พันธบัตรและตราสารหนี้

 

พันธบัตรและตราสารหนี้​

ตราสารหนี้ หมายถึง ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ ซึ่งเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่าง เจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ เจ้าหนี้​​​คือผู้ซื้อตราสารหนี้หรือผู้ลงทุน ส่วนลูกหนี้คือผู้ออกตราสารหนี้ โดยผู้ซื้อตราสารหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยหรือส่วนลดจากราคาตรา ตามอัตราและเวลาที่ตกลงกัน และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้น ตราสารหนี้โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น ชื่อผู้ออกตราสาร ต้นเงินหรือมูลค่าที่ตราไว้ วันครบกำหนดไถ่ถอน อัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ผู้ซื้อจะได้รับ งวดการจ่าย ดอกเบี้ยหรือวันที่จ่ายดอกเบี้ย ประเภทของตราสารหนี้ และข้อสัญญาหรือเงื่อนไขของตราสารหนี้ เป็นต้น
 

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ภาครัฐ

เพื่อให้การดำเนินงานในการบริการเกี่ยวกับพันธบัตรและตราสารนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในหลายภาคส่วน
  • 1.

    หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ภาครัฐ

  • 1.วางแผนร่วมกับผู้ออกตราสารหนี้ เพื่อใช้ในการออกตราสารหนี้ในตลาดแรก และออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน การดูแลสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน รวมถึงขยายฐานนักลงทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้​​​​
  • 2.ดูแลและจัดจำหน่าย ทำหน้าที่กำกับดูแลและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก​​
  • 3.จัดการการจ่ายเงินเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน
  • 4.เป็นผู้แต่งตั้ง Primary Dealer เพื่อเป็นคู่ค้าตราสารหนี้ในการดำเนินนโยบายการเงิน​
  • 5.ร่วมพัฒนาตลาดตราสารหนี้ กับกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาการออกตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรก เพิ่มสภาพคล่องและประสิทธิภาพของตลาดรอง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการส่งมอบและชําระราคาตราสารหนี้ เป็นต้น​

splitCol1

ผู้เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร

 

  • 1

    ผู้เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตร

  • 1.ผู้ออกตราสารหนี้ ผู้ออกตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ ซึ่งเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่าง เจ้าหนี้ กับ ลูกหนี้ ลูกหนี้คือผู้ออกตราสารหนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รัฐวิสาหกิจ ส่วนเจ้าหนี้คือผู้ซื้อตราสารหนี้หรือผู้ลงทุน
  • 2.ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อหรือผู้รับโอนหรือผู้ประมูลตราสารหนี้ เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สถาบันกา​รเงิน
  • 3.ผู้รับฝากหลักทรัพย์ ผู้ทำหน้าที่ในการดูแลและรับฝากพันบัตรหรือหลักทรัพย์ เช่น ธนาคารพาณิชย์ (ในฐานะ Custodian) และบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) รับฝากพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร Scripless
  • 4.ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่าย สถาบันการเงินที่ผู้ออกตราสารหนี้แต่งตั้งให้ดำเนินการจำหน่ายตราสารหนี้ของผู้ออกตามความตกลงร่วมกัน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ
  • 5. บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทย ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและ
  • 6. ผู้รับหลักประกัน หน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐ สถาบันการเงิน และบุคคล เช่น ศาล การไฟฟ้า ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ บุคคลธรรมดา ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์นำตราสารหนี้ไปวางเป็นหลักประกันต่าง ๆ เช่น ประกันตัวผู้ต้องหา ประกันการใช้ไฟฟ้า ประกันการขอสินเชื่อ
  • 7. นายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน ผู้ทำหน้าที่ในการดูแล รักษาข้อมูล การให้บริการธุรกรรมด้านพันธบัตรและตราสารหนี้การจ่ายดอกเบี้ยและต้นเงิน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • 8. ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หน่วยงานราชการที่มีอำนาจตามกฎหมายในการให้นายทะเบียนตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ระงับการจำหน่าย จ่าย โอน (อายัด ยึด) ตราสารหนี้ ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ เช่น กรมสรรพากร ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์​

splitCol2

ความรู้พื้นฐานสำหรับการลงทุในตราสารหนี้

สำหรับผู้สนใจเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับตราสารหนี้ ​​​​และการลงทุนในตราสารหนี้ สามารถเรียนรู้เนื้อหาเบื้องต้น ได้จากหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

บทที่ 4 เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาล

เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้รัฐบาล (Government Bond Yield Curve) คือ เส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้รัฐบาลในแต่ละช่วงอายุคงเหลือ (Time to Maturity : TTM) โดยที่ Yield คืออัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับจากการลงทุน มีหน่วยเป็นร้อยละต่อปี เช่น Yield ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 2.39 ต่อปี หมายถึงในแต่ละปี นักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรดังกล่าวจะได้รับผลตอบแทนโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.39 และ​Time to Maturity คือ อายุคงเหลือของตราสารหนี้โดยนับระยะเวลาตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงวันที่ตราสารหนี้ครบกำหนดไถ่ถอน เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ อายุ 10 ปี ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 อายุคงเหลือของพันธบัตร ณ วันที่ 2 มกราคม 2552 คือ 3 ปี 8 เดือน 3