การกำกับดูแลกิจการที่ดี

          ธปท. ดำเนินภารกิจในฐานะธนาคารกลางของประเทศ โดยมีคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ ธปท.) กำกับดูแลกิจการโดยทั่วไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และเสถียรภาพระบบการชำระเงิน โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายในแต่ละด้านอย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้คณะกรรมการนโยบายทั้งสามคณะมีการประชุมร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงเชื่อมโยงความรับผิดชอบในการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายต่าง ๆ

คณะกรรมการตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทย (กตส.) ทำหน้าที่ติดตามดูแลการปฏิบัติงานของ ธปท. ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบกิจการภายในที่มีประสิทธิภาพและรัดกุม ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ธปท. พ.ศ. 2485 (ฉบับที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)

 

          คณะกรรมการ ธปท. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลความเสี่ยง (กคส.) ทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นต่อกรอบนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของ ธปท. ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อส่งเสริมให้การกำกับดูแลการดำเนินงานของ ธปท. มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และได้แต่งตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาล ทำหน้าที่กลั่นกรองงานในเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ธปท. โดยมุ่งเน้นให้ ธปท. มีกระบวนการทำงานและให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 

Good Governance Committee Structure

ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี

อ่านต่อ

การตรวจสอบกิจการภายใน

สนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารให้บรรลุวัตถุประสงค์และแผนกลยุทธ์ที่กำหนด ด้วยการให้ความมั่นใจและให้บริการในลักษณะที่ปรึกษาอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม

อ่านต่อ
Busines using a computer to complete Individual income tax return form online for tax payment. Government, state taxes. Data analysis, paperwork, financial research, report. Calculation tax return.; Shutterstock ID 2198685893; purchase_order: BOT; job: ; client: ; other:

การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง

     ธปท. ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ ธปท. สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างทันการณ์ รวมทั้งสนับสนุนให้ ธปท. สามารถดำเนินพันธกิจได้ตามเป้าประสงค์ที่กำหนด

     ธปท. จัดทำกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management Framework) ขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงของ ธปท. เป็นไปอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล เช่น COSO Enterprise Risk Management (2017) และ ISO 31000 Risk Management เป็นต้น โดยคาดหวังให้ผู้บริหารและพนักงานใช้เป็นแนวทางและหลักปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง มีการตัดสินใจที่คำนึงถึงความเสี่ยงอย่างรอบด้าน มีการบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ อันจะส่งผลให้ ธปท. สามารถปฏิบัติงานได้ลุล่วงตามพันธกิจในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพระบบการเงิน เสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน และเสถียรภาพระบบการชำระเงิน 

อ่านต่อ

การเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส

อ่านต่อ

การตรวจสอบการมีส่วนได้เสียกับ ธปท.

สนับสนุนการดำเนินงานของธนาคารให้บรรลุวัตถุประสงค์และแผนกลยุทธ์ที่กำหนด ด้วยการให้ความมั่นใจและให้บริการในลักษณะที่ปรึกษาอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม 

อ่านต่อ

การเปิดเผยการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐให้สื่อมวลชน

อ่านต่อ
transparency