• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
    • กำหนดการประชุม
    • ผลการประชุม กนง.
    • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
    • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
    • โครงการ API Standard
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
    • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
    • การชำระเงินกับต่างประเทศ
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​PromptPay – PayNow: บริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบทันทีคู่แรกของโลก

​ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ข่าวการเปิดตัวบริการนวัตกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศในมิติใหม่ที่สามารถทำได้ง่ายผ่าน mobile banking และได้รับเงินแบบทันทีคู่แรกของโลกระหว่างระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประเทศไทย และระบบเพย์นาว (PayNow) ของประเทศสิงคโปร์ อาจทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าทำไมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญในการผลักดันการพัฒนาบริการดังกล่าว แน่นอนว่านวัตกรรมย่อมเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้ชีวิตเราดีขึ้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงปัญหาบริการโอนเงินแบบเดิม รวมทั้งที่มาที่ไปของการเชื่อมโยงระบบพร้อมเพย์และเพย์นาว ประโยชน์ที่ได้รับ ตลอดจนเป้าหมายบริการโอนเงินระหว่างประเทศในระยะต่อไปให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

promptpay-paynow.jpg

อะไรคือปัญหาของบริการโอนเงินแบบเดิม?

ในปัจจุบัน บริการโอนเงินระหว่างประเทศ มีอยู่อย่างแพร่หลายในหลากหลายช่องทาง แต่ยังมีข้อจำกัดต่อผู้ใช้บริการในหลาย ๆ ด้าน เช่น ค่าธรรมเนียมสูง ความยุ่งยากในการกรอกข้อมูล และไม่ได้รับเงินในทันที (อาจจะได้รับเงินภายใน 1 ชม. หรืออาจนานถึง 3 วันทำการ) ทำให้ผู้ใช้บริการบางส่วนหันมาพึ่งพาบริการนอกระบบ หรือ “โพยก๊วน” ในการส่งเงินจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง โดยการสั่งทางโทรศัพท์ ซึ่งต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้ใช้บริการเจ้าของเงิน และร้านค้าที่รับเป็นตัวกลาง แม้มีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงในการทุจริตยักยอกเงิน และไม่ได้เป็นบริการที่ถูกกฎหมาย ทำให้มีโอกาสเกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการได้มาก

ทำไมต้องเชื่อมโยงการชำระเงิน/โอนเงินระหว่างประเทศผ่านพร้อมเพย์?

ระบบพร้อมเพย์เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินรายย่อยของประเทศไทย เริ่มให้บริการในปี 2559 ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปสู่สังคมการชำระเงินที่ทันสมัย ลดการใช้เงินสด ยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน พร้อมเพย์ยังเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้การใช้ธุรกรรมออนไลน์ของภาคธุรกิจและประชาชนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มียอดลงทะเบียนใช้พร้อมเพย์สูงถึง 56.7 ล้านเลขหมายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ความสำเร็จอย่างสูงของพร้อมเพย์ในประเทศไทย นำไปสู่การยกระดับการเชื่อมโยงการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ผ่านมาได้พัฒนาบริการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดกับประเทศญี่ปุ่นในปี 2561 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี 2562 ราชอาณาจักรกัมพูชาในปี 2563 และล่าสุดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อเดือนมีนาคม 2564

นอกจากการเชื่อมโยงการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดแล้ว ภาคการธนาคารได้นำประสบการณ์ดังกล่าวมาต่อยอดกับบริการโอนเงิน ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่า ทั้งด้านการพัฒนาระบบ กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ธปท. เองเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมการเชื่อมโยงการโอนเงินระหว่างประเทศแบบทันทีโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มี คือ ระบบพร้อมเพย์ จึงได้ร่วมมือกับธนาคารกลางสิงคโปร์ ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระบบพร้อมเพย์ของประเทศไทย และระบบเพย์นาวของประเทศสิงคโปร์ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการโอนเงินระหว่างประเทศแบบทันทีคู่แรกของโลก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการชำระเงิน สมาคมธนาคาร และธนาคารพาณิชย์ที่สนใจให้บริการในสองประเทศ และถือเป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) ที่ริเริ่มในปี 2562 ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน

ทำไม “พร้อมเพย์-เพย์นาว” จึงเป็นบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ และแตกต่างจากบริการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วไป

“ความรวดเร็วทันใจ” ด้วยระบบพร้อมเพย์ และระบบเพย์นาว เป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินรายย่อยของทั้งสองประเทศที่มีการทำงานแบบ ผู้รับเงินได้รับเงินจากต้นทางในทันที 

“สะดวกและง่ายในการใช้งาน” ด้วยบริการที่มีลักษณะเหมือนกับการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ หรือระบบเพย์นาว ภายในประเทศที่ผู้ใช้บริการมีประสบการณ์และคุ้นชิน เพียงเข้าไปที่ mobile application ของธนาคารที่ให้บริการ -> เลือกฟังก์ชันโอนเงินต่างประเทศ/ เลือก PromptPay International -> กรอกแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้แล้ว และจำนวนเงิน โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลอื่นจำนวนมากเหมือนบริการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วไป เช่น ชื่อ-นามสกุล และรายละเอียดของบัญชีผู้รับโอน เป็นต้น ซึ่งลดความเสี่ยงในการกรอกข้อมูลผิดได้

article_210609.png

ขั้นตอนการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์-เพย์นาว

“ความปลอดภัย”  ระบบพร้อมเพย์ และระบบเพย์นาว พัฒนาบนมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในระดับสากล จึงทำให้ผู้ใช้บริการเชื่อมั่นได้ว่าการใช้งานมีความปลอดภัย และได้รับเงินแน่นอน นอกจากนี้ ระบบยังสามารถให้ตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของผู้รับโอนก่อนกดยืนยันโอนเงิน เป็นการเพิ่มความมั่นใจว่าโอนเงินไปถึงผู้รับเงินถูกต้องอีกด้วย 

“ค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง” ค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่าน “พร้อมเพย์-เพย์นาว” จากประเทศไทยไปสิงคโปร์ ปัจจุบันอยู่ที่ 150 บาทต่อรายการ และช่วงโปรโมชั่น (วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2564) คิดราคาเพียงครึ่งเดียวที่ 75 บาทต่อรายการ ถือว่าเป็นระดับราคาที่จูงใจเมื่อเทียบกับบริการโอนเงินอื่นที่มีในปัจจุบัน และผู้ใช้บริการจะเห็นค่าธรรมเนียมและอัตราแลกเปลี่ยนก่อนยืนยันการโอนเงินด้วย

ในระยะแรก เพื่อการควบคุมความเสี่ยงให้กับผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการจะสามารถโอนเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ผ่าน “พร้อมเพย์-เพย์นาว” ได้ไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 25,000 บาท ต่อวัน ธนาคารที่ให้บริการในระยะแรก ฝั่งไทย ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์ และฝั่งสิงคโปร์ ได้แก่ ธนาคาร DBS OCBC และ UOB  อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป จะมีการพิจารณาเรื่องการขยายวงเงินการโอนต่อวันและค่าธรรมเนียม รวมทั้งเปิดรับธนาคารอื่น ๆ ที่สนใจเข้าร่วมให้บริการ เพื่อสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เชื่อว่าจะมีมากขึ้น

ธปท. และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะยังคงมุ่งพัฒนาการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียนต่อไป ทั้งการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด และบริการโอนเงินระหว่างประเทศเช่นเดียวกับ “พร้อมเพย์-เพย์นาว” เพื่ออำนวยความสะดวกและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ใช้บริการโอนเงินระหว่างประเทศทั้งประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนต่อไป


ผู้เขียน : 
อรรถเวช อาภาศรีกุล 
ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน



บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • Bi-Monthly Payment Insight 8/2564 : "Cross-border Payment การชำระเงินข้ามพรมแดน"

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ธปท. กับบทบาทการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • เป้าหมายของนโยบายการเงิน
  • กำหนดการประชุม
  • ผลการประชุม กนง.
  • เอกสารเผยแพร่ของ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • โครงการพัฒนา Digital Factoring Ecosystem
  • โครงการ API Standard
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • โครงการลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย (BIR)
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • การชำระเงินกับต่างประเทศ
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย
ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.