วิธีการสังเกตธนบัตร

จุดสังเกตธนบัตรรัฐบาลไทย


ธนบัตรเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงต้องเป็นสิ่งพิมพ์ที่ยากต่อการปลอมแปลง นอกจากนี้ยังเป็นสื่อกลางที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นชาติ และคุณค่าทางศิลปะไทยที่ประณีตงดงาม 

 

ธนบัตรจึงมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง แต่ต้องง่ายต่อการสังเกตและตรวจสอบ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการดังนี้ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง​ และเพื่อความมั่นใจควรตรวจสอบอย่างน้อย 3 จุดขึ้นไป

สัมผัส

1. เนื้อกระดาษ

ภาพสัมผัสธนบัตร

กระดาษธนบัตร

ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนป​ระกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

2. ลายพิมพ์เส้นนูน

ลายพิมพ์เส้นนูน

เกิดจากการพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ ภาพและลายเส้นที่ได้จึงมีรายละเอียดคมชัด ซึ่งใช้ในการพิมพ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ​จะรู้สึกสะดุด 
ภาพสัมผัสธนบัตร

ยกส่อง

3. ลายน้ำ

ภาพลายน้ำแบบ17

ลายน้ำ

เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ
 
ภาพเงา
  • ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีลักษณะคล้ายลายน้ำ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

4. ช่องใส

ช่องใส (ธนบัตรพอลิเมอร์ชนิดราคา 20 บาท)

ช่องใสทรงหยดน้ำ มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน และมีตัวเลข “20” ขนาดเล็กดุนนูน

 

ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และตัวเลขใส “20” ที่อยู่ด้านล่าง มองเห็นทะลุได้ทั้งสองด้าน มีการพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงจะเห็นเป็นสีเหลือบแดง และมีตัวเลข “20” สีทองอยู่ตรงกลางช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 

ช่องใส

5. ภาพซ้อนทับ

ภาพซ้อนทับ

ภาพซ้อนทับ

เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพทั้งสองด้านได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังซ้อนทับกันสนิท หรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์ สามารถสังเกตได้ด้วยการยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พลิกเอียง

6. ตัวเลขแฝง

ตัวเลขแฝง

ตัวเลขแฝง

ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

7. หมึกพิมพ์

หมึกพิมพ์

ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ ภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสลับสี  ส่วนชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นเป็นประกาย
 
รายละเอียดเพิ่มเติม
แบงก์จริงกลิ้งได้

8. แถบสี

ภาพซ้อนทับ

แถบสี

เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง และมีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะ จะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาขนาดเล็ก เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นอ่านได้ชัดเจน​

9. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง

ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง

พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง ลายประดิษฐ์บริเวณกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา หมวดเลขหมายจะเรืองแสง และเส้นใยที่ฝังในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง แดง และน้ำเงิน
ภาพซ้อนทับ