แบงก์ชาติกับการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน

แบงก์ชาติให้ความสำคัญกับการจัดการและป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อช่วยปกป้องประชาชนจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพ โดยการออกหลักเกณฑ์และมาตรการ เพื่อให้สถาบันการเงินและประชาชนสามารถรับมือกับรูปแบบภัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง

มีนาคม 2566

วางรากฐานการจัดการภัยทุจริต

วางรากฐานการจัดการภัยทุจริต

แบงก์ชาติประกาศแนวนโยบายการบริหารจัดการภัยทุจริตจากการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อเป็นมาตรฐานขั้นต่ำให้ผู้ให้บริการทางการเงินถือปฏิบัติ โดยครอบคลุมการป้องกัน ตรวจจับ และรับมือ อาทิ

•  ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของโมบายแอปพลิเคชัน

•  ห้ามส่งข้อความพร้อมแนบลิงก์ที่อาจเป็นช่องทางหลอกลวง

•  จำกัดบัญชี mobile banking ไม่เกินหนึ่งบัญชีต่อคนต่อธนาคาร

•  ใช้ระบบยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า 

แบงก์ชาติผลักดันระบบ Central Fraud Registry (CFR) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางเงินและข้อมูลบัญชีม้าระหว่างกันของสถาบันการเงิน พร้อมกำหนดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วนตลอด 24 ชั่วโมงแยกจากช่องทางปกติ

อ่านข่าว

พฤศจิกายน 2566

ปรับกลยุทธ์รับมือการเปลี่ยนแปลง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (AOC 1441) เป็นศูนย์กลางรับแจ้งเหตุแบบครบวงจร ในขณะที่มิจฉาชีพปรับกลยุทธ์เป็นการหลอกให้เหยื่อโอนเงินด้วยตนเอง (authorized push payment fraud) และเปลี่ยนจากการขายบัญชีม้าที่ขายขาด เป็นการให้ค่าตอบแทนแก่ผู้ขายบัญชีม้าเป็นครั้งคราว

 ปรับกลยุทธ์รับมือการเปลี่ยนแปลง

พฤษภาคม 2567

ยกระดับจัดการบัญชีม้าสู่ระดับบุคคล และแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามธนาคาร

ยกระดับจัดการบัญชีม้าสู่ระดับบุคคล และแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามธนาคาร

แบงก์ชาติยกระดับมาตรการจัดการบัญชีม้า มุ่งตัดวงจรการรับ – ส่งเงินของมิจฉาชีพด้วยมาตรการสำคัญ ซึ่งช่วยลดจำนวนเคสผู้เสียหายจากแอปดูดเงินได้อย่างชัดเจน และสามารถระงับบัญชีม้าได้เป็นจำนวนมาก

• แลกเปลี่ยนข้อมูลบุคคลที่มีความเสี่ยงในระบบ CFR ข้ามธนาคาร เพื่อให้ดำเนินการได้ครอบคลุม รวดเร็ว เป็นมาตรฐานเดียวกัน

•ปรับจากการจัดการระดับ "บัญชี" สู่ระดับ "บุคคล" เพื่อจัดการบัญชีต้องสงสัยได้เร็วขึ้น เข้มข้นขึ้นทั้งบัญชีที่มีอยู่เดิมและการเปิดบัญชีใหม่

• เพิ่มบริการล็อกวงเงิน และปรับลดวงเงินที่ต้องสแกนหน้าสำหรับธุรกรรมออนไลน์ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลดความเสี่ยงด้วยตัวเองของประชาชน

อ่านข่าว

มกราคม 2568

ยกระดับมาตรการจัดการบัญชีม้าให้ครอบคลุม (มาตรการ ก. ข. ค.)

แบงก์ชาติออกมาตรการเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงกว้างขึ้น ยกระดับการจัดการที่เข้มข้นขึ้น โดยนอกจากการกันเงินออกจากบัญชี ปฏิเสธการเปิดบัญชีใหม่แล้ว ยังเพิ่มการกันไม่ให้มีเงินเข้าบัญชี เพื่อป้องกันความเสียหายตั้งแต่ต้น และผู้ถูกหลอกไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อรับเงินคืน

ออกประกาศการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับสถาบันการเงิน เพื่อยกระดับ mobile banking ให้เท่าทันความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์และการสวมรอยทำธุรกรรมแทนเหยื่อ (unauthorized payment fraud)

อ่านข่าว
 ยกระดับมาตรการการจัดการบัญชีม้าให้ครอบคลุม

มีนาคม 2568

มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน เข้าโครงการปิดจบหนี้เรื้อรัง

ขยายความร่วมมือสู่ภาคส่วนอื่น

แบงก์ชาติ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงาน ปปง. บช.สอท. บช.ก. AOC) เพื่อผลักดันมาตรการจัดการบัญชีม้านิติบุคคล และให้ความร่วมมือกับสำนักงาน ก.ล.ต. หน่วยงานพันธมิตร สมาคมธนาคารไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ในการกำหนดแนวทางจัดการปัญหาบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล

อ่านข่าว

เมษายน 2568

สนับสนุนหลักการ พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568

แบงก์ชาติสนับสนุนหลักการและได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเสนอความเห็นและปรับปรุงเนื้อหาใน พ.ร.ก. ฉบับนี้ เพื่อยกระดับมาตรการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอยู่ระหว่างจัดทำประกาศเพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงิน

อ่านต่อ
สนับสนุนหลักการ พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568

28 เมษายน 2568

มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน เข้าโครงการปิดจบหนี้เรื้อรัง

แถลงข่าว : ธปท. กำหนดมาตรฐานของภาคธนาคารในการร่วมรับผิดชอบตามพระราชกำหนดฯ

ธปท. จะออกประกาศภายในเดือน พ.ค. 2568 เพื่อกำหนดหน้าที่ของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ e-money ตามหลักการความมีส่วนร่วมรับผิดชอบฯ ภายใต้ พ.ร.ก มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2)

อ่านข่าว

ไตรมาส 2 ปี 2568

มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน เข้าโครงการปิดจบหนี้เรื้อรัง

ยกระดับเกณฑ์และการกำกับตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เท่าทันภัยอยู่เสมอ

แบงก์ชาติเตรียมออกประกาศการบริหารจัดการภัยทุจริตดิจิทัล (digital fraud management) เพื่อให้ผู้ให้บริการใช้เป็นแนวทางที่ครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน ติดตาม ตรวจจับ จัดการ แก้ไข ดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ และการส่งเสริมให้ลูกค้าตระหนักถึงการป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ