วารสารพระสยาม
BOT Magazine
.
ในวันที่ประเทศไทยจะเติบโตแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป การกระจายความเจริญให้ทุกภาค หลายมุมเมือง และหลากความชำนาญ จะเป็นทางออกให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ตอนนี้หมดยุคเมืองโตเดี่ยวที่ความเจริญส่วนใหญ่กระจุกอยู่แค่ในเมืองหลวง ทิ้งห่างเมืองรองซึ่งอาจมีโอกาสโตไปเป็นจุดยุทธศาสตร์หลายช่วงตัว นำมาสู่ปัญหาความแออัดและความเหลื่อมล้ำ
วารสารพระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ ขอชวนท่านร่วมเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไปสู่หัวเมืองในแต่ละภาคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้กัน กับการพยายามหาคำตอบให้กับโจทย์การพัฒนาและความเหลื่อมล้ำ เพราะ “ประเทศไทยไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ”
คนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงเมืองที่พวกเขาอาศัย มาร่วมกันค้นหาแนวคิดอนาคตเมืองไปพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ และโอกาสที่พวกเขาจะได้พัฒนาบ้านเกิดเมืองรักของตัวเอง
ด้วยบริบทที่มีเอกลักษณ์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ทั้งในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ ทรัพยากร และวัฒนธรรม การกำหนดนโยบายจึงต้องสอดรับกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล็งเห็นความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการภาคอีสานซึ่งเป็นกำลังหลัก ทั้งในช่วงวิกฤตโควิด 19 และการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามาเป็นความท้าทายที่ต้องได้รับการตอบสนองในอนาคต
คอลัมน์ Executive’s Talk ขอพาผู้อ่านทุกท่านมาพูดคุยกับ ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อํานวยการอาวุโส ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคุณเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าขอนแก่น เกี่ยวกับภาพเศรษฐกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน และทิศทางการพัฒนาภาคอีสานผ่านการทำงานร่วมกันของ ธปท. และภาคเอกชนบนเส้นทางการขับเคลื่อนภาคอีสานให้ก้าวหน้าและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
Financial Wisdom
Fin. ดี Happy Life
เพื่อสุขภาพการเงินดีทั่วไทย
แนะนำโครงการ Fin. ดี Happy Life ที่เปลี่ยนชีวิตคนทำงานจำนวนมาก จากกิจกรรมกระตุ้นพฤติกรรมทางการเงินที่ดี และการสร้างภูมิคุ้มกันให้วัยทำงานได้เป็นวงกว้าง เมื่อเงินดี งานก็ดี สังคมและเศรษฐกิจของประเทศก็ดีไปด้วย
จาก “มนต์แคน แก่นคูน” ถึงการหมดยุคของ “เมืองโตเดี่ยว” ทำไมเศรษฐกิจภูมิภาคถึงเป็นอนาคตของประเทศไทย
“ท้องถิ่นนิยม” หรือ localism ไม่ใช่แนวคิดใหม่ หากแต่ถูกพูดถึงอีกครั้งจากวิกฤตหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องหันกลับมองท้องถิ่น ทบทวนนโยบาย และให้น้ำหนักกับแนวคิดนนี้มากขึ้น
“ท้องถิ่นนิยม (localism)” ไม่ใช่แนวคิดใหม่ หากแต่ถูกพูดถึงอีกครั้งจากวิกฤตหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องหันกลับมามองท้องถิ่น ทบทวนนโยบาย และให้น้ำหนักกับแนวคิดนี้มากขึ้น เราจึงขอพามาทำความรู้จักแนวคิดนี้ที่หวนกลับมามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก