ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

(Digital Assets)

1. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (กลุ่ม ธพ.)

1.2 ทำความรู้จักกับสินทรัพย์ดิจิทัล

  • ความหมายของสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศ ธปท. ที่ สนส. 6/2565 ได้แก่
    • สินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
    • สัญญาในการได้มาซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัล
    • Non-Fungible Token (NFT)
  • แต่ไม่รวมถึง
    • Central Bank Digital Currency (CBDC) ภายใต้โครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้ร่วมดำเนินการ
    • โทเคนดิจิทัลพร้อมใช้ที่กำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าและบริการเพื่อการอุปโภคบริโภคซึ่งมีลักษณะไม่ซับซ้อนและออกมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือส่งเสริมการขาย

  • ธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ตามประกาศ ธปท. ที่ สนส. 6/2565 ได้แก่
    • ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล1 และธุรกิจผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกันในต่างประเทศ
    • ธุรกิจที่มีธุรกิจหรือกิจกรรมหลัก (core business/ main activities) เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล
    • ธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นใดที่ยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ

 


 

1 ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล

1.3 แนวทางการกำกับดูแลและการบริหารความเสี่ยงต่อระบบการเงิน

  • รักษาสมดุลระหว่างการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการและการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม 
  • เพิ่มความยืดหยุ่นในขอบเขตการประกอบธุรกิจของกลุ่ม ธพ. มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการแข่งขันและนวัตกรรม และให้กลุ่ม ธพ. สามารถปรับตัวได้เท่าทันกับเทคโนโลยี
  • ขณะเดียวกัน การเพิ่มความยืดหยุ่นก็จำเป็นต้องมาพร้อมกับการยกระดับการกำกับดูแลด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่ยังไม่สามารถประเมินได้ครอบคลุม ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้า ต่อกลุ่ม ธพ. หรืออาจลุกลามเป็นวงกว้าง
  • ธปท. จึงเลือกแนวทางการกำกับดูแลที่อนุญาตให้กลุ่ม ธพ. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ DA ได้ โดยกำหนดเพดานการลงทุน

  • ไม่ปิดกั้นการใช้ DA ในรูปแบบที่มีประโยชน์ โดยสนับสนุนเทคโนโลยีหรือบริการทางการเงินที่จะช่วยให้ระบบการเงินมีประสิทธิภาพ พัฒนาบริการทางการเงินให้ดีขึ้น และเพิ่มการเข้าถึงทางการเงิน
  • ป้องกันความเสี่ยงต่อเงินฝากของประชาชน ความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อธุรกิจ ธพ. รวมถึงเพื่อดูแลความเสี่ยงต่อระบบ
  • คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการที่เป็นธรรม ป้องกันการชักชวนผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและไม่มีความเข้าใจเพียงพอมาลงทุน
  • ยกระดับมาตรฐานธุรกิจ DA ของประเทศให้ทัดเทียมกับมาตรฐานที่ผู้บริโภคคาดหวังได้จากบริการของ ธพ.
  • มีมาตรฐานการกำกับดูแลที่เหมาะสม เป็นไปตามระดับความเสี่ยง

  • 1. เพิ่มความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจของกลุ่ม ธพ.
    • ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)
    • อนุญาตให้กลุ่ม ธพ. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ DA อย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • 2. ยกระดับแนวทางกำกับดูแลธุรกิจของกลุ่ม ธพ. 
    • ยกระดับการกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาล
    • กำกับดูแลด้านเงินกองทุนให้เข้มแข็ง
    • ดูแลความเสี่ยงจากความเชื่อมโยงภายในกลุ่ม
    • ยกระดับการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองลูกค้า

2. การใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อเป็นสื่อกลางการชำระราคาค่าสินค้าและบริการ (means of payment)