การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ คืออะไร?

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) เป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐ โดยการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเชิงพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจสูงสุดในการกำกับดูแล และมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับความมั่นคง

test
ความสำคัญของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่อระบบเศรษฐกิจ

 

การตอบสนองนโยบายรัฐโดยการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามปกติได้เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในหลายประการ ได้แก่

  • สนับสนุนการสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
  • ลดช่องว่างทางการเงิน และเป็นเครื่องมือทางการเงินการคลังของภาครัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  • พัฒนาและให้ความรู้ทางการเงินแก่ลูกค้าและประชาชน 
สถาบันการเงินเฉพาะกิจในปัจจุบัน มีทั้งหมด 7 แห่ง

การตอบสนองนโยบายรัฐโดยการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามปกติได้เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในหลายประการ ได้แก่

  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

test

ธปท. กับบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

   เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มอบหมายให้ ธปท. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล SFIs โดยให้มีหน้าที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกเกณฑ์กำกับดูแล การตรวจสอบความเหมาะสมของผู้บริหาร ติดตามและตรวจสอบ SFIs รวมถึงการสั่งการให้มีการแก้ไขปัญหา ส่วนงานด้านการกำกับนโยบายและการกำกับในฐานะผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการ ยังคงเป็นของกระทรวงการคลังโดยมอบหมายให้ ธปท. และกระทรวงการคลังหารือร่วมกันเพื่อกำหนดกรอบในการกำกับดูแล SFIs

   ต่อมาวันที่ 2 เมษายน 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (รมว.คลัง) มีคำสั่งมอบหมายให้ ธปท. กำกับดูแล SFIs ตามมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้มีอำนาจในการ (1) สั่งให้ SFIs ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็น (2) แต่งตั้งบุคคลเพื่อตรวจสอบและรายงานกิจการหรือทรัพย์สินของ SFIs (3) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ SFIs ต้องปฏิบัติเพิ่มเติม (4) นำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้กับ SFIs ได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก รมว.คลัง (5) รายงานการกำกับดูแลและการตรวจสอบ SFIs ต่อ รมว.คลัง และ (6) เสนอ รมว.คลัง พิจารณาสั่งการแก้ไขในกรณี SFIs ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพันธกิจ

test

เกร็ดความรู้การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

  • คู่มือการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ