You may be trying to access this site from a secured browser on the server. Please enable scripts and reload this page.
Turn on more accessible mode
Turn off more accessible mode
Skip Ribbon Commands
Skip to main content
Turn off Animations
Turn on Animations
ข้อมูลควรรู้สำหรับประชาชน
Currently selected
การดูแลสุขภาพจิตของลูกหนี้ | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
วิธีเปิดบัญชีออนไลน์ | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
วิธีผูกบัญชีกับพร้อมเพย์ | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
ใช้เงินอย่างไรให้ห่างไกลจากโควิด | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
จ่ายง่ายด้วยมือถือ ลดเสี่ยงโควิด | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
Q&A เรื่องพร้อมเพย์ | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
Q&A เรื่องพร้อมเพย์
การดูแลสุขภาพจิตของลูกหนี้
จ่ายง่ายด้วยมือถือ ลดเสี่ยงโควิด
ใช้เงินอย่างไรให้ห่างไกลจากโควิด
วิธีเปิดบัญชีออนไลน์
วิธีผูกบัญชีกับพร้อมเพย์
5 วิธีดูแลจิตใจตนเองในช่วงเวลาที่เป็นหนี้ | ธปท. กับมาตรการช่วยเหลือในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19
It looks like your browser does not have JavaScript enabled. Please turn on JavaScript and try again.
Recent
ข้อมูลควรรู้
ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้
ข้อมูลควรรู้สำหรับประชาชน
Currently selected
ข้อมูลควรรู้สำหรับลูกหนี้ SMEs
ข้อมูลควรรู้สำหรับลูกหนี้รายย่อย
ช่องทางการติดต่อ
บทความที่น่าสนใจ
มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย
สื่อประชาสัมพันธ์
หมอหนี้
content
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
ค้นหามาตรการช่วยเหลือ
ความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือ
ช่วยเหลือ/ร้องเรียน
ขั้นตอนการแก้หนี้
ทางด่วนแก้หนี้
ติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ข้อมูลควรรู้
สำหรับประชาชน
สำหรับลูกหนี้รายย่อย
สำหรับลูกหนี้ SMEs
เกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้
สื่อประชาสัมพันธ์
ช่องทางการติดต่อ
หน้าแรก
>
ข้อมูลควรรู้
>
ข้อมูลควรรู้สำหรับประชาชน
5 วิธีดูแลจิตใจตนเองในช่วงเวลาที่เป็นหนี้
ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งสุขภาพทางการเงินของบุคคลและปัญหาทางเศรษฐกิจนั้น ถือเป็น 1 ในสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ เช่น ความเครียด วิตกกังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เป็นต้น หากปัญหานั้นไม่ได้รับการแก้ไข ปล่อยให้เรื้อรังเนิ่นนาน อาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกับคนใกล้ชิด ความบาดหมางในครอบครัว หรือ ร้ายแรงที่สุดคืออาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่กำลังมีภาระหนี้สินและผู้ที่กำลังประสบวิกฤตเรื่องเงิน จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่น
ปัญหาหนี้สินทำให้ลูกหนี้จำนวนมากต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานหาเงินเพื่อใช้หนี้และเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว ส่งผลให้มีเวลาหาความสุขในชีวิตลดลงหรือขาดหายไป ขาดการใช้เวลาพักผ่อน ไม่สามารถระบายความเครียดหรือเล่าให้คนใกล้ชิดฟังได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่จะตามมานั้น จะทำให้ลูกหนี้ทำงานได้ยากลำบาก ประสิทธิภาพลดลง การตัดสินใจผิดพลาด จนอาจก่อให้เกิดหนี้สินเพิ่มเติมมาได้
การเป็นลูกหนี้นั้น จึงจำเป็นต้องมีวินัยในแก้ปัญหาหนี้สินของตัวเอง พร้อมๆกับดูแลจิตใจของตนเองไปด้วยเสมอ โดยไม่เอาความสุขของตัวเองไปยึดติดไว้กับเงินทองหรือภาวะเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว วิธีการปลดพันธนาการให้ความสุขของเราเป็นอิสระและทำให้ชีวิตมีความสุขอย่างเต็มที่ตามศักยภาพในขณะที่ยังมีภาระหนี้สินหรือในยามที่ประสบภาวะวิกฤตการเงิน มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติ 5 ข้อ ดังนี้
ดูแลสุขภาพกายใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ
เนื่องจากร่างกายและจิตใจเป็นส่วนที่สัมพันธ์กัน หากร่างกายแข็งแรงจิตใจก็แจ่มใสไปด้วย โดยออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-60 นาที นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
หาความสุขให้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
อาจเป็นความสุขเล็กๆน้อยที่ไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายมาก การมีเงินน้อยไม่ได้หมายถึงมีความสุขน้อยเสมอไป และแม้ว่าเราจะมีเงินมากแค่ไหนก็ไม่ได้แปลว่าเราต้องมีความสุขเสมอไป ความสุขเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถสร้างขึ้นมาได้ แม้จะอยู่ในภาวะที่มีหนี้สินก็ยังควรอนุญาตให้ตัวเองมีความสุขได้บ้าง
ให้จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวัน
โดยจัดเวลาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียดที่มีอยู่ในใจ เช่น เดินออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน อ่านหนังสือดีๆ จัดบ้าน เล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือพูดคุยกับคนที่เรารักและใกล้ชิด แต่ละคนจะมีวิธีผ่อนคลายที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกคนควรจัดสรรเวลาให้ตัวเองได้กำจัดความเครียดอย่างสม่ำเสมอ
ปรับมุมมองในการเผชิญหน้ากับปัญหา
เราอาจไม่สามารถเปลี่ยนปัญหาที่เราเผชิญอยู่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อปัญหานั้นได้ หากเรามองปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เป็นความยากลำบากที่จะมอบคุณค่าให้กับชีวิตเมื่อฝ่าฟันไปจนสำเร็จ มีการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น การตั้งเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายในระยะสั้นๆ และการปลดหนี้สินในระยะยาว เพื่อให้รู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จเป็นช่วงๆ จะได้ไม่รู้สึกย่อท้อ
ดูแลสุขภาพจิตและความสุขของสมาชิกในครอบครัว
เพื่อให้ครอบครัวมีทั้งความมั่นคง มีความรัก มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน โดยสมาชิกแต่ละคนนั้นสามารถสลับบทบาทหน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยกันเป็นผู้ฟังที่ดี และใช้พลังความร่วมมือของครอบครัวเป็นกลไกสำคัญในการฝ่าฟันบททดสอบต่างๆของชีวิตไปได้ หากลูกหนี้กำลังประสบกับปัญหาสุขภาพจิต หรือสงสัยว่าตนเองอาจได้รับผลกระทบทางจิตใจจากสิ่งต่างๆรอบตัว ต้องหมั่นตรวจสอบสภาพจิตใจของตนเองบ่อยๆ ปรึกษาคนรอบข้าง หรือมาปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาตามโรงพยาบาลในเครือกรมสุขภาพจิตและโรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังสามารถโทรปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับคำแนะนำและความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
บทความโดย ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต