มาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน
(Mutual Fund Liquidity Facility: MFLF)
มาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน (MFLF) เป็นกลไกพิเศษเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือกองทุนรวมตราสารหนี้จะสามารถขอสภาพคล่องจากแบงก์ชาติได้ โดยมาตรการนี้จะดำเนินการจนกว่าสถานการณ์ในตลาดการเงินจะเข้าสู่ภาวะปกติ
- กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund: MMF)
- กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไปที่เปิดให้ผู้ลงทุนซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ (Daily Fixed Income: Daily FI)
แนวทางที่สถาบันการเงินสามารถให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนรวมตราสารหนี้
- ซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม MMF หรือ Daily FI
- ปล่อยสภาพคล่องให้กับกองทุนรวม MMF หรือ Daily FI ผ่านธุรกรรมขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือ repo
- ซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนหรือตั๋วเงิน (สกุลเงินบาท) จากกองทุนรวมตราสารหนี้ MMF หรือ Daily FI
- ปล่อยสภาพคล่องให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ปิดกอง
แนวทางที่สถาบันการเงินสามารถขอรับสภาพคล่องจากแบงก์ชาติ
สถาบันการเงินที่ช่วยเหลือกองทุนรวมตราสารหนี้ตามแนวทางข้างต้น สามารถขอรับสภาพคล่องจากแบงก์ชาติ ผ่านธุรกรรม repo ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน เท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (policy rate) โดยใช้หลักประกันดังนี้
- หน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตราสารหนี้ MMF หรือ Daily FI
- สินทรัพย์ List 1–2 ตาม พ.ร.บ. ธปท. มาตรา 41 เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือ ตราสารหนี้ภาคเอกชนสกุลเงินบาท อันดับเครดิตไม่ต่ำกว่า A
- ตราสารหนี้ภาคเอกชนสกุลเงินบาท อันดับเครดิตค่ำกว่า A แต่ไม่ต่ำกว่า BBB–
ผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
- ธปท. ปรับอัตราดอกเบี้ยมาตรการ MFLF เป็นเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- ธปท. ขยายเกณฑ์มาตรการ MFLF ให้ครอบคลุมกองทุนตราสารหนี้ MMF และ Daily FI ทุกกองทุน และเพิ่มประเภทสินทรัพย์หลักประกันเพื่อขอสภาพคล่องผ่านธุรกรรม Repo กับ ธปท.
- สรุปสาระสำคัญมาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน
- ธุรกรรมการสนับสนุนสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่ให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนรวมตราสารหนี้