บทบาทของธนาคารกลาง
ในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน

 

 

  • พัฒนาการ กระบวนการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของต่างประเทศ

        วิกฤติการเงินโลกปี 2551 ที่ส่งผลกระทบลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เป็นบทเรียนสำคัญแก่ธนาคารกลางและนักลงทุนทั่วโลก ให้ตระหนักถึงการติดตามความเสี่ยงของระบบการเงิน และเร่งมองหาแนวทางใหม่ในการรับมือความเสี่ยง
        

risk

   

        หลายประเทศจึงจัดตั้งแนวทางดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่คณะกรรมการความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานกำกับ คณะกรรมการที่ให้คำแนะนำในการออกนโยบายดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน หรือคณะกรรมการที่มีอำนาจสั่งการตามกฎหมาย

 

เหตุผลที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน

diagram

       

    ธปท. กับการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน

 

      การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจหลักของ ธปท. โดย ธปท. ได้จัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินร่วมกัน โดยมีเป้าหมายร่วม คือ การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มีเสถียรภาพ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง

 

flowchart

 

การทำงานร่วมกับผู้กำกับดูแลระบบการเงิน (regulators) อื่น ๆ

 

    ธปท. ทำงานร่วมกับผู้กำกับดูแลทางการเงิน (regulators) อื่น ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทิศทางการกำกับดูแลเป็นไปในทางเดียวกัน และเพื่อให้มีการประสานงานมากขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร และการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

 

thaireg

 

 

2555

meeting

เริ่มการจัดประชุมระหว่าง กนง. และ กนส. (ปีละ 2 ครั้ง)

2556

ประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดทำ Financial Stability Report

meeting

2559

meeting

จัดตั้งกลุ่มงานด้านเสถียรภาพระบบการเงิน

2561

จัดตั้งฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน

meeting

ปัจจุบันฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงินมีหน้าที่หลัก ดังนี้