ SMEs เพิ่มมากนัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ยังเผชิญความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น
โจทย์สำคัญคือกลไกที่จะช่วยการกระจายสภาพคล่องให้ตรงจุดและทั่วถึงขึ้น
มากกว่าการเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินโดยรวม เช่น มาตรการที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ทำให้ธนาคารกล้าปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจึงได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ทั้งมาตรการเสริมสภาพคล่องผ่านการให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ และมาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน โดยเน้นเสริมสภาพคล่องผ่านการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจาก COVID-19 และมีวงเงินแยกเฉพาะสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงธุรกิจ SMEs โดยธุรกิจที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ธนาคารออมสินและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ภาครัฐยังดำเนิน
โครงการค้ำประกันสิน
เชื่อ
ผ่านบรรษัทประกันสินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) เพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงของผู้กู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และ Micro Entrepreneurs ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจที่มีศักยภาพแต่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับสภาพคล่องอย่างทั่วถึงมากขึ้น สำหรับการบรรเทาภาระหนี้สิ้นนั้น มาตรการเน้นช่วยเหลือลูกหนี้ตามความเหมาะสมกับประเภทสินเชื่อและคำนึงถึงความเสี่ยงของลูกหนี้ตามลักษณะธุรกิจและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เช่น การขยายเวลาการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการให้สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยสามารถติดต่อสถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการอยู่ได้ทันที
หากท่านผู้อ่านที่เป็นเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเสริมสภาพคล่องก็สามารถใช้ช่องทางที่กล่าวไว้ข้างต้น และหวังว่าท่านผู้อ่านจะมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับพยุงธุรกิจให้ผ่านพ้น COVID-19 ระลอกใหม่ได้ค่ะ
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
>>
Download PDF
Share
Tweet
Email
Share
Tweet