• EN
    • EN
  • เกี่ยวกับ ธปท.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • ผังโครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการ
    • รายงานทางการเงิน
    • รายงานประจำปี ธปท.
    • ธนบัตร
    • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
    • สมัครงานและทุน
    • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
    • ศคง. 1213
    • งานและกิจกรรม
  • นโยบายการเงิน
    • คณะกรรมการ กนง.
    • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
    • ภาวะเศรษฐกิจไทย
    • เศรษฐกิจภูมิภาค
    • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
    • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
    • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
  • สถาบันการเงิน
    • คณะกรรมการ กนส.
    • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
    • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
    • การกำหนดนโยบาย สง.
    • การกำกับตรวจสอบ สง.
    • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
    • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
    • มุมสถาบันการเงิน
    • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
  • ตลาดการเงิน
    • การดำเนินนโยบายการเงิน
    • การบริหารเงินสำรอง
    • การพัฒนาตลาดการเงิน
    • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
    • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
    • การลงทุนโดยตรง ตปท.
    • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
  • ระบบการชำระเงิน
    • คณะกรรมการ กรช.
    • นโยบายการชำระเงิน
    • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
    • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
    • บริการระบบการชำระเงิน
    • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
    • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
    • เทคโนโลยีทางการเงิน
  • วิจัยและสัมมนา
    • งานวิจัย
    • งานสัมมนา
    • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
  • สถิติ
    • สถิติตลาดการเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
    • สถิติสถาบันการเงิน
    • สถิติระบบการชำระเงิน
    • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
    • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
    • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
    • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
    • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
    • บริการข้อมูล BOT API

  • หน้าหลัก
  • > วิจัยและสัมมนา
  • > บทความ
วิจัยและสัมมนา
วิจัยและสัมมนา
  • งานวิจัย
    • Discussion and Policy Paper
    • FAQ
    • บทความสั้น
  • งานสัมมนา
    • ASEAN_CB_IA
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย ​อึ๊งภากรณ์
​เศรษฐกิจไทยท่ามกลางความไม่แน่นอน: ปรับกระบวนทัพ รับความท้าทาย
symposium_200917cover.jpg​

สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ส่งผลรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนและสร้างความท้าทายให้กับผู้วางนโยบายทั้งในด้านการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว โจทย์สำคัญประการหนึ่งคือเราจะบริหารจัดการเศรษฐกิจอย่างไรท่ามกลางความไม่แน่นอนที่สูง เพราะไม่มีใครทราบว่าวิกฤติโควิดจะจบลงเมื่อไร การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะใช้เวลายาวนานแค่ไหน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤติโควิดจะเปลี่ยนไปอย่างไร

งานวิจัยนี้เจาะลึกถึงแหล่งที่มาของความไม่แน่นอน วิเคราะห์ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยทั้งในระดับมหภาคและระดับธุรกิจว่ามีมากน้อยเพียงใด และนำเสนอประเด็นที่ผู้ดำเนินนโยบายควรให้ความสำคัญในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจคงอยู่ในระดับสูงต่อไป โดยเราได้รวมรวมและสร้างดัชนีบ่งชี้ระดับความไม่แน่นอนใน 4 ด้านหลัก คือ

1. ความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายเศรษฐกิจโลก ซึ่งสะท้อนถึงความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีโลก
2. ความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาคไทย ซึ่งสะท้อนความไม่แน่นอนด้านนโยบายการเงินและการคลังของไทย
3. ความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองไทย ซึ่งวัดจากการประท้วงทางการเมือง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก การปฏิวัติ การยุบสภา การเลือกตั้ง และการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
4. ความไม่แน่นอนทางด้านภาวะเศรษฐกิจไทย โดยพิจารณาทั้งด้านเศรษฐกิจมหภาคและด้านตลาดการเงิน

รูปที่ 1-4 ด้านล่าง แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นจากทุกด้านทั้งภายนอกและภายใน โดยพบว่า
symposium_200917-1.jpg
รูปที่ 1

  • ความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มพุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และวิกฤติโควิดในปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีความไม่แน่นอนทางนโยบายเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้นมากที่สุด
symposium_200917-2.jpg
รูปที่ 2

  • ความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจการเงินและการคลังของไทยมีการประทุขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น การเปลี่ยนแปลงขั้วการเมืองที่เข้ามาบริหารเศรษฐกิจ ความขัดแย้งในการออกมาตรการดูแลเงินบาท และความไม่แน่นอนของมาตรการภาครัฐในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด

symposium_200917-03.jpg

รูปที่ 3

  • ความไม่แน่นอนด้านภาวะเศรษฐกิจ พบว่ามีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงสามช่วงคือ ช่วงวิกฤติการณ์การเงินโลกในปี 2008 ช่วงน้ำท่วมใหญ่ในปี 2011 และช่วงวิกฤติโควิดในปัจจุบัน 
symposium_200917-4.jpg
รูปที่ 4

  • ความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยมีการประทุขึ้นอย่างรุนแรงหลายครั้งในช่วงปี 2006-2014  และกำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในปี 2020

นอกจากนี้ เรายังได้สร้างดัชนีรายหัวข้อสำหรับความไม่แน่นอนในแต่ละด้าน ดังแสดงในรูปที่ 5 เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และการแพร่ระบาดของโควิด ส่งผลให้ดัชนีความไม่แน่นอนของทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2 ปีล่าสุด

symposium_200917-5.jpg

รูปที่ 5

เมื่อประเมินผลกระทบของความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจไทย เราพบว่า การสูงขึ้นของความไม่แน่นอนมีผลทางลบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยการลงทุนภาคเอกชนและภาคการส่งออกได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด 

ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยได้เผชิญกับการขาดเสถียรภาพทางการเมืองอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีถึง 6 คนและการปฏิวัติรัฐประหารถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาเพียง 8 ปี ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงปี 2006-2014 ส่งผลให้การผลิตในประเทศหายไปกว่า 3.35 ล้านล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 เลยทีเดียว

งานศึกษายังพบว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับความไม่แน่นอนที่สูง การดำเนินนโยบายการเงินของภาครัฐมีประสิทธิผลลดลงอย่างชัดเจน ดังนั้น ภาคเอกชนจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลบริษัทกว่า 350,000 แห่งเพื่อศึกษาว่าแต่ละภาคธุรกิจมีความสามารถในการรับมือกับความไม่แน่นอนที่แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเราพบว่าบางภาคการผลิตได้มีการปรับตัวเมื่อเผชิญความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย เราจะเจาะลึกว่าธุรกิจใดยังมีความเปราะบางสูง ธุรกิจไหนมีความสามารถในการรับมือกับความไม่แน่นอนได้ดี และเศรษฐกิจไทยควรปรับโครงสร้างไปในทิศทางใดเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในหลากหลายมิติในอนาคต

ผู้เขียน

ผศ. ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ. ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์, ดร.พิม มโนพิโมกษ์, ดร.อาชว์ ปวีณวัฒน์, นายชัยธัช จิโรภาส - สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
นายทศพล อภัยทาน - ธนาคารแห่งประเทศไทย


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่จะนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทยในหัวข้อ “ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง” ซึ่งจะจัดในวันที่ 28 กันยายน 2563 ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และธนาคารแห่งประเทศไทย


>> 
Download PDF

Share
Tweet
Share
Tweet
เกี่ยวกับ ธปท.
  • บทบาทหน้าที่และประวัติ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • กฎหมาย/กฎเกณฑ์
  • ผังโครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • รายงานทางการเงิน
  • รายงานประจำปี ธปท.
  • ธนบัตร
  • มูลนิธิ 50 ปี ธปท.
  • สมัครงานและทุน
  • พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
  • ศคง. 1213
  • งานและกิจกรรม
นโยบายการเงิน
  • คณะกรรมการ กนง.
  • ความรู้เรื่องนโยบายการเงิน
  • ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐกิจภูมิภาค
  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง
  • งานวิจัยและสัมมนาวิชาการ
สถาบันการเงิน
  • คณะกรรมการ กนส.
  • โครงสร้างระบบ สง. ไทย
  • บทบาทของ ธปท. ด้าน สง.
  • การกำหนดนโยบาย สง.
  • การกำกับตรวจสอบ สง.
  • ความร่วมมือกับผู้กำกับดูแลอื่น
  • ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​
  • มุมสถาบันการเงิน
  • การธนาคารเพื่อความยั่งยืน
ตลาดการเงิน
  • การดำเนินนโยบายการเงิน
  • การบริหารเงินสำรอง
  • การพัฒนาตลาดการเงิน
  • ตลาดเงินตราต่างประเทศ
  • หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน
  • การลงทุนโดยตรง ตปท.
  • อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงและแนวทางรองรับการยุติการใช้ LIBOR
ระบบการชำระเงิน
  • คณะกรรมการ กรช.
  • นโยบายการชำระเงิน
  • การกำกับดูแลระบบการชำระเงิน
  • การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน 2560
  • บริการระบบการชำระเงิน
  • แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติ /มาตรฐานระบบการชำระเงิน
  • ระเบียบ/ประกาศระบบการชำระเงิน
  • เทคโนโลยีทางการเงิน
สถิติ
  • สถิติตลาดการเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงิน
  • สถิติสถาบันการเงิน
  • สถิติระบบการชำระเงิน
  • สถิติเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค
  • เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ
  • แผนภูมิข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
  • การรับส่งข้อมูลกับ ธปท.
  • บทความและเอกสารเผยแพร่ด้านสถิติ
  • คู่มือประชาชนด้านสถิติ
  • บริการข้อมูล BOT API
ตารางเวลาเผยแพร่
เงื่อนไขการให้บริการ

เชื่อมโยง
คำถามถามบ่อย

ติดต่อ ธปท.

©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.   ( เว็บไซต์นี้รับชมได้ดี ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Safari, Firefox หรือ IE 10 ขึ้นไป )
สอบถาม/ข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน
ลงทะเบียนรับข้อมูล/ข่าวสาร


©2015 Bank of Thailand. All rights reserved.