• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​เมื่อโลกกำลังทำสงครามแย่งชิงคนเก่ง ประเทศไทยทำอะไรอยู่

​นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ
นางสาวพัชรพร ลีพิพัฒน์ไพบูลย์
ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ

           รูปแบบของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไปจากกระแสของทั้งสังคมสูงอายุและเทคโนโลยีทำให้ “การแย่งชิง แรงงานทักษะ” หรือ “War for Talents” เป็นประเด็นร้อนแรงที่ผู้ทำนโยบายทั่วโลกจับตามอง นานาประเทศ ต่างมีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Economy 4.0 จึงต่างแสวงหาคนเก่งจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศตนเอง โดยเฉพาะในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ยากต่อการคาดเดาว่างานในอนาคตจะต้องการคนประเภทใด การผลิตคนในประเทศให้ตรงและทันกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ประเทศแถวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสหรัฐอเมริกา สามารถสร้าง Data Scientist ได้เพียง 35,000 คน ในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ข้อมูลจาก LinkedIn ในปี 2017 เผยให้เห็นว่าความต้องการ Data Scientist ทั่วโลกปรับสูงขึ้นถึง 6.5 เท่า จากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงสร้างแรงกดดันต่อการแย่งชิงแรงงาน ทำให้กว่า 2 ใน 5 ประเทศทั่วโลกผ่อนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานต่างชาติทักษะและมีมาตรการเชิงรุก ทั้งการจูงใจทางภาษีและการให้เงินสนับสนุนเพื่อดึงดูดคนเก่งที่สุดและดีที่สุด (The best and the brightest) ให้กับประเทศของ ตนเอง

           สถานการณ์แย่งชิงแรงงานรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้สูง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการที่แคนาดาติดป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บริเวณทางเข้า Silicon Valley เพื่อเชิญชวนชาวต่างชาติโดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาใหม่ในสหรัฐฯ ที่ไม่สามารถหางานได้จากการจำกัดจานวนแรงงานต่างชาติผ่านโควตาวีซ่า H-1B และสถานการณ์ปรับแย่ลงจากกระแสอนุรักษ์นิยม หลังการดารงตำแหน่งของประธานาธิบดี Donald Trump แม้ว่าแคนาดาจะสามารถผลิตคนเก่งในประเทศจำนวนมากออกมาได้ทุกปี และกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานต่างชาติจบปริญญาตรีขึ้นไป เนื่องจากแคนาดาต้องการรวบรวมคนเก่งจากทั่วโลก เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลกให้มาตั้งในเมืองที่ถูกวางยุทธศาสตร์ไว้ เช่น เมืองโตรอนโต

           แม้แต่ในประเทศที่มีกระแสชาตินิยมรุนแรงอย่างญี่ปุ่น ก็มีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านแรงงานควบคู่กับการสร้างวัฒนธรรมการยอมรับคนต่างชาติในสังคมเพื่อลดผลกระทบจากสังคมสูงวัยที่รุนแรงขึ้น โดยญี่ปุ่น กำลังเปิดให้นาเข้าพยาบาล เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่สูงขึ้นและระบบการศึกษาไม่สามารถสร้างกำลังแรงงานที่มีทักษะดังกล่าวได้ทัน

           ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเริ่มเข้าร่วมในสงครามแย่งชิงคนเก่งเพิ่มขึ้น รวมถึงเพื่อนบ้านของไทย อย่างมาเลเซีย ที่มีนโยบายเชิงรุกที่เป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2010 โดยมีเป้าหมายเป็นศูนย์กลางคนเก่งของอาเซียนผ่านการ สร้าง-ดึงดูด-รักษา ที่บรรจุเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อทำให้เกิดการผลักดันอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงและมีศูนย์อำนวยความสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง (MYXpats) สำหรับให้คำปรึกษาชาวต่างชาติที่ต้องการหางานในประเทศ รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวมาเลเซียมีประสบการณ์และเรียนรู้จากต่างประเทศ

           นอกจากนี้ มาเลเซียยังใช้นโยบายทางภาษีเพื่อดึงคนเก่งที่ออกไปทางานในต่างประเทศกลับมาช่วยพัฒนาประเทศตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางของประเทศที่เผชิญภาวะสมองไหล เช่น อินเดีย ที่ประสบความสำเร็จในการดึงคนกลับประเทศจนสามารถสร้าง IT Hub ที่เมืองบังคาลอร์ได้ ขณะที่จีนที่มีอัตราสมองไหลสูงเช่นกัน ก็พยายามดึงคนจีนกลับบ้านถึงขนาดยอมให้คนจีนที่ย้ายสัญชาติไปแล้วสามารถกลับมาถือ 2 สัญชาติได้

           จากตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นว่าแรงงานต่างชาติมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งการรวมกลุ่มของคนเก่ง จะยิ่งทาให้เกิดอุตสาหกรรมและการจ้างงานใหม่ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ Silicon Valley ที่จะไม่มีทางเกิดขึ้นหากขาดการรวมกลุ่มของหัวกะทิด้านเทคโนโลยีของโลก เพราะกว่า 2 ใน 3 ของแรงงานเป็นชาวต่างชาติ หรือประเทศชิลีที่เปิดให้สตาร์ทอัพต่างชาติเข้าไปลงทุนจนสามารถสร้างอาชีพให้เกิดขึ้นกว่า 5 พันตำแหน่ง

           กลับมามองประเทศไทย ข้อมูลของ UN ปี 2017 พบว่า ไทยเป็นประเทศที่เปิดรับแรงงานต่างชาติมากที่สุดในอาเซียน โดยมีมากถึง 3.6 ล้านคน แต่จำนวนนี้เป็นกลุ่มที่มีทักษะเพียง 1.5 แสนคนเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของแรงงานทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า ไทยพึ่งพาแรงงานต่างชาติจำนวนมาก ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมในการคัดเลือกและดึงดูดแรงงานทักษะที่จะตอบโจทย์เศรษฐกิจ 4.0 ยังไม่ชัดเจนนัก แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่มีนโยบายด้านแรงงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่แยกกันระหว่างการดึงดูดแรงงานทักษะสูงและลดการพึ่งพิงแรงงานทักษะพื้นฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ

          ธนาคารแห่งประเทศไทยสำรวจผู้ประกอบการกว่า 800 บริษัท ในปี 2017/18 พบว่า การขาดแคลนแรงงานเป็นปัญหาสำคัญของบริษัทบริษัทในไทย โดยกว่าร้อยละ 20 ขาดแคลนแรงงานทักษะ โดยเฉพาะทักษะดิจิทัล เช่น การเขียนโปรแกรม ซึ่งผลกระทบดังกล่าวรุนแรงถึงขนาดทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง จำเป็นต้องย้ายธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและการวิจัยไปลงทุนในประเทศที่มีนโยบายแรงงานที่เสรีกว่า เช่น สิงคโปร์ เพราะไม่สามารถหำแรงงานที่มีทักษะด้านการจัดการข้อมูลในไทยได้เพียงพอ ส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสในการจ้างงานกว่า 1 พันตำแหน่ง

           และด้วยบริบทของโลกที่ไร้พรหมแดนในปัจจุบัน บริษัทสามารถจ้างคนต่างประเทศทำงานให้ได้โดย ไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากัน ทำให้การปกป้องแรงงานในประเทศด้วยการปิดกั้นชาวต่างชาติแทบจะเป็นไปไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม การเปิดรับคนเก่งให้มาอยู่รวมกันในประเทศไทยกลับเป็นการเพิ่มศักยภาพของประเทศและทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ดังที่ Tim Cook เคยกล่าวว่า การที่ Apple เลือกผลิต iPhone ในจีน ไม่ใช่เพราะเป็นแหล่งผลิตราคาถูก แต่เป็นเพราะจีนเป็นแหล่งรวมแรงงานทักษะที่มีจำนวนมากกว่าสหรัฐฯ

           ระหว่างที่ทั่วโลกต่างแข่งขันกันเพื่อแย่งคนเก่ง ประเทศไทยกลับทำแค่ชำเลืองมองโดยไม่มีแผนการเชิงรุกที่ชัดเจน ทั้งที่ไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัย “แรงงาน” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับเศรษฐกิจ 4.0 เพราะไทยจะต้องหาแรงงานทักษะกว่า 5 ล้านคน เพื่อตอบโจทย์ S-curve การเปิดรับต่างชาติในช่วงเริ่มต้น จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สามารถบรรลุเป้าหมาย Thailand 4.0 ได้ ทัศนคติที่มองว่าแรงงาน ต่างชาติจะเป็นภัยคุกคามต่องานของคนไทยคืออุปสรรคสำคัญที่ปิดกั้นโอกาสของการพัฒนาศักยภาพของประเทศ เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่าการถูกต่างชาติแย่งงาน คือการเลือกปกป้องผลประโยชน์ของแรงงานไทย จนท้ายที่สุดทำให้ประเทศสูญเสียความสำมารถในการแข่งขัน และคนไทยอาจไม่มีงานทำ

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>>​Download​​ PDF


Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.