สถาบันการเงินประเภทไม่รับฝากเงิน
เช่น กองทุนรวม บริษัทประกันภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทที่ให้สินเชื่อ บริษัทบริหารสินทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น
เป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลตอบแทนที่ดีที่สุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนรายย่อยที่ต้องการลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุน แต่มีข้อจำกัดในการลงทุน เช่น มีเงินลงทุนจำกัด ขาดความรู้และประสบการณ์ เป็นต้น
การดำเนินการของกองทุนรวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) บริษัทประกันชีวิต ที่รับประกันต่อความสูญเสียหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยบริษัทฯ สัญญาว่าจะจ่ายชดเชยให้ผู้เอาประกันเมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การประกันกรณีทุพพลภาพ การประกัน กรณีสูญเสียอวัยวะ การประกันสุขภาพ เป็นต้น
2) บริษัทประกันวินาศภัย แบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันรถยนต์ การประกันทางทะเลและขนส่ง และการประกันเบ็ดเตล็ด
การดำเนินการของบริษัทประกันภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนส่วนหนึ่ง และนายจ้างส่งเงินสมทบอีกส่วนหนึ่ง กล่าวได้ว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเงินกองทุนนี้จะถูกนำไปบริหารให้เกิดผลตอบแทนและนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนตามสัดส่วนที่แต่ละคนมีอยู่
การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เป็นธุรกิจที่ไม่รับฝากเงินจากประชาชน แต่ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินทุน เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
การดำเนินการของบริษัทที่ให้สินเชื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
เป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน
การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541
เป็นสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล เป็นต้น
การดำเนินการของบริษัทหลักทรัพย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม