2. คุณสมบัติของผู้ส่งบทความเข้าประกวด
เป็นผู้มีสถานภาพเป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก ในวันที่สมัครเข้าร่วมโครงการ หรือบุคคลที่จบการศึกษาในระดับการศึกษาดังกล่าว แล้วไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่จบการศึกษา จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2566 และศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์หรือวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยสามารถส่งบทความเข้าประกวดเป็นประเภทบุคคลหรือประเภททีม (ทีมละไม่เกิน 2 คน)
3. บทความที่ส่งเข้าประกวด
3.1 ประเภทของบทความและระดับการศึกษาที่สามารถส่งเข้าประกวด
จำนวนบทความที่รับ : ปริญญาตรี 20 บทความ และปริญญาโท - เอก 20 บทความ

3.2 ลักษณะบทความวิเคราะห์/บทความวิจัย เป็นบทความที่มีเนื้อหาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นแบบจำลองทางเศรษฐมิติ เพื่อให้ได้บทความที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มหัวข้อเศรษฐศาสตร์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เศรษฐศาสตร์การเงิน การคลัง และมหภาค
กลุ่มที่ 2 เศรษฐศาสตร์การเมือง สถาบัน และธรรมาภิบาล
กลุ่มที่ 3 เศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
กลุ่มที่ 4 เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
กลุ่มที่ 5 เศรษฐกิจโลก การค้า การลงทุน ระหว่างประเทศ
กลุ่มที่ 6 เศรษฐศาสตร์พัฒนา ชุมชน และท้องถิ่น
กลุ่มที่ 7 เศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 8 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
กลุ่มที่ 9 เศรษฐศาสตร์เชิงสร้างสรรค์และมโนสาเร่
3.3 รูปแบบการพิมพ์บทความ (Format)
1.
ความยาวบทความทั้งหมดไม่เกิน 25 หน้ากระดาษ A4 โดยเริ่มจาก Abstract, Introduction, Literature Review บทสรุป และอ้างอิง และไม่จำเป็นต้องมีสารบัญและกิตติกรรมประกาศตามรูปแบบของวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ ไม่ต้องระบุชื่อและมหาวิทยาลัยของผู้เขียนบทความ
2. การพิมพ์บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้อักษร TH Sarabun New ขนาด 16 points ยกเว้นการพิมพ์ในตารางหรือภาพประกอบสามารถใช้ตัวพิมพ์ที่เล็กลงหรือย่อส่วนเพื่อให้ตารางหรือภาพประกอบนั้น ๆ อยู่ในกรอบของการวางรูปกระดาษที่กำหนด
3. การจัดหน้ากระดาษ ขอบบน = 2.5 ซม. ขอบล่าง = 2.5 ซม. ขอบซ้าย = 2.5 ซม. ขอบขวา = 2.5 ซม.
4. กำหนดให้ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น single space และไม่ลดระยะห่างระหว่างบรรทัด
** คณะกรรมการอาจพิจารณาปรับลดคะแนนตามความเหมาะสม หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ **
3.4 ข้อบังคับผลงานและข้อสงวนสิทธิ์
1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นเจ้าของผลงานที่แท้จริง
2. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องมิใช่การทำซ้ำ ดัดแปลง คัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด หรือกระทำการอันใดซึ่งเป็นการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และไม่มีบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่นใดเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในผลงานนั้น
** กรณีบทความวิเคราะห์/บทความวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัย สามารถส่งประกวดได้ แต่ต้องไม่ติดลิขสิทธิ์ **
3. การตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาบทความถือเป็นที่สุด
4. หากผลงานที่ส่งเข้าประกวดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุข้างต้น โครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสิทธิผลงานที่ส่งเข้าประกวด และหรือเพิกถอนรางวัลที่ได้รับไป แล้วแต่กรณี
5. ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เจ้าของผลงานสามารถนำผลงานของตนเองไปใช้ในงานที่ไม่ใช่ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ขอให้อ้างอิงว่า เป็นบทความที่ชนะเลิศจากโครงการเศรษฐทัศน์