25 ธ.ค. 65 | Public Hearing - Thailand Taxonomy ระยะที่ 1
คณะทำงาน Thailand Taxonomy เปิดรับฟังความเห็นร่างรายงาน Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ถึง 26 มกราคม 2566
Thailand Taxonomy
กติกาใหม่เพื่อโลกที่ยั่งยืน
"ธปท. คาดหวังว่าสถาบันการเงินจะนำ Thailand Taxonomy ไปใช้เป็นจุดยึดโยงเพื่อประเมินสถานะของตนเองและลูกค้า"
เพื่อให้สามารถเริ่มต้นตั้งเป้า ปรับกลยุทธ์และการดำเนินงานภายใน วางแผนปรับตัว ออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินช่วยสนับสนุนธุรกิจไปสู่เส้นทางที่เป็นสีเขียวมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างราบรื่นและทันการณ์ต่อไป
รณดล นุ่มนนท์
รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
กล่าวในงานสัมมนา Thailand Taxonomy กติกาใหม่เพื่อโลกที่ยั่งยืน วันที่ 5 กรกฎาคม 2566
2565
คณะทำงาน Thailand Taxonomy เปิดรับฟังความเห็นร่างรายงาน Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ถึง 26 มกราคม 2566
2566
Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 ประกอบด้วยภาคพลังงาน และภาคขนส่ง
..
ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพ
การเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ
Thailand Taxonomy ระยะที่ 2 ประกอบด้วย ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคเกษตร ภาคอาคารและอสังหาริมทรัพย์ และภาคการจัดการของเสีย อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นของสาธารณะ ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2567 - 10 มกราคม 2568
คณะทำงาน Thailand Taxonomy จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนามาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) โดยประกอบด้วยภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้มาตรฐาน Thailand Taxonomy สะท้อนมุมมองและความเห็นจากทุกภาคส่วน โดยในระยะแรกนี้ คณะทำงานประกอบด้วย
(1) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย*
(3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์*
(4) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
(5) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
(6) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม
(7) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
(8) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(9) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(10) กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(11) สมาคมธนาคารไทย
(12) สมาคมธนาคารนานาชาติ
(13) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ
*ธปท. และ ก.ล.ต. เป็นผู้แทนจากคณะทำงานด้านความยั่งยืนในภาคการเงิน (Working Group on Sustainable Finance: WG-SF) โดยคณะทำงานดังกล่าวประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อม
การจัดทำ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 จะเริ่มจากวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเรื่อง climate change mitigation อย่างไรก็ดี กิจกรรมที่เกิดขึ้นจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อ 5 วัตถุประสงค์อื่นที่เหลือด้วยเช่นกัน (หรือที่เรียกว่า Do No Significant Harm)
ภาคเศรษฐกิจ
Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 จะครอบคลุมภาคพลังงานและภาคการขนส่งก่อน เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีส่วนสำคัญต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่สูง โดยภายใต้ภาคพลังงานและภาคการขนส่ง จะแบ่งย่อยออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 23 กิจกรรม และมีเกณฑ์ประเมินว่าแต่ละกิจกรรมสามารถลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอยู่ในระดับใด