ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

หน้าที่หลักของเรา

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึง การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่ดี ซึ่งตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551  กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน ดังนี้

กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน

หน้าที่ของธนาคารกลางทุกแห่งคือ การกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อสร้างระบบทางการเงินที่มีเสถียรภาพ รักษาระดับราคาของสินค้าและบริการไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนได้

test

รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน

การรักษาความมั่นคงของระบบการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพจึงมีความสำคัญ เพราะหากขาดเสถียรภาพอาจสามารถลุกลามเป็นวิกฤตการเงิน (financial crisis)
ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน

อ่านต่อ

กำกับระบบสถาบันการเงิน

กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และนโยบาย หลักเกณฑ์ รวมถึงกำกับตรวจสอบการดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ ฐานะมั่นคง สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีเสถียรภาพ

fip

มาตรการพิเศษ

ภายใต้สถานการณ์ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ธปท. เข้ามาช่วยดูแลให้ระบบเศรษฐกิจการเงินยังคงดำเนินต่อไปได้ 
เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว
โดยเป็นการดำเนินงานนอกเหนือจากหน้าที่หลักของ ธปท.

อ่านต่อ