You may be trying to access this site from a secured browser on the server. Please enable scripts and reload this page.
EN
EN
เกี่ยวกับ ธปท.
บทบาทหน้าที่และประวัติ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
กฎหมาย/กฎเกณฑ์
ผังโครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการ
รายงานทางการเงิน
รายงานประจำปี ธปท.
ธนบัตร
มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
สมัครงานและทุน
พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
ศคง. 1213
งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
คณะกรรมการ กนง.
เป้าหมายของนโยบายการเงิน
กำหนดการประชุม
ผลการประชุม กนง.
เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
ภาวะเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจภูมิภาค
งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
คณะกรรมการ กนส.
โครงสร้างระบบ สง. ไทย
บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
การกำหนดนโยบาย สง.
การกำกับตรวจสอบ สง.
ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล
มุมสถาบันการเงิน
การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
การดำเนินนโยบายการเงิน
การบริหารเงินสำรอง
การพัฒนาตลาดการเงิน
ตลาดเงินตราต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
การลงทุนโดยตรง ตปท.
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
คณะกรรมการ กรช.
นโยบายการชำระเงิน
การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
บริการระบบการชำระเงิน
แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
เทคโนโลยีทางการเงิน
การชำระเงินกับต่างประเทศ
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
งานสัมมนา
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถิติ
สถิติตลาดการเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงิน
สถิติสถาบันการเงิน
สถิติระบบการชำระเงิน
สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
คู่มือประชาชนด้านสถิติ
บริการข้อมูล BOT API
Toggle navigation
หน้าหลัก
>
วิจัยและสัมมนา
>
บทความ
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
วิจัยและสัมมนา
งานวิจัย
Discussion and Policy Paper
FAQ
บทความสั้น
งานสัมมนา
ASEAN_CB_IA
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อควรรู้และประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้”
ตามที่ภาครัฐได้ร่วมกันจัดทำมาตรการทางการเงินเพื่อฟื้นฟูภาคธุรกิจ 2 โครงการ ได้แก่ (1) “สินเชื่อฟื้นฟู” และ (2) “พักทรัพย์ พักหนี้” ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและได้จัดงานแถลงข่าวไปเมื่อ 23 มี.ค. 64
ที่ผ่านมา หลายท่านอาจยังสับสนว่า โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ซึ่งเป็นมาตการใหม่นั้น คืออะไร มีกลไกอย่างไร และใครมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้บ้าง วันนี้ผู้เขียนจึงขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้
โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ขาดหาย ไม่พอชำระหนี้และค่าใช้จ่ายหมุนเวียนต่าง ๆ แต่ยังมีศักยภาพและมีความตั้งใจในการรักษาธุรกิจ ให้มีภาระหนี้ลดลงและสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ผ่านกลไกการรับโอนสินทรัพย์หลักประกันเพื่อชำระหนี้ของสถาบันการเงิน พร้อมให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจในการซื้อทรัพย์คืนที่ราคาตีโอนบวกต้นทุนการดูแลทรัพย์ที่ต่ำมากและให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น คุณลักษณะขั้นต่ำของผู้ประกอบธุรกิจที่จะเข้าร่วมโครงการคือ ต้องมีวงเงินสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจที่มีหลักประกันในการขอสินเชื่ออยู่กับสถาบันการเงิน
กลไกการโอนหลักประกัน อาจทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเกิดความกังวลใจว่าถ้าเข้าร่วมโครงการจะต้องสูญเสียกิจการไปให้กับสถาบันการเงินหรือไม่ ผู้เขียนขอย้ำว่าเป้าหมายสำคัญของมาตรการนี้ คือ การบรรเทาภาระทางการเงินให้ผู้ประกอบธุรกิจเบาตัวในช่วงที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง ดังนั้น จึงได้กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกลับมาประกอบธุรกิจ เช่น การให้สิทธิในการซื้อทรัพย์คืนและเช่าทรัพย์
ได้เป็นลำดับแรก
โดยกำหนดราคาซื้อคืนให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับราคาที่ผู้ประกอบธุรกิจและสถาบันการเงินตกลง
ตีโอนกัน กล่าวคือ ขายเท่าไหร่ก็ซื้อคืนราคาใกล้ ๆ นั้น รวมถึง การคิดค่าเช่าก็ต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ซึ่งค่าเช่าที่จ่ายนี้จะถูกนำไปหักออกจากราคาซื้อคืนไม่ให้มีค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน
อย่างไรก็ดี “พักทรัพย์ พักหนี้” เป็นโครงการภาคสมัครใจ การเข้าร่วมต้องเกิดจากการเจรจาตกลงร่วมกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจเองและสถาบันการเงิน ไม่สามารถบังคับกันได้ ซึ่งในสภาวะปกติผู้ประกอบธุรกิจที่มีความตั้งใจที่จะรักษาธุรกิจไว้ก็คงไม่เลือกวิธีโอนสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ในการแก้ปัญหา ในขณะที่สถาบันการเงินเองก็คงอยากมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องมากกว่าที่จะต้องถือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ และต้องแบกรับภาระต้นทุนในการถือครองและค่าใช้จ่ายในดูแลรักษาและบริหารจัดการธุรกิจที่ไม่มีความถนัดเอาไว้ แต่เนื่องจากขณะนี้ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ
ทุกภาคส่วนจึงจำเป็นต้องเข้ามาช่วยกันเต็มที่เพื่อให้ธุรกิจที่มีศักยภาพสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้และสามารถกลับมาจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับประเทศอีกครั้ง ภาครัฐจึงสนับสนุนสภาพคล่องดอกเบี้ย 0.01% วงเงิน 100,000 ล้านบาท ให้สถาบันการเงินกู้ยืมเพื่อไปหารายได้ชดเชยในช่วงเวลาถือครองทรัพย์
รวมถึงผ่อนปรนเกณฑ์กำกับดูแล
ที่เกี่ยวข้อง
โดยโครงการนี้ไม่ได้มีการจำกัดประเภทธุรกิจ ขนาดธุรกิจ และประเภทของหลักประกันที่สามารถโอนชำระหนี้ได้แต่อย่างใด แต่สถาบันการเงินอาจกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาหลักประกันเพิ่มเติม เช่น ต้องมีคุณภาพดี ไม่เสื่อมค่าเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่สถาบันการเงินจะต้องถือสินทรัพย์ไว้เป็นระยะเวลานานหลายปี และต้องแบกรับภาระต้นทุนต่าง ๆ กับความไม่แน่นอนที่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะซื้อสินทรัพย์กลับคืนหรือไม่ และมูลค่าสินทรัพย์ในอนาคตจะเป็นเท่าไหร่
สำหรับประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ คือ ได้ลดภาระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 – 5 ปี
รู้ราคาซื้อคืนที่แน่นอน สามารถเช่าไปทำธุรกิจต่อได้ ไม่ถูกยึดหรือกดราคาขายให้กับกลุ่มทุน ได้ปิดภาระหนี้กับสถาบันการเงินทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องประวัติใน NCB หากหนี้กลายเป็นหนี้เสียในอนาคต อีกทั้ง ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีค่าธรรมเนียมจากการตีโอนอีกด้วย
ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดขัดทางการเงินแต่ไม่เข้าข่ายที่จะเข้าตามมาตรการนี้ อาจพิจารณาทางเลือกอื่นร่วมกับสถาบันการเงินในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ตามกลไกปกติได้ เช่น ยืดเวลาชำระหนี้ ลดอัตราการผ่อนชำระ พักชำระหนี้เงินต้น แปลงหนี้เป็นทุน รวมถึงตีโอนทรัพย์เพื่อชำระหนี้ทั่วไป นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม SMEs ที่สามารถประคับประคองกิจการและเริ่มปรับตัวมองไปข้างหน้า หากต้องการสินเชื่อหมุนเวียนหรือปรับรูปแบบธุรกิจก็สามารถขอรับความช่วยเหลือในส่วนของมาตรการ “สินเชื่อฟื้นฟู” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการทางการเงินใหม่เพื่อฟื้นฟู
ภาคธุรกิจในครั้งนี้ได้
ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจเลือกหนทางในการแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบธุรกิจควรเปรียบเทียบเงื่อนไข และข้อดีข้อเสียอย่างรอบคอบ รวมถึง อ่านเงื่อนไขในสัญญาอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ ลดความเสี่ยง และปิดความไม่แน่นอนในอนาคต เช่น สำหรับโคงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” แม้ ธปท. จะกำหนดให้มีเงื่อนไขมาตรฐานแต่ก็ยังมีเงื่อนไขอื่นที่ควรตรวจสอบและเจรจาต่อรองให้ตรงกับความต้องการและมีความชัดเจนโดยเฉพาะเงื่อนไขการให้สินเชื่อระหว่างอยู่ในโครงการและตอนซื้อคืนทรัพย์ที่หลาย ๆ ท่านอาจกังวลอยู่
สำหรับท่านที่สนใจ สามารถสอบถามไปที่สถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการเพื่อขอความช่วยเหลือ ผ่าน call-center
ของ ธปท. ได้ที่เบอร์ 02-283-6112 และเบอร์ 1213 หรือผ่านอีเมล์ FinRehab@bot.or.th
ผู้เขียน :
นางสาวต้องกมล กสิศิลป์
ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
>>
Download PDF
Share
Tweet
Email
Share
Tweet