• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​ทำความรู้จักกับดัชนีความพร้อมสู่อนาคตสีเขียว

​ตั้งแต่ข้อตกลงปารีสบังคับใช้ในปี 2559 กว่า 120 ประเทศได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ แต่ความคืบหน้าของแต่ละประเทศในเรื่องนี้ยังแตกต่างกัน สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ของสหรัฐฯ จึงได้จัดทำ “ดัชนีอนาคตสีเขียว” (the Green Future Index) ตั้งแต่ปี 2564 เพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าและความมุ่งมั่นของประเทศต่างๆ ในการก้าวเข้าไปสู่อนาคตสีเขียวด้วยการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บางขุนพรหมชวนคิดในวันนี้จึงขอนำดัชนีนี้มาเล่าให้ท่านผู้อ่านค่ะ


ดัชนีอนาคตสีเขียว เป็นดัชนีที่วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานสีเขียว และเทคโนโลยีที่ช่วยลดคาร์บอนฯ โดยวัดประเทศกว่า 76 แห่ง จากปัจจัย 5 ด้าน 

ด้านแรก การปล่อยคาร์บอนฯ โดยดูจากการปล่อยคาร์บอนฯ ทั้งหมดและพัฒนาการของการปล่อยคาร์บอนฯ ในภาคขนส่ง อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม 

ด้านที่สอง การปรับเปลี่ยนด้านพลังงาน ทั้งการมีส่วนร่วมและการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งงานวิจัยพบว่า การใช้พลังงานจากแหล่งต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และขนส่งมีส่วนทำให้เกิดมลพิษทั่วโลกมากกว่า 70% การปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนฯ ได้ 

ด้านที่สาม สังคมสีเขียว เป็นตัวชี้วัดที่ครอบคลุมหลายด้าน อาทิ พื้นที่ป่าไม้สุทธิ การรีไซเคิล การพัฒนาอาคารสีเขียว การบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 

ด้านที่สี่ นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยวัดจากจำนวนสิทธิบัตรสีเขียว การลงทุนในพลังงานสะอาด และการลงทุนด้านเทคโนโลยีอาหาร 

ด้านสุดท้าย นโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ ดูจากความมุ่งมั่นของนโยบายด้านสภาพอากาศ อาทิ การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ การเกษตรแบบยั่งยืน และการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

การจัดอันดับครั้งล่าสุดในปีนี้ ยุโรปยังคงเป็นผู้นำในด้านความพร้อมสู่อนาคตสีเขียว เห็นได้จากใน 20 อันดับแรกประกอบด้วยประเทศในยุโรปถึง 16 ประเทศ ไอซ์แลนด์อยู่ในอันดับหนึ่งในการจัดอันดับดัชนีอนาคตสีเขียว โดยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สุทธิให้เป็นศูนย์ให้ภายในปี 2583 และเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้มากกว่าที่ใช้ไป อันดับสองคือ เดนมาร์ก ซึ่งรัฐบาลมีมติหยุดการออกใบอนุญาตสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหม่ เพื่อเลิกกิจการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2593 สำหรับประเทศนอกยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ติดอยู่ใน 20 อันดับแรกจากการมีทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีสิทธิบัตรสีเขียวจำนวนมาก และมีความก้าวหน้าในการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด ในอันดับกลาง ๆ หลายประเทศมีความคืบหน้าด้านนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น จีน ที่กว่า 50% ของการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2564 มาจากจีน สำหรับภูมิภาคอาเซียน สิงค์โปร์อยู่อันดับสูงสุดที่อันดับ 29 และอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในอนาคต สำหรับไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม (อันดับ48 53 และ 56) อยู่ในกลุ่มที่การพัฒนาเป็นไปอย่างล้าช้า ขณะที่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (อันดับ 65 และ 70) อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีนโยบายสภาพภูมิอากาศที่ล้าหลังหรือไม่มีนโยบายสภาพอากาศ เพราะมีแผนฟื้นฟูจากโควิด-19 ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมแบบเดิม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แม้หลายประเทศจะเตรียมความพร้อมเข้าสู่อนาคตสีเขียว แต่ยังมีความท้าทายอยู่มาก โดยรายงานฉบับนี้เตือนว่า ความไม่แน่นอนจากโควิด-19 ที่ยังมีต่อเนื่อง ยังคงทำให้หลายประเทศหันกลับไปสู่พฤติกรรมการใช้คาร์บอนฯ แบบเดิมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนคาดว่าจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความพยายามเพื่อความยั่งยืนของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเช่นกันค่ะ


ผู้เขียน : 
ธนันธร มหาพรประจักษ์

คอลัมน์ “บางขุนพรหมชวนคิด” นสพ.ไทยรัฐ
ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2565


บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


>> Download PDF
Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.