มาตรการแก้หนี้ระยะยาว
จากสถานการณ์การระบาดที่ยืดเยื้อของโรคโควิด 19 แบงก์ชาติได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อรายได้และการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 แบงก์ชาติได้ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาว เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้โดยมีรายละเอียดดังนี้
สำหรับผู้ที่สนใจมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละธนาคาร >> คลิกที่นี่
1. มาตรการแก้ไขหนี้เดิม
โดยเน้นให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว ซึ่งครอบคลุมสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน ฯลฯ ภายใต้หลักการดังนี้
(1)
มองสถานการณ์ระยะยาว โดยกำหนดการจ่ายคืนหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ปัจจุบันที่ลดลงมากและทยอยจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้กลับมา
(2) สามารถช่วยลูกหนี้จำนวนมากได้เร็ว
(3)
ตรงจุดให้เหมาะกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละรายที่มีปัญหาและการฟื้นตัวต่างกัน โดยแต่ละธนาคารจะพิจารณาความช่วยเหลือตามความเหมาะสม และ
(4)
เป็นธรรมกับทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายผ่านความยากลำบากไปด้วยกัน
2. มาตรการเพื่อรักษาสภาพคล่องเดิมและเติมเงินใหม่แก่ลูกหนี้รายย่อย
แบงก์ชาติได้ผ่อนปรนผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพื่อบรรเทาภาระการจ่ายชำระหนี้ โดยลดอัตราการผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิต ในปี 2565 – ปี 2566 รวมถึงขยายเพดานวงเงินบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) และ สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 รายละเอียด ดังนี้
บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
|
1. คงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตที่
5% สำหรับปี 2565 และกำหนดที่ 8% ในปี 2566 (จากปกติที่ 10%)
2. กลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
ต่ำกว่า 30,000 บาท
-
ขยายเพดานวงเงิน ไม่เกิน 2 เท่าของรายได้
-
ไม่จำกัดจำนวน ผู้ให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
|