ระบบบาทเนต

22 มี.ค. 2566 ใช้เวลาอ่าน 999 นาที

Overview

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบบาทเนต (BAHTNET - Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อรองรับการโอนเงินมูลค่าสูงระหว่างสถาบันการเงินและสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท. ในลักษณะ Real-Time Gross Settlement (RTGS) และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการชำระดุลระหว่างสถาบันการเงินที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธปท.และเพื่อให้การโอนเงินสำหรับบุคคลที่สามมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย โดยก่อนที่จะมีบริการ ระบบบาทเนต การชำระเงินระหว่างสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยการใช้เช็ค ซึ่งผู้รับโอนเงินจะไม่ได้รับเงินทันทีเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการเรียกเก็บและการชำระเงินระหว่างธนาคารผู้สั่งจ่ายและธนาคารผู้รับโอนก่อน ผู้รับโอนเงินจึงยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจากการชำระเงินไม่ได้มีผลสิ้นสุดทันที (Finality) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของระบบการชำระเงินโดยรวมได้

เนื่องด้วยเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกรรมการชำระเงินในแต่ละวันมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงินที่มีมูลค่าสูง ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงด้าน Settlement Risk ของการชำระเงินมูลค่าสูงรูปแบบเดิม ธปท. จึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าบาทเนต (BAHTNET - Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network) ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการโอนเงินมูลค่าสูงในลักษณะ Real Time Gross Settlement (Online RTGS) โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2538 เป็นต้นมา

ระบบบาทเนตได้มีการเชื่อมโยงกับระบบงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี 2547 ได้เชื่อมโยงกับระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง เพื่อรองรับธุรกรรมการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ ในปี 2549 ได้เชื่อมโยงกับระบบงานของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อรองรับการชำระราคาตราสารหนี้ให้เป็นแบบ Real-time ในปี 2557 ได้เชื่อมโยงกับระบบ USD CHATS ของธนาคารกลางฮ่องกง ในการทำธุรกรรม PVP เพื่อรองรับการชำระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินบาท (THB) และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) และลดความเสี่ยงจากการได้รับชำระสกุลเงินที่ทำการซื้อขายในช่วงเวลา (Time zone) นอกจากนี้ ธปท. ได้คิดค้นกลไกเพื่อลดความเสี่ยงการชำระดุลระหว่างธนาคาร ในลักษณะ Net Settlement โดยในปี 2558 ได้กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (Securities Requirement for Settlement : SRS) เพื่อให้มั่นใจว่าการชำระดุล Net Settlement จะสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้ตามกำหนดเวลาแม้ในกรณีที่มีสมาชิกที่มียอดขาดดุลไม่สามารถชำระดุลได้ เพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมของระบบการชำระเงินของประเทศ

ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ธปท. ได้นำมาตรฐานในด้านต่าง ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับระบบบาทเนต เช่น มาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO/IEC 27001) เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของระบบบาทเนต ให้มีความน่าเชื่อถือและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำเทคโนโลยี API มาใช้โดยเริ่มที่บริการแจ้งผลการนำเงินเข้าบัญชีผู้รับโอนของระบบบาทเนต (BAHTNET Status Tracking)  และจะพัฒนาต่อยอดการให้บริการอื่นของระบบบาทเนตต่อไปในอนาคต  ในปี 2565 ธปท. ได้นำมาตรฐานข้อความการชำระเงินสากล ISO 20022  มาใช้งานกับระบบบาทเนต ซึ่งรองรับข้อมููลประกอบการชำระเงินมากขึ้้น (Rich and Structured Data) สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับนวัตกรรมในอนาคต

ผู้ใช้​บริการระบบบาทเนตจะต้องมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ใช้บริการปัจจุบันประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หน่วยงานภาครัฐ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และส่วนงานภายในของ ธปท.

ตามระเบียบ ธปท. ว่าด้วยการบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 ผู้ใช้บริการของระบบสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. ผู้ใช้บริการที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการระบบาทเนตโดยใช้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของตนเอง (Direct Member)

2. ผู้ใช้บริการสมทบเป็นผู้ใช้บริการที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการระบบาทเนตภายใต้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการบาทเนตรายอื่น (Associated Member)

ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องเป็นผู้ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและยอมรับปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต พ.ศ. 2538 โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการรวมทั้งกำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการใช้บริการในกรณีที่มีข้อพิพาทและไม่สามารถตกลงกันได้ให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการซึ่งประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการที่แต่งตั้งโดยคู่กรณีฝ่ายละ1 คนและอนุญาโตตุลาการทั้งสองจะแต่งตั้งบุคคลภายนอกอีกหนี่งคนร่วมเป็นคณะอนุญาโตตุลาการสำหรับการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สามซึ่งธนาคารพาณิชย์ให้บริการแก่ลูกค้าในการโอนเงินผ่านระบบบาทเนตไปเข้าบัญชีของผู้รับเงินที่ธนาคารอื่นจะต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์การให้บริการโอนเงินแก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

ผู้ใช้บริการบาทเนตสามารถเชื่อมโยงกับระบบบาทเนต ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

1. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่านเครือข่าย S.W.I.F.T ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลที่ใช้ในการส่งข้อความทางการเงิน ผู้ใช้บริการจะต้องส่งข้อความตามรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการที่ใช้ระบบ S.W.I.F.T สามารถพัฒนาระบบงานภายในให้เชื่อมโยงกับ ธปท. โดยตรงในลักษณะ Straight-through Processing (STP) ได้

2. การเชื่อมโยงและรับส่งข้อความผ่าน BOT WEB PORTAL ในระบบ Electronic Financial Service (EFS) ของ ธปท. โดยใช้บริการ BAHTNET Service และผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความผ่านช่องทางนี้สามารถส่งข้อความตามรูปแบบที่ ธปท. ได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบที่มีลักษณะเดียวกับรูปแบบมาตรฐานของ S.W.I.F.T เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการทุกสถาบันทั้งที่เป็นสมาชิก S.W.I.F.T. และที่ไม่เป็นสมาชิกจะต้องติดตั้ง BAHTNET Service เพื่อใช้ในการสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวกับยอดคงเหลือหรือความเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝาก หรือบัญชีตราสารหนี้ รวมทั้งใช้ในการจัดการคิวสำหรับรายการที่ส่งผ่านระบบบาทเนตและการจัดการรายงานสิ้นวัน​

นอกจากนี้ ธปท. อยู่ระหว่างการพัฒนาช่องทางให้รองรับการเชื่อมโยงกับระบบบาทเนตและระบบงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะ STP โดยใช้เทคโนโลยี API 

ระบบบาทเนตเปิดให้บริการทุกวันทำการธนาคารตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 17.30 น. โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1. การโอนเงิน (Funds Transfer)
ผู้ใช้บริการสามารถสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการอื่นหรือโอนเงินระหว่างบัญชีของตนเองที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

2. การโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม (Third Party Funds Transfer)
เป็นการโอนเงินตามคำสั่งของลูกค้าที่สั่งให้ธนาคารผู้สั่งโอนทำการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับผลประโยชน์ซึ่งอยู่อีกธนาคารหนึ่ง โดยการโอนเงินดังกล่าวดำเนินการภายในวันเดียวกัน (same day basis)

3. การสอบถามข้อมูล (Inquiry)
ผู้ใช้บริการสามารถใช้ระบบบาทเนตเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากของตนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ยอดคงเหลือ ความเคลื่อนไหวในบัญชีและสอบถามรายการรับส่งข้อมูลที่รอดำเนินการและที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว

4. การสื่อสารระหว่างกัน (Bilateral Communication)
ผู้ใช้บริการสามารถส่งข่าวสารผ่านระบบบาทเนตไปยังผู้ใช้บริการอื่น ๆ ได้ตลอดเวลาที่ระบบเปิดให้บริการ

5. การประกาศข้อความ (Message Broadcast)
โดยปกติจะเป็นการประกาศข้อความของธนาคารแห่งประเทศไทยถึงผู้ใช้บริการทั้งหมด หากผู้ใช้บริการรายใดต้องการส่งข่าวสารให้ผู้ใช้บริการทั้งหมดในระบบทราบก็สามารถขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการประกาศให้ได้

6. การชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่าย (Multilateral Funds Transfer - MFT)
เป็นกระบวนการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการชำระดุลการหักบัญชีของผู้ใช้บริการ (ทำการ debit และ credit บัญชีพร้อมกัน) เช่น ดุลการหักบัญชีเช็คและดุลการโอนเงิน

ระบบ​บาทเนตเป็นระบบการโอนเงินที่มีผลสมบูรณ์ทันที (Real Time Gross Settlement -RTGS) และเพิกถอนไม่ได้ ระบบนี้ต้องอาศัยสภาพคล่องในปริมาณที่มากกว่าระบบที่เป็น Net Settlement ผู้ใช้บริการผู้สั่งโอนจะต้องมีเงินในบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงพอจึงจะสามารถสั่งโอนเงินได้

เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีสภาพคล่อง ธปท.จึงให้กู้ยืมเงิน Intraday Liquidity Facility (ILF) แก่ผู้ใช้บริการบาทเนตที่เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในการดูแลของ ธปท.การขอใช้เงิน ILF นั้น ผู้ใช้บริการบาทเนตจะต้องทำสัญญาขายตราสารหนี้ให้แก่ ธปท. ตอนต้นวัน โดยมีสัญญาว่าจะซื้อตราสารหนี้ดังกล่าวคืนตอนสิ้นวัน เงิน ILF ที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับตราสารหนี้ที่มาวางเป็นหลักประกัน และไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมการใช้เงิน ILF ที่ใช้ในระหว่างวัน ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการบาทเนตจะใช้เงิน ILF ได้เมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีไม่เพียงพอ และใช้เพื่อการโอนผ่านระบบบาทเนตเท่านั้น ในกรณีที่มีการใช้เงินสภาพคล่องข้ามวัน (Overnight) ธปท.จะคิดค่าตอบแทนในอัตราดอกเบี้ยนโยบาย บวก 0.5% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม  ในบางขณะผู้ใช้บริการผู้สั่งโอนอาจขาดสภาพคล่องชั่วคราวทำให้ไม่สามารถสั่งโอนเงินได้เพื่อแก้ปัญหาข้างต้นระบบบาทเนตจึงจัดให้มีกลไกเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าวดังนี้

1. การจัดลำดับคำสั่งโอนเงิน (Queuing Mechanism) เพื่อช่วยในการจัดลำดับคำสั่งโอนเงินในกรณีที่ยอดเงินในบัญชียังมีไม่เพียงพอคำสั่งโอนเงินจะถูกจัดเข้าคิวรอไว้ก่อนจนกว่าจะมีเงินเพียงพอจึงจะดำเนินการตามความเหมาะสมของสภาพคล่องในขณะนั้น

2. ระบบ Gridlock Resolution เพื่อแก้ปัญหาการติดขัดในคิวจากการขาดสภาพคล่องในระหว่างผู้สั่งโอนและผู้รับโอนระบบจะดำเนินการตรวจหารายการโอนเงินของผู้ใช้บริการที่มีการโอนให้ระหว่างกันตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป หากยอดคงเหลือสุทธิในบัญชีเงินฝากรวมรายการโอนเงินที่ค้างอยู่ของแต่ละผู้ใช้บริการในกลุ่มมีค่าเป็นบวกระบบก็จะจัดการโอนเงินและบันทึกบัญชีรายการโอนเงินที่ทำได้พร้อมกันทันที

ธปท. ได้พัฒนาระบบบาทเนตขึ้นเพื่อเป็นสาธารณูปโภคทางการเงินเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในระบบการชำระเงินของประเทศโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดังนั้นค่าบริการในระบบบาทเนตจึงเป็นราคาที่จูงใจให้ผู้ใช้บริการหันมาใช้การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนการโอนเงินในระบบตราสาร (paper-based)

สำหรับค่าธรรมเนียมที่ธนาคารผู้ใช้บริการคิดกับลูกค้านั้นเป็นการแข่งขันกันโดยเสรีตามกลไกตลาด โดยในระยะแรก ธปท.จำเป็นต้องกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุด (ceiling) เพื่อให้ค่าธรรมเนียมอยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ภายหลัง ธปท. ได้ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงิน (ตามประกาศ ธปท.สรช. (03) ว.3414/2543 เรื่องการยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดในการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม ผ่านระบบบาทเนต) โดยให้การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามดุลพินิจของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง

1. ค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้บริการบาทเนตรายเดือน

    - ผู้ใช้บริการบาทเนตที่มีคอมพิวเตอร์ลูกข่าย     3,500    บาท

    - ผู้ใช้บริการบาทเนตสมทบรายละ                 500    บาท

2. ค่าธรรมเนียมสำหรับบริการแต่ละประเภทผ่านระบบบาทเนตและคำสั่งต่าง ๆ ผ่านระบบการเชื่อมโยงเพื่อชำระราคาหลักทรัพย์ โดย ธปท. จะคิดค่าธรรมเนียมและค่าปรับแต่ละประเภทตามจำนวนรายการที่เกิดขึ้นแยกตามช่วงเวลารายการมีผลสมบูรณ์

เนื่องจากระบบบาทเนตเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินมูลค่าสูง ธปท. จึงได้กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม โดยผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความมายังระบบบาทเนตโดยผ่านช่องทาง S.W.I.F.T นั้น จะต้องมีกระบวนการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานของ S.W.I.F.T ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก สำหรับผู้ใช้บริการที่ส่งข้อความมายังระบบบาทเนตโดยผ่านช่องทาง EFS จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยี Digital Signature โดยผู้ส่งข้อความจะต้องมี Private Key ใน Token ประจำตัวในการสร้าง Digital Signature กำกับในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งมายังระบบบาทเนต ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ระบบบาทเนตสามารถรักษาความลับพร้อมทั้งป้องกันมิให้ผู้อื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องล่วงรู้ข้อมูลได้ สามารถยืนยันและพิสูจน์ตัวตนของผู้ส่งและผู้รับรายการ ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ และสามารถรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบ รวมทั้งระบบบาทเนตยังมีการบันทึกข้อมูลที่รับ-ส่งในระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

ธปท. มีกรอบการกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยงของระบบบาทเนตตามหลัก three lines of defense และเป็นไปตามมาตรฐานสากล  Principles for Financial Market Infrastructures (PFMI) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบบาทเนตซึ่งเป็นระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ (Systemically Important Payment System) และเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure) มีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดย ธปท. ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO27001) และมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO22301)

ธปท. ได้จัดสร้างศูนย์สำรองซึ่งห่างศูนย์บริการหลัก เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร โดยสำรองอุปกรณ์ Hardware และ Software ด้วยอุปกรณ์ชุดเดียวกับระบบงานจริง เพื่อให้ระบบสามารถให้บริการต่อได้โดยไม่หยุดชะงักเมื่อศูนย์บริการหลักขัดข้อง นอกจากนั้น ธปท. ได้จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับในกรณีที่ระบบบาทเนตขัดข้อง ทั้งในส่วนของ ธปท. และผู้ใช้บริการ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้บริการได้ใช้งานระบบที่มีความปลอดภัยสูงและได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ​

สถาบันผู้ใช้บริการบาทเนต

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

AYUDTHBK

ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)

BKCHTHBK

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

BKKBTHBK

ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ICBCTHBK

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ICBKTHBK

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

KASITHBK

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

KKPBTHBK

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

KRTHTHBK

ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

LAHRTHB2

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

SCBLTHBX

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

SICOTHBK

ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

STBCTHBK

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

TFPCTHB1

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)

THCETHB2

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

TMBKTHBK

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

UBOBTHBK

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

UOVBTHBK

ธนาคารอินเดียนโอเวอร์ซีส์ สาขากรุงเทพฯ

BHOBTHBK

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ สาขากรุงเทพฯ

BNPATHBK

ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น สาขากรุงเทพฯ

BOFATH2X

ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส สาขากรุงเทพฯ

CHASTHBX

ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ

CITITHBX

ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด สาขากรุงเทพฯ

DCBBTHBK

ธนาคารดอยซ์แบงก์ สาขากรุงเทพฯ

DEUTTHBK

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด สาขากรุงเทพฯ

HSBCTHBK

ธนาคารมิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพฯ

MHCBTHBK

ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด สาขากรุงเทพฯ

OCBCTHBK

ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น สาขากรุงเทพฯ

SMBCTHBK

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

BAABTHBK

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

EXTHTHBK

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

GOHUTHB1

ธนาคารออมสิน

GSBATHBK

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

SMEBTHBK

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

TIBTTHBK

บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

ADVNTHB1

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)

CAPETHB1

บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

KSOPTHB1

บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด

TSCCTHB1

บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (มหาชน)

TSFCTHB1

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

DEPGTHB1

บริษัท ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด

FIIKTHB1

บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด

NAITTHB1

บริษัทศูนย์ประมวลผล จำกัด

PRCYTHB1

บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด

TCHCTHB1

บริษัท ไทย เพย์เมนต์ เน็ตเวิร์ก จำกัด

THPNTHB1

บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

TSDCTHBK

บริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด

VIIHTHB1

กรมบัญชีกลาง

CGDXTHB1

กรมสรรพากร

REDPTHB1

ฝ่ายการเงินและการบัญชี ทีมรับ - จ่ายเงิน

BOTHTHB1ACG

ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร - ทีมเงินฝาก

BOTHTHB1CAT

ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร - ทีมจัดการพันธบัตร, ทีมการเงินพันธบัตร

BOTHTHB1DDG

ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร - ส่วนหักบัญชีเช็ค

BOTHTHB1ECH

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

BOTHTHB1FMG

ฝ่ายบริหารจัดการธนบัตร

BOTHTHB1NIG

ธนาคารแห่งประเทศไทย - ทีมสกุลเงินดิจิทัล

BOTHTHB1OP1

ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตร - ทีมบาทเนต

BOTHTHB1PSG

ธนาคารแห่งประเทศไทย - สายตลาดการเงิน

BOTHTHBK

1. เวลาที่ธนาคารของผู้สั่งโอนใช้ในการโอนเงินไปยังธนาคารผู้รับเงิน คลิกเพื่อดูรายละเอียด


2. เวลาที่ธนาคารของผู้รับเงินใช้ในการนำเงินเข้าบัญชีผู้รับเงิน คลิกเพื่อดูรายละเอียด

บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบบาทเนต

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

  • ว่าด้วยบริการบาทเนต พ.ศ. 2549

  • ว่าด้วยบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • ที่ สรข. 4/2561 เรื่อง การกำหนดนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นผู้ใช้บริการบาทเนต

  • ที่ สรข. 3/2556 ค่าธรรมเนียมบริการบาทเนต

  • ที่ สรข. 6/2559 ค่าธรรมเนียมและค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • ที่ สรข. 10/2565 เรื่อง ค่าธรรมเนียมบริการบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • พิธีปฏิบัติในช่วงปรับเปลี่ยนระบบบาทเนต

  • ที่ สรข. 9/2565 เรื่อง การดำเนินงานกรณีช่องทางสวิฟท์ขัดข้อง และการยกเลิกคำสั่งโอนเงิน

  • ที่ สรข. 1/2556 เรื่อง เวลาทำการของบาทเนตและการส่งหนังสือยืนยันรายการโอนเงินผ่านบาทเนต

  • ที่ สรข. 7/2559 เรื่อง เกณฑ์การดำรงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต

  • ที่ สรข. 8/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และการนำตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เป็นนายทะเบียนมาเป็นหลักประกันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • ที่ สรข. 9/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และการนำตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เป็นนายทะเบียนมาเป็นหลักประกันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1)

  • บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย

  • ที่ สรข. 2/2556 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • ที่ สรข. 2/2558 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2)

  • ที่ สรข. 5/2558 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3)

  • พิธีปฏิบัติการส่งคำสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายให้ ธปท. ดำเนินการในกรณีเกิดเหตุขัดข้อง

  • ที่ สรข. 6/2565 เรื่อง การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชำระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ

  • การให้บริการเชื่อมโยงเพื่อชำระราคาหลักทรัพย์

  • ค่าปรับบริการบาทเนต กรณีการให้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย

  • ค่าปรับบริการบาทนเต กรณีการให้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS เพื่อการชำระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

  • มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบบาทเนต

  • ที่ สรข. 8/2565 เรื่อง ข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022

  • หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์ม-B 12)

  • หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์ม-B 13)

  • หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์ม-B 14)

  • หนังสือแสดงความตกลงใช้บริการบาทเนต (แบบฟอร์ม B-1.1)​ - สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนต

  • หนังสือแสดงความตกลงใช้บริการบาทเนตผ่านคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการบาทเนตอื่น (แบบฟอร์ม B-1.2) - สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนตสมทบ

  • ตารางเวลาทำการของระบบบาทเนตและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง​

  • หนังสือมอบอำนาจตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต (แบบฟอร์ม B-2.1) - สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนต

  • หนังสือมอบอำนาจสำหรับการใช้บริการบาทเนตผ่านคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการบาทเนตอื่น (แบบฟอร์ม B-2.2) - สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนตสมทบ

  • หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการบาทเนต (แบบฟอร์ม B-3)

  • หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ BAHTNET Web Service (แบบฟอร์ม B-4)

  • หนังสือกำหนดสิทธิการทำธุรกรรม BAHTNET Web Service (แบบฟอร์ม B-5)

  • หนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝากเพื่อการโอนเงินบาทเนต (แบบฟอร์ม B-6)

  • สัญญาการขอร่วมใช้คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (แบบฟอร์ม B-7) - สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนตสมทบ​

  • ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) พ.ศ. 2544

  • ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546

  • แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง​

  • แบบฟอร์มแสดงรายละเอียดบัญชีและความประสงค์ขอรับ MT900, MT910 ทาง SWIFT (แบบฟอร์ม B-8)

  • แบบฟอร์มแสดงรายละเอียดบัญชีและความประสงค์ขอรับ Message ทาง SWIFT (แบบฟอร์ม B-8)

  • คุณสมบัติคอมพิวเตอร์ลูกข่าย อุปกรณ์และโปรแกรมสำหรับใช้บริการบาทเนต (ปรับปรุง 19 ก.พ. 2567)

  • การดำเนินการของ ธปท. ช่วงต้นวัน

  • การดำเนินการของ ธปท. ช่วงสิ้นวัน​

  • การดำเนินการของผู้ใช้บริการบาทเนตช่วงต้นวัน

  • การดำเนินการของผู้ใช้บริการบาทเนตช่วงสิ้นวัน​

  • หนังสือขอขยายเวลาให้บริการระบบบาทเนต (แบบฟอร์ม B-9)

  • พิธีปฏิบัติกรณีฉุกเฉินของระบบบาทเนต​

  • แบบฟอร์มการแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานบาทเนต (แบบฟอร์ม B-10)​

BAHTNET Help Desk

ติดต่อเจ้าหน้าที่

ทีมบาทเนต ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร ธปท.

โทร. 0-2283-5045 (อัตโนมัติ 8 คู่สาย)

โทรสาร 0-2283-6772

  • แบบฟอร์มการแจ้งระงับการใช้บริการ (แบบฟอร์ม B-11)​

  • หนังสือแสดงความตกลงการใช้บริการเชื่อมโยงเพื่อชำระราคาหลักทรัพย์

  • หนังสือมอบอำนาจการใช้บริการการเชื่อมโยงเพื่อชำระราคาหลักทรัพย์

  • หนังสือแจ้งการรับมอบอำนาจให้ดำเนินการกับบัญชีเงินฝากที่ ธปท.

  • หนังสือมอบอำนาจให้ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการกับบัญชีเงินฝากที่ ธปท. ภายใต้ระบบการเชื่อมโยงเพื่อชำระราคาหลักทรัพย์

  • หนังสือแสดงความตกลงการใช้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แบบฟอร์ม M1)

  • หนังสือมอบอำนาจการใช้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แบบฟอร์ม M2)

  • หนังสือแจ้งการรับมอบอำนาจให้ดำเนินการกับบัญชีเงินฝากที่ ธปท. (แบบฟอร์ม M3)

  • หนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการกับบัญชีเงินฝากที่ ธปท. (แบบฟอร์ม M4)

  • หนังสือแจ้งรายละเอียดธุรกรรมการชำระเงิน (แบบฟอร์ม M5)

  • หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แบบฟอร์ม M6)

  • หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ (แบบฟอร์ม M7)

  • หนังสือขอส่งคำสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายให้ ธปท. ดำเนินการในกรณีเกิดเหตุขัดข้อง (แบบฟอร์ม M8)

  • หนังสือแจ้งการใช้บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS (แบบฟอร์ม P1)

  • SOE01--แบบแจ้งเลขที่บัญชีตราสารหนี้ที่TSD

  • SOE02--แบบแจ้งความประสงค์ฝากตราสารหนี้

  • พิธีปฏิบัติแนบท้ายประกาศ ธปท. เรื่อง ข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022

  • พิธีปฏิบัติแนบท้ายประกาศ ธปท. เรื่อง การดำเนินงานกรณีช่องทางสวิฟท์ขัดข้อง และการยกเลิกคำสั่งโอนเงิน

  • หนังสือแสดงความตกลงการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชำระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ

  • หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชำระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ

  • 1. พิธีปฏิบัติแนบท้ายประกาศ ธปท. เรื่อง ข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022

  • - ฝชพ.(ว.) 158/2557-ระเบียบ พิธีปฏิบัติ และเอกสารที่เกี่ยวกับมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต

  • - พิธีปฏิบัติ ธปท. เรื่อง การกันเงินในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับ ธปท. และตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน สาหรับการชาระดุลธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day

  • - Workflow สำหรับการทำ Pre-fund รอบ Bulk Payment Credit Next Day

  • - หนังสือยินยอมให้กันเงินในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับ ธปท. และกันตราสารหนี้เพื่อการชำระดุลธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day

  • - หนังสือ เรื่อง การปฏิบัติตามระเบียบและพิธีปฏิบัติของ ธปท. ว่าด้วยการกันตราสารหนี้และเงินในบัญชี เงินฝากที่ ธปท. เพื่อการชำระดุลธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day

  • - ฝชพ.ว. 37/2566 นำส่งประกาศ ธปท. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบและประกาศ ธปท. ที่เกี่ยวข้องกับการนำตราสารหนี้มาเป็นหลักประกันในระบบบาทเนต

  • 3. ฝชพ.(ว.) 51/2556_การซักซ้อมแผนฉุกเฉินของผู้ใช้บริการบาทเนตประจำปี 2556

  • 4. ฝชพ.(ว.) 29/2556)_ประกาศ ธปท. ภายใต้ระเบียบบาทเนตที่ปรับปรุงใหม่ และการดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนวิธีการส่งหนังสือยืนยันรายการโอนเงินผ่านบาทเนต

  • 5. ฝชพ. (ว.) 28/2556_ระเบียบ/ประกาศ ธปท. ที่ปรับปรุงอันเนื่องจากการพัฒนาระบบ BOT-EFS_

  • 6. ฝรช.(12) ว. 79/2551_กำหนดเวลา Cut-off time และแนวทางปฏิบัติสำหรับการให้บริการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สามผ่านระบบบาทเนต_

  • 7. ฝรช.(03) ว.87/2547_การจ่ายเงินภาครัฐให้กับเจ้าหนี้และส่วนราชการผ่านระบบบาทเนตและระบบ SMART_

  • 8. สรช.(03) ว.55/2547_การกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการให้บริการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สามผ่านระบบบาทเนต_

  • 9. ฝรช.(03) ว.3414/2543_การยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดในการโอนเงินเพื่อบุคคลที่สามผ่านระบบบาทเนต_

  • 10. ฝชพ.(ว.)81/2558_นำส่งประกาศ ธปท. เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3) และพิธีปฏิบัติการส่งคำสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายให้ ธปท. ดำเนินการในกรณีเกิดเหตุขัดข้อง_

  • 11. ฝชพ.(ว.) 4/2560_ หนังสือเวียน เรื่อง การปรับรอบเวลาชำระดุลธุรกรรมแบบ Net Settlement ในระบบบาทเนต

  • 12. ฝชพ.(31) ว.794/2560_นำส่งประกาศ ธปท. เรื่อง มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบ BAHTNET และระบบ ICAS

  • 13. ฝชพ.ว.34/2562_นำส่งหลักเกณฑ์การให้บริการโอนเงินแก่ลูกค้าของธนาคารผ่านบาทเนต

  • 14. ฝชพ. (ว.) 39/2562_นำส่งประกาศ ธปท. เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และการนำตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เป็นนายทะเบียนมาเป็นหลักประกันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • 15. ฝชพ.(ว.) 14/2563_การยกเลิกแนวปฏิบัติและการผ่อนผันเกณฑ์ต่างๆ กรณีรองรับการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)

  • - ฝชพ.(ว.) 3/2564)-ฉบับปรับปรุง 1 กุมภาพันธ์ 2564_แนวปฏิบัติ เรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการบาทเนต

  • - คู่มือการรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามด้านการฉ้อโกง (Fraud Incident)

  • - แบบฟอร์มการรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามด้านการฉ้อโกง (Fraud Incident) กรณีสถาบันผู้ใช้บริการไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลตาม พรบ. ระบบการชําระเงิน พ.ศ. ๒๕๖๐

  • - BIS-CPMI_Endpoint Security_FAQ

  • - ฝชพ.(ว) 161/2564_หนังสือเวียน เรื่อง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบ BAHTNET และระบบ ICAS ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำการ ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • - แนวปฏิบัติ เรื่อง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบ BAHTNET และระบบ ICAS ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำการ ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • - ฝชพ.ว. 50/2565_ นำส่งประกาศ ธปท. และพิธีปฏิบัติ ของระบบบาทเนตที่เกี่ยวข้องกับข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงตามมาตรฐาน ISO 20022

  • - สรข. 8/2565_เรื่อง ข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022

  • - สรข. 9/2565_เรื่อง การดำเนินงานกรณีช่องทางสวิฟท์ขัดข้อง และการยกเลิกคำสั่งโอนเงิน

  • - สรข. 10/2565_เรื่อง ค่าธรรมเนียมบริการบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • - พิธีปฏิบัติแนบท้ายประกาศ ธปท. เรื่อง ข้อความการชำระเงินมูลค่าสูงผ่านระบบบาทเนตตามมาตรฐาน ISO 20022

  • - พิธีปฏิบัติแนบท้ายประกาศ ธปท. เรื่อง การดำเนินงานกรณีช่องทางสวิฟท์ขัดข้อง และการยกเลิกคำสั่งโอนเงิน

  • 19. ฝชพ.ว.69/2565_เรื่อง นำส่งพิธีปฏิบัติของระบบบาทเนต เรื่อง การดำเนินการกรณีผู้ใช้บริการบาทเนตไม่ได้รับเอกสารยืนยันการทำรายการหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงิน จากระบบบาทเนต ผ่านช่องทาง SWIFT

  • หลักเกณฑ์การให้บริการโอนเงินแก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ผ่านบาทเนตฉบับใหม่ (ปรับปรุงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2551)

  • หลักเกณฑ์การให้บริการโอนเงินแก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ผ่านบาทเนต

  • หลักเกณฑ์การเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • หนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • หนังสือขอเปิดบัญชีชำระเงิน

  • บัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้มีอำนาจแจ้งการโอนเงิน

  • หนังสือแจ้งการโอนเงินกรณีบาทเนตขัดข้อง

  • ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตรวจรับรองตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบบาทเนตตามแนวมาตรฐาน ISO/IEC 27001

  • 1. แบบฟอร์ม - หนังสือแจ้งผลการซักซ้อมแผนฉุกเฉินระบบบาทเนต

  • 2. แบบฟอร์ม - รายงานผลการซักซ้อมแผนฉุกเฉินระบบบาทเนต ปี 2567

  • 3. แนวปฏิบัติในการซักซ้อมแผนฉุกเฉินระบบบาทเนต ปี 2567-2569

  • 1. แบบแสดงความจำนงขอใช้บริการเครื่อง BAHTNET Web Service ที่ ธปท.

  • 2. แบบฟอร์มแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานบาทเนต

  • 3. หนังสือขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ใช้บริการบาทเนต

  • 4. หนังสือยินยอม สำหรับ ธปท.

  • 5. หนังสือยินยอม สำหรับ NITMX

  • 6. บัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

  • ว่าด้วยการดำเนินการกรณี BAHTNET Offline

เอกสารแนบท้ายระเบียบ

  • หนังสือแสดงความตกลงเพื่อดำเนินการกรณี BAHTNET Offline (แบบฟอร์ม BNO-1)

  • หนังสือมอบอำนาจให้ ธปท. ดำเนินการกับตราสารหนี้ SRS และ ILF (แบบฟอร์ม BNO-2)

  • หนังสือมอบอำนาจทำธุรกรรมฝากเงิน กรณีฉุกเฉินด้านระบบงาน (แบบฟอร์ม BNO-3)

  • หนังสือแจ้งรายละเอียดการรับดอกเบี้ย สำหรับการฝากเงินกรณีฉุกเฉินด้านระบบงานกับ ธปท. (แบบฟอร์ม BNO-4)

  • สรข. 4/2565 หลักเกณฑ์การรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นเงินสภาพคล่องกรณี BAHTNET Offline

  • สรข. 5/2565 การฝากเงินกรณีฉุกเฉินด้านระบบงาน การคิดค่าตอบแทนการใช้เงินสภาพคล่อง การผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่าง ๆ และการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายการโอนเงินกรณี BAHTNET Offline

  • สกง. 7/2565 ธุรกรรมด้านตลาดการเงินเพื่อการบริหารสภาพคล่องกรณี BAHTNET Offline

  • นำส่งระเบียบและประกาศ ธปท. เกี่ยวกับการดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline: BNO) (ที่ ฝชพ. (ว.) 30/2565)

  • นำส่งพิธีปฏิบัติ เรื่อง การดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline : BNO) ผ่านระบบ BAHTNET Lite สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนต (ที่ ฝชพ.ว. 36/2566)

  • ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) พ.ศ. 2544

  • ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2546

  • ว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องปฏิบัติงาน (Electronic Financial Services via Certified Servers) (ฝทส.(03) ว. 112/2553)

  • ค่าธรรมเนียมของบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services)

  • ค่าธรรมเนียมของบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องปฏิบัติงาน (Electronic Financial Servies via Certified Servers)

  • หนังสือแสดงความตกลงใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ : E-1

  • หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้ง Certifier : E-2

  • หนังสือแต่งตั้ง Certifier : E-3

  • หนังสือแต่งตั้ง Officer : E-4

  • หนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) : E-5

  • หนังสือแจ้งการเป็นตัวแทนการชำระเงินค่าธรรมเนียมของผู้ใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ : E-6

  • หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้งผู้รับรอง (Certifier)

  • หนังสือรับรองเครื่องปฏิบัติงาน (Certified Server)

  • หนังสือแสดงความตกลงใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องปฏิบัติงาน

  • หนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย : E-7

  • หนังสือแจ้งการเป็นตัวแทนการชำระเงินค่าธรรมเนียมของผู้ใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องปฏิบัติงาน : E-8

  • สรข. 2/2552 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน พ.ศ. 2552

  • สรข. 2/2556 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • สรข. 1/2558 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2)

  • สรข. 2/2566 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 3)

  • สรข. 6/2552 เรื่อง การกำหนดสถาบันอื่นเป็นสถาบันการเงินตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจะรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • สรข. 2/2563 เรื่อง ราคาตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายตราสารหนี้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • สรข. 8/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • สรข. 3/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • สรข. 9/2552 เรื่อง อัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายตราสารหนี้และวิธีคำนวณ

  • สรข. 10/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการเกี่ยวกับเงินสภาพคล่องระหว่างวันในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง

  • สรข. 6/2559 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • สรข. 3/2563 เรื่อง การคำนวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้

  • สรข. 3/2554 เรื่อง ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องในกรณีวันหยุดทำการสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษอันเนื่องจากกรณีฉุกเฉิน

  • พิธีปฏิบัติในการฝาก/ถอนหรือโอนตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ภายหลังการรวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์)

  • ฝรช.(12) ว. 132/2549 เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาหลักทรัพย์ (Custody fee) จากหลักทรัพย์เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • เอกสารแนบ หลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการฝากตราสารหนี้เป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (Custody Fee for ILF)

  • ฝชต.20 ว. 54/2554 เรื่อง การรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ในกรณีวันหยุดทำการสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษอันเนื่องจากกรณีฉุกเฉิน

  • ประกาศ ธปท. เรื่อง ราคาตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายตราสารหนี้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน และประกาศ ธปท. เรื่อง การคำนวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้

  • หนังสือแสดงความตกลงว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • หนังสือมอบอำนาจ ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • หนังสือมอบอำนาจให้ ธปท. ดำเนินการกับตราสารหนี้เพื่อธุรกรรมเงินสภาพคล่องระหว่างวัน

  • หนังสือแจ้งให้ ธปท. ดำเนินการเกี่ยวกับเงินสภาพคล่องระหว่างวันแทน

  • หนังสือขอฝากตราสารหนี้

  • หนังสือขอรับคืนตราสารหนี้

  • หนังสือแสดงความตกลง ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องในกรณีวันหยุดทำการสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษอันเนื่องจากกรณีฉุกเฉิน (แบบฟอร์ม S-1)

  • หนังสือมอบอำนาจ ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องในกรณีวันหยุดทำการสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษอันเนื่องจากกรณีฉุกเฉิน (แบบฟอร์ม S-2)

  • หนังสือมอบอำนาจให้ ธปท. ดำเนินการกับตราสารหนี้เพื่อธุรกรรมการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องในกรณีวันหยุดทำการสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษอันเนื่องจากกรณีฉุกเฉิน (แบบฟอร์ม-S3)

  • สรข. 3/2566 ว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1)

  • สรข. 1/2557 ว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต

  • ประกาศ ธปท. เรื่อง วิธีการดำรงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต

  • ประกาศ ธปท. เรื่อง การติดตาม การตรวจสอบการดำรงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระดุลสุทธิและการคิดค่าปรับ

  • ประกาศ ธปท. เรื่อง การใช้ประโยชน์อื่นของตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระดุลสุทธิ

  • ประกาศ ธปท. ที่ สรข. 1/2558 เรื่อง วันเริ่มดำรงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระดุลสุทธิ

  • ประกาศ ธปท. เรื่อง วิธีการดำรงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • หนังสือเวียนที่ ฝชพ. (ว.) 158 /2557 เรื่อง นำส่งระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ และเอกสารที่เกี่ยวกับมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต

  • หนังสือเวียนที่ ฝชพ. (ว.) 9/2558 เรื่อง นำส่งระเบียบและประกาศที่เกี่ยวกับมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (เพิ่มเติม)

  • หนังสือเวียน ที่ ฝชพ. (ว.) 49/2561 เรื่อง นำส่งประกาศ ธปท. เรื่อง วิธีการดำรงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)

  • หนังสือแสดงความตกลงการปฏิบัติตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต

  • หนังสือมอบอำนาจให้ ธปท. ดำเนินการกับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระดุลสุทธิ

  • หนังสือมอบอำนาจ

  • หนังสือแจ้งให้ ธปท. ดำเนินการเกี่ยวกับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระดุลสุทธิแทน

  • หนังสือขอฝากตราสารหนี้

  • หนังสือขอรับคืนตราสารหนี้

  • ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

  • ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อความระหว่างสถาบันการเงินสำหรับบริการชำระเงินรายย่อยครั้งละหลายรายการ (FI to FI)

  • ​หนังสือเวียน เรื่อง นำส่งแนวนโยบาย เรื่อง แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการชำระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

  • 3.1 ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วย การดำเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย

  • 3.1.1 ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย(แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)​

  • 3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การดำเนินการกรณีผู้ใช้บริการบาทเนตเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย

  • ​3.4 หนังสือแสดงความตกลง

  • 3.5 หนังสือมอบอำนาจ​

  • 3.6 แบบฟอร์มการแจ้งสถานะกรณีสมาชิกของระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ หรือกระบวนการล้มละลาย

BAHTNET Self-assessment

คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดกลุ่มระบบการชำระเงินตามระดับความสำคัญ รวมถึง........

assessment

แบบแจ้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโอนเงินเพื่อลูกค้าของธนาคารผ่านบาทเนต

  • แบบแจ้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโอนเงินเพื่อลูกค้าของธนาคารผ่านบาทเนต

คู่มือการสมัครขอใช้บริการระบบงานและบริการอื่น ๆ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง