ทิศทางการดำเนินงาน ธปท.

 

 

 

 

 

แผนยุทธศาสตร์ ธปท. 2567-2569
OKRs ธปท. 2567

Strategic Plan 2023

     ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยรองรับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทวีความเร็วและแรงขึ้นโดยเฉพาะการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์โควิด อย่างไรก็ตาม จากบริบททางเศรษฐกิจการเงินของไทยที่เปลี่ยนไป เป็นโอกาสให้ ธปท. ปรับแนวทางการทำงานจากเดิมที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาระยะสั้นในช่วงวิกฤตโควิด 19 ไปสู่การให้น้ำหนักกับการมองภาพระยะยาวเพิ่มขึ้น โดย ธปท. มุ่งหวังให้เศรษฐกิจไทยไม่เพียงแต่มั่นคงเข้มแข็ง (Stability) แต่ยังต้องยืดหยุ่นทนทาน (Resiliency) เพียงพอ สามารถปรับตัวรับมือกับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงรูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต รวมทั้งสามารถแสวงหาโอกาสใหม่ในการเติบโตจากทั้งกระแสดิจิทัลและความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมให้ ธปท. สามารถขับเคลื่อนพันธกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะข้างหน้าได้ 

     ธปท. จึงจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2567 – 2569) ขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางการทำหน้าที่ของ ธปท. ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ความท้าทายในระยะข้างหน้าซึ่งมาจากทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เศรษฐกิจไทยพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (future ready) ผ่านการผลักดันใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. เสริมสร้างความยืดหยุ่นทนทานแก่เศรษฐกิจ (shifting focus to resiliency) 2. ยกระดับศักยภาพขององค์กร (transforming) และ 3. เปิดกว้าง เรียนรู้ รับฟัง และประสานความร่วมมือกับภายนอก (open & engaged) 
     ทั้งนี้ ธปท. ยังคงนำเครื่องมือ OKRs (Objective and Key Results) มาใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสำคัญรายปี เพื่อรองรับกับบริบทสภาพแวดล้อม ทั้งวิถีชีวิต รูปแบบธุรกิจ บริการทางการเงิน และระบบเศรษฐกิจที่เร่งตัวต่อเนื่อง สนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจของ ธปท. ให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ได้อย่างเท่าทันในโลกที่ท้าทายกว่าเดิม

 

งานที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลในปี 2567 (OKRs)

1. เสถียรภาพเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจไทยยืดหยุ่นทนทาน (resilient) ต่อความท้าทายในระยะข้างหน้า

2. เสถียรภาพครัวเรือน: ครัวเรือนมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาหนี้และภัยทุจริตทางการเงิน

3. การเงินสิ่งแวดล้อม: ภาคการเงินช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

4. การเงินดิจิทัล: ยกระดับการเข้าถึงบริการและการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินดิจิทัล

5. HROD (Human Resource Organization Development): พนักงานมีศักยภาพพร้อมขับเคลื่อนภารกิจในระยะข้างหน้าได้สำเร็จ

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
แผนยุทธศาสตร์ ธปท. 2567-2569

OKRs ธปท. 2567

เอกสารเพิ่มเติม

  • OKRs ธปท. 2566

  • แผนยุทธศาสตร์ ธปท. พ.ศ. 2563 - ​2565

  • แผนยุทธศาสตร์ ธปท. พ.ศ. 2560 - ​2562