• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ภาวะโลกรวน กับพันธกิจ Net Zero
​

ในเดือนเมษายน นอกจากจะมีวันสำคัญของคนไทยอย่างวันสงกรานต์แล้ว อีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อโลกของเราก็คือ วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 เมษายนของทุกปี โดยเริ่มมีขึ้นในปี 2513 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญต่อประเด็นทางสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกรวน (climate change) ปัญหาขยะพลาสติก การอนุรักษ์ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความตระหนักว่า โลกที่เราอยู่นั้นมีความเปราะบางเพียงไร จึงสำคัญที่เราทุกคนต้องช่วยกันปกป้องรักษาไว้ เพื่อการดำรงอยู่ที่ดีของมวลมนุษยชาติทั้งในรุ่นเราและรุ่นถัดไปในอนาคต โดยการประชุมในปีนี้เน้นเรื่องเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero emissions or net zero) ให้ได้ภายในกลางศตวรรษนี้ เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตภาวะโลกรวนที่เลวร้าย จึงอยากชวนผู้อ่านร่วมคิดไปด้วยกันว่าการจะไปสู่เป้าหมาย net zero นั้นต้องอาศัยปัจจัยใดบ้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และมีโอกาสอะไรที่ซ่อนอยู่ในความท้าทายนี้


การที่จะไปสู่เป้าหมาย net zero ในระดับโลกได้ในปี 2593 นั้น ต้องเริ่มจากการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเปลี่ยนเข้าสู่โหมดเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทั้งการผลิต การบริโภค และวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนในการวางระบบด้านพลังงานและการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันกว่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (McKinsey 2565) โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์คาร์บอนต่ำที่ต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น สินทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานสะอาด (เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์) เชื้อเพลิงชีวภาพ อาคารคาร์บอนต่ำ รถยนต์ไฟฟ้า การทำเกษตรคาร์บอนต่ำ การลงทุนซึ่งจำเป็นต้องมีเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินทรัพย์คาร์บอนต่ำ และความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินค้าและบริการสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น นำไปสู่การเติบโตและพัฒนาของบางภาคธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้เกิดภาคธุรกิจใหม่ที่ อาจจะไม่เคยมีมาก่อนในบางประเทศ จึงเป็นโอกาสที่น่าจับจองท่ามกลางความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกสีเขียว

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอุปโภคและบริโภค ท่ามกลางการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจบางประเภทเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะ ธุรกิจการเกษตรและการจัดการที่ดิน (Agriculture and land use) และ ธุรกิจการจัดการคาร์บอน (carbon management) ที่คาดว่าจะมีมูลค่ารวมของตลาดในสองกลุ่มธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปี 2573 หรือในอีก 8 ปีข้างหน้า (McKinsey 2565) เมื่อมองบริบทไทยที่เกษตรกรรมนั้นมีบทบาทสำคัญอยู่แล้ว หากเราเริ่มหันไปทำเกษตรคาร์บอนต่ำ โดยการเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การทำการเกษตรแบบ “Do-nothing farming” หรือ เกษตรกรรมแบบธรรมชาติของ ฟูกูโอกะ โดยจะไม่ไถพรวนดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี/สารเคมี ซึ่งจะลดการใช้แรงงานและเครื่องจักรใช้น้ำมันดีเซลไปด้วย การหาทางเลือกใหม่ ๆ จากแนวทางเกษตรที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ จะช่วยให้เราสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความเชี่ยวชาญที่เรามีอยู่เดิมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตรในเชิงสีเขียวได้มากขึ้น ส่วนธุรกิจการจัดการคาร์บอน เช่น ระบบดักจักและจัดเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage System) แม้มูลค่าตลาดอาจดูน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่น แต่ด้วยความจำเป็นในการลดก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น แต่การจะคว้าโอกาสในธุรกิจด้านนี้นั้นต้องอาศัยการเร่งสร้างนวัตกรรมด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่ามีโอกาสในหลายกลุ่มธุรกิจในการเติบทางนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ การเริ่มลงทุนในสินทรัพย์คาร์บอนต่ำยังช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และลดความเสี่ยงต่ออุปสรรคทางการค้าที่มีข้อกำหนดด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

article_4May2022re.jpg

การเปลี่ยนผ่านไม่เพียงต้องอาศัยเม็ดเงินในการลงทุนจำนวนมากแต่ต้องสร้างความพร้อมทางสังคม โดยการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำนั้น ต้องอาศัยทั้ง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม แม้พวกเราจะเป็นเพียงคนตัวเล็ก ๆ บนผืนโลกแห่งนี้ แต่ทุกคนมีส่วนร่วมให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำได้เช่นกัน อาจจะเริ่มต้นจากกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ เช่น การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานและดึงปลั๊กออกทุกครั้ง การรับประทานอาหารท้องถิ่นหรือใกล้บ้านให้มากขึ้น เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการขนส่งอาหารและวัตถุดิบ ตลอดจน การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ลดคาร์บอนให้มากที่สุด โดยไม่ลืมว่าทุกลมหายใจเข้าออกของเราก็มีส่วนสร้างคาร์บอนอยู่ด้วย


ดร.มณฑลี กปิลกาญจน์ 
ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน 

คอลัมน์ “ร่วมด้วยช่วยคิด” นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
ฉบับวันที่ 4 พฤษภาคม 2565


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.