โครงการ Fin. ดี Happy Life!!! ส่งเสริมทักษะทางการเงินของคนวัยทำงาน

 

ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับโครงการ

 

    โครงการ Fin. ดี Happy Life!!! เป็นโครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับพฤติกรรมและสร้างทักษะทางการเงินให้แก่กลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่ง ธปท. จะดำเนินการฝึกอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ (ทั้งภาครัฐและเอกชน) เพื่อให้ตัวแทนเหล่านั้นกลับไปเป็นวิทยากรทางการเงินประจำหน่วยงาน หรือที่เรียกว่า Fin. Trainer ที่จะกลับไปทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ด้านการวางแผนการเงินและการบริหารจัดการหนี้ รวมถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นพฤติกรรมและติดตามผลของเพื่อนพนักงานในหน่วยงานของตน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายด้าน ดังนี้

 

ประโยชน์ต่อพนักงาน
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน
สิ่งที่ ธปท. สนับสนุน

- จัดการเงินได้ ด้วยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสม

 

- ไม่ทุจริต

 

- ชีวิตดีมีความสุข

 

- ปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ

- เพิ่ม productivity ของหน่วยงาน พนักงานทำงานได้อย่างเต็มที่

 

- ลดงานสรรหาพนักงานใหม่ ทดแทนพนักงานเดิมที่ออกจากงานเพราะปัญหาทางการเงิน

 

- ลดงานที่เกี่ยวข้องกับคดีความหนี้สินของพนักงาน

 

- ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน หน่วยงานดูแลเอาใจใส่คุณภาพชีวิตด้านการเงินของพนักงาน

 

- สร้างเครือข่ายระหว่าง Fin. Trainer ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

- สื่อการสอน ได้แก่ infographic คลิปวิดีโอ คลิปเสียง คู่มือการสอนสำหรับ Fin. Trainer

 

- จัดการอบรม workshop สำหรับ Fin. Trainer

 

- มีพี่เลี้ยงประจำหน่วยงานเพื่อคอยช่วยเหลือและประสานงานร่วมกับ Fin. Trainer ทุกท่านตลอดทั้งโครงการ

 

- สนับสนุนเครื่องมือในการกระตุ้นพฤติกรรม เช่น กระปุกออมสิน

 

ส่วนที่ 2 รูปแบบการอบรม 

 

ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่

 

กิจกรรม 1: ธปท. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ให้แก่ Fin. Trainer มีรายละเอียด ดังนี้

 

1) หัวข้ออบรม (ระยะเวลา 2 วัน)

การวางแผนทางการเงิน เช่น สัดส่วนเงินออม หนี้สิน และเงินออมเผื่อฉุกเฉินที่ควรมี การแยกบัญชีเงินออมอย่างเป็นระบบ การจัดทำแผนใช้เงิน และทางเลือกการออมการลงทุน

การบริหารจัดการหนี้ เช่น คิดก่อนเป็นหนี้ ประเภทและเงื่อนไขของสินเชื่อ และการทำแผนปลดหนี้

การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมในหน่วยงาน เช่น ขั้นตอนและแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการออมและการปลดหนี้ รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมที่หน่วยงานสามารถนำไปปรับใช้ได้

หัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ภัยการเงิน สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน

 

2) รูปแบบการอบรม

ช่องทาง Offline - ศูนย์การเรียนรู้ ธปท. หรือ สำนักงานภาคของ ธปท.

ช่องทาง Online - ผ่านระบบ Microsoft Teams หรือ Zoom

 

3) ประกาศนียบัตรสำหรับ Fin. Trainer 

Fin. Trainer ที่สามารถเข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่า 80% ของระยะเวลาอบรมทั้งหมดจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการอบรมจาก ธปท.

 

ภาพการอบรม Fin. Trainer  ช่องทาง offline

findhappylife

 

ภาพการอบรม Fin. Trainer  ช่องทาง Online

findonline

กิจกรรม 2: กิจกรรมขยายผลในหน่วยงาน

 

หลังจบกิจกรรม 1 Fin. Trainer จะวางแผนและดำเนินโครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่เพื่อนพนักงานในหน่วยงาน โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

 

1) กลุ่มเข้มข้น (end users) 

กลุ่มพนักงานที่มุ่งหวังให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินไปในทางที่เหมาะสมจัดทำแบบสำรวจก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ทางการเงินและร่วมกิจกรรมการกระตุ้นพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง (อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ภายใน 3 เดือน)

2) กลุ่มทั่วไป (awareness)
กลุ่มพนักงานทั่วไปทั้งหน่วยงานได้รับความรู้ทางการเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือผ่านกิจกรรมส่งเสริมการออม บริหารจัดการหนี้ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

 

หมายเหตุ หลังจากที่ Fin. Trainer ดำเนินโครงการตามแผนที่วางไว้ ขอให้รายงานผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวกลับมาผ่านระบบออนไลน์ที่ ธปท. ได้จัดทำไว้ (อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) เพื่อทำการประเมินผลรางวัลในระดับหน่วยงานต่อไป

ประมวลภาพการสอนและกิจกรรม Fin. ดี Happy Life!!! (Click)

แผนภาพสรุปขั้นตอนการดำเนินโครงการ

man in book
ระดับคะแนนรางวัลรางวัลที่หน่วยงานจะได้รับ
86-100 คะแนน5 ดาวโล่รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพทางการเงินพนักงานระดับยอดเยี่ยม
65-85 คะแนน4 ดาวโล่รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพทางการเงินพนักงานระดับดีเด่น
50-64 คะแนน3 ดาวโล่รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพทางการเงินพนักงาน
ต่ำกว่า 50 คะแนนไม่ได้รับรางวัลใบประกาศใส่กรอบยืนยันการเข้าร่วมโครงการ
flag

นอกจากนี้ หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการครบ 1 ปี หากมีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ทางการเงินและสร้างผลลัพธ์ต่อยอดโครงการอย่างต่อเนื่อง จะได้รับการพิจารณามอบ "โล่ประกาศเกียรติคุณด้านความยั่งยืนยอดเยี่ยม" หรือ "ประกาศเกียรติคุณด้านความยั่งยืน" อีกด้วย

fax

ส่วนที่ 3 ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา

ประกาศรางวัลโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2566

ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานต้นแบบด้านการส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างยั่งยืนระดับยอดเยี่ยม
ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานต้นแบบด้านการส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างยั่งยืน
ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับยอดเยี่ยม (5 ดาว) 01
ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับยอดเยี่ยม (5 ดาว) 02
ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น (4 ดาว) 01
ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น (4 ดาว) 02
ปี 2566 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน (3 ดาว)

รางวัลโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2565

ปี 2565 - รางวัลหน่วยงานต้นแบบด้านการส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างยั่งยืน

ปี 2565 - รางวัลหน่วยงานต้นแบบด้านการส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างยั่งยืน

ปี 2565 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับยอดเยี่ยม (5 ดาว) 01
ปี 2565 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับยอดเยี่ยม (5 ดาว) 02

ปี 2565 - รางวัลหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น (4 ดาว)

  • ผลการดำเนินโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2566

  • บทสรุปผู้บริหาร - ผลการดำเนินโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2566

  • ผลการดำเนินโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2565

  • บทสรุปผู้บริหาร - ผลการดำเนินโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2565

  • ผลการดำเนินโครงการ Fin. ดี Happy Life ปี 2563 - 2564

ส่วนที่ 4 ตัวอย่างผู้ผ่านการอบรม

companies

ความในใจจากผู้เข้าร่วมโครงการ

ft
FT
ft
ft
ft
ft
man in book

ส่วนที่ 5 การสมัครเข้าร่วมโครงการ

คุณสมบัติหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ 

สามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อเป็น Fin. Trainer ในรูปแบบที่ ธปท. กำหนด มีความยินดีให้ Fin. Trainer จัดกิจกรรม และอนุญาตให้พนักงานในหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

 

คุณสมบัติ Fin. Trainer ที่เข้าร่วมโครงการ

เป็นพนักงานของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ มีความสามารถในการสื่อสาร และเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมในหน่วยงานได้สะดวกเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ตลอดระยะเวลา 2 วันสามารถให้ความรู้ และจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมทางการเงินที่ดีในหน่วยงาน และรายงานผลมายัง ธปท. ได้

 

สอบถามข้อมูลได้ที่เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ ดังรายละเอียดตามตารางนี้

 

ภูมิภาค
ผู้ประสานงาน
ข้อมูลเพื่อติดต่อ

ภาคเหนือ

คุณไพโรจน์ เงาวิจิตร

ธปท. สำนักงานภาคเหนือ

เลขที่ 68/3 ถนนโชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

โทร. 0-5393-1094

อีเมล NRO-FL@bot.or.th

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

คุณจิราภรณ์ พินนาพิเชษฐ

ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เลขที่ 45 ถนนนิกรสำราญ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

โทร. 0-4391-3582

อีเมล NEO-FL@bot.or.th

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

คุณจตุพร แสนมนตรีกุล

ฝ่ายคุ้มครองและตรวจสอบบริการทางการเงิน ธปท.

เลขที่ 273 ถ.สามเสน

แขวงวัดสามพระยา

เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทร. 0-2283-6294

อีเมล FL@bot.or.th

ภาคใต้

คุณเอกนุช นวลศรี

ธปท. สำนักงานภาคใต้

472 ถนนเพชรเกษม ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

โทร. 0-7443-4864

อีเมล SRO-FL@bot.or.th

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้ ดังนี้

  • รายละเอียดโครงการ Fin. ดี Happy Life!!!

  • PowerPoint แนะนำโครงการ Fin. ดี Happy Life!!!

  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์โครงการ Fin. ดี Happy Life!!!

  • เอกสารประกอบการอบรมโครงการ Fin. ดี Happy Life!!!