การเงินเพื่อความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม

ภาคการเงินกับความยั่งยืน

ภาคการเงินในฐานะที่เป็นตัวกลางในการจัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของประเทศ โดยปัจจุบันหน่วยงานในภาคการเงินได้เริ่มนำแนวคิดการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) มาผนวกในกลยุทธ์การทำธุรกิจ ในทุกกระบวนการอย่างจริงจัง

คณะทำงานด้านความยั่งยืนในภาคการเงินได้ร่วมกันเผยแพร่แนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand) เพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานด้าน sustainable finance ในภาคการเงินไทย

BG-Green

บทบาทของ ธปท.

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย

เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้แนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย (Financial Landscape) ที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการกำกับดูแลความเสี่ยง เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

BOT

แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

Products and Services

การปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินเพื่อให้มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ (Products and Services)

  • เป้าหมายที่อยากเห็น สถาบันการเงินผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจและดำเนินธุรกิจตามปกติอย่างเป็นระบบ
  • ธปท. ออกแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินโดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครอบคลุมกรอบการดำเนินงานสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ (Governance) 2) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) 3) การบริหารความเสี่ยง (Risk management) และ 4) การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) (ประกาศ/หนังสือเวียน)
แนวนโยบาย

  • การดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินโดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - วันที่ 15 ก.พ. 2566

แนวทางดำเนินการ

จัดทำแนวนโยบายเรื่องการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินโดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถประเมินโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมโดยไม่สร้างความเสี่ยงเพิ่มเติม รวมถึงมีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม โดยครอบคลุมกรอบการดำเนินงานสำคัญ ได้แก่ 1) โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ 2) การกำหนดกลยุทธ์ 3) การบริหารความเสี่ยง และ 4) การเปิดเผยข้อมูล

(Click เพื่ออ่านแนวนโยบาย ธปท.ฝกส.(01)ว.113/2566)

 

 

Taxonomy

มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy)

  • เป้าหมายที่อยากเห็น ประเทศไทยมีมาตรฐานกลางในการจัดหมวดหมู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและบริบทของไทย และสามารถใช้อ้างอิงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเปิดเผยข้อมูล และการนำเสนอแรงจูงใจที่เหมาะสมได้สอดคล้องกันในทุกภาคส่วน

Click เพื่ออ่านรายละเอียดร่าง Taxonomy Phase 1 เพิ่มเติม

แนวทางดำเนินการ

 

 

Data and Disclosure

ฐานข้อมูลที่เป็นระบบและเข้าถึงได้และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน (Data and Disclosure)

  • เป้าหมายที่อยากเห็น ประเทศไทยมีระบบข้อมูลกลางด้านสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งในและนอกภาคการเงิน เพื่อรองรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม

 

 

Incentive

โครงสร้างแรงจูงใจ (Incentive) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในภาคการเงินที่เหมาะสม

  • เป้าหมายที่อยากเห็น สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ในราคาที่จูงใจ เพื่อลดภาระต้นทุนและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยมีกลไกหรือมาตรการจูงใจทั้งในรูปแบบ stick และ carrot ให้สถาบันการเงินและภาคธุรกิจที่ไม่นำไปสู่การบิดเบือนกลไกตลาดในระยะยาว

แนวทางดำเนินการ

 

 

Capacity Building

องค์ความรู้และทักษะของบุคลากรในภาคการเงิน (Capacity Building)

  • เป้าหมายที่อยากเห็น สถาบันการเงินมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

Contact for more information

ทีมการธนาคารเพื่อความยั่งยืน ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน

0 2356 7355 / 0 2283 6377

Sustainability@bot.or.th

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย