​กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ ธปท.

วัตถุประสงค์ ขอบเขตการทำงาน และโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลของธนาคารกลาง

Laws and regulations

พระราชบัญญัติและประกาศคณะปฎิวัติ

พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน

พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน

โดยที่มาตรา ๖๕๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี เป็นกฎหมายที่ได้ใช้บังคับมานานแล้ว บัดนี้ภาวะการเงินของตลาดโลกและตลาดภายในประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก หากยังคงจำกัดดอกเบี้ยไว้ในอัตราเดิมจะเป็นอุปสรรคแก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและทำให้ขาดความคล่องตัวในการที่ทางราชการจะใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในทางนโยบายการเงินในอันที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ สมควรมีกฎหมายให้อำนาจแก่ทางราชการกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าอัตราดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่เป็นการให้กู้ยืมของสถาบันการเงินได้

พ.ร.บ. การโอนเงินเย็นพิเศษเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจ

พ.ร.บ. การโอนเงินเย็นพิเศษเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นได้ทำบันทึกความตกลงว่าด้วยเงินเย็นพิเศษกับประเทศไทย เพื่อกู้ยืมเงินบาทจากรัฐบาลไทย เพื่อใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์และยุทธปัจจัยของกองทัพ โดยตกลงชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วยสกุลเงินเย็นพิเศษ (สกุลเงินตราที่ไม่มีธนบัตรหรือเงินตราที่เป็นรูปธรรม แต่กำหนดขึ้นเพื่อใช้สำหรับคิดคำนวณชำระค่าใช้จ่ายระหว่างประเทศ โดยคำนวณอัตราเทียบเท่าเงินเย็นปกติของญี่ปุ่น) และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลญี่ปุ่นได้ชำระหนี้เงินกู้ที่ค้างชำระเป็นเงิน 9,600 ล้านเย็น ให้แก่รัฐบาลไทย ซึ่งเงินจำนวนนี้เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งของฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

พ.ร.บ. ยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

พ.ร.บ. ยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498 โดยกำหนดให้จัดตั้งทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange Equalization Fund) มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้มีเสถียรภาพเหมาะสมแก่สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของประเทศตลอดจนการลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีทุนรักษาระดับฯ อีกต่อไป จึงได้ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นเพื่อยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา พ.ศ. 2550

พระราชกำหนด

พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

พ.ร.ก. ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

กำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือการจัดการและฟื้นฟูสถาบันการเงิน ที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ ธปท. เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุนดังกล่าว โดยยังคงหลักเกณฑ์และแหล่งเงินในการชำระคืนต้นเงินกู้ที่กำหนดไว้แต่เดิม พร้อมกับเพิ่มเติม การเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการดังกล่าวด้วย

พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงจำเป็นต้องกำหนดให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจฯ โดยการให้สินเชื่อเพิ่มเติมและการชะลอการชำระหนี้

พ.ร.ก. จัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้

พ.ร.ก. จัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้

กฎหมายฉบับนี้มีเพื่อจัดตั้งทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นเพื่อทำการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศในตลาด เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวอันผิดปกติของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในท้องตลาด และเพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพเหมาะสมแก่เศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนการค้าต่างประเทศของประเทศ การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ประโยชน์จากทุนสำรองเงินตราส่วนที่เกินจำนวนธนบัตรออกใช้ให้ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของเงินตราตามความมุ่งหมายของเงินทุนสำรองที่มีขึ้นไว้ นอกจากนี้ กำหนดให้มีการจำหน่ายหักล้างทางบัญชีอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการตีราคาทุนสำรองใหม่ด้วย

พ.ร.ก. โอนสินทรัพย์บางส่วนในบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

พ.ร.ก. โอนสินทรัพย์บางส่วนในบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

เนื่องจากประเทศไทยประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราระบบใหม่เมื่อ พ.ศ. 2540 ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งค่าของบาท ต้องประสบกับผลการดำเนินงานขาดทุนเป็นอันมากและเกิดผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น จนเป็นอุปสรรคในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศให้มีประสิทธิภาพ สมควรโอนสินทรัพย์บางส่วนในบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนหนึ่งแสนหกหมื่นห้าพันล้านบาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมและเสริมสร้างความมั่นคงของธนาคารแห่งประเทศไทย และเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

พระราชกำหนด

พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินอย่างรุนแรง อันมีผลกระทบต่อความมั่นใจและระบบการเงินของประเทศ รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและรับภาระทางการเงินจนกระทั่งเกิดความเสียหายขึ้น จึงมี พ.ร.ก. ให้กระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ

พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นใน ปี 2554 ที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเป็นพิเศษ โดยให้ ธปท. มีอำนาจในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเป็นการเฉพาะคราว เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปใช้ในการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยต่อไปในอัตราดอกเบี้ยต่ำ อันเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจโดยรวม

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง