มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ
สถานการณ์โควิด 19 เร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (new normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรการทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition period ปี 65-66) จึงมุ่งเน้นสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs เตรียมความพร้อมในการปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้สอดรับกับ new normal
วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้ประคับประคองกิจการ ผ่านช่วงที่รุนแรงของสถานการณ์โควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน cheap funding ในขนาดวงเงินที่เหมาะสมกับความต้องการเงินลงทุนในการปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจ ภายใต้เงื่อนไขการค้ำประกันที่ยืดหยุ่นขึ้น
รูปแบบการปรับตัว (transformation activities) ที่สนับสนุน
1. กระแสดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital technology)
2. การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green)
3. นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation)
ตัวอย่างรูปแบบการปรับตัว
1) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2) มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด ๆ เลย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่นับรวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อ เว้นแต่ เป็นวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ
3) ต้องไม่เป็นลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสูญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
4) ต้องไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
5) ต้องไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
สินเชื่อเพื่อการปรับตัว คือ สินเชื่อที่มีกำหนดระยะเวลา (term loan) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน (ไม่ใช่เพื่อหมุนเวียน)
ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับวงเงินสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท (รวมวงเงิน soft loan และสินเชื่อฟื้นฟูเดิมที่เคยได้รับอยู่ก่อนด้วย) โดยไม่นับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจทั่วไป (ยังไม่ประสงค์ลงทุนใหม่) สามารถยื่นขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 ภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 และ/หรือ สินเชื่อเพื่อการปรับตัว อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือควบคู่กันได้ โดยประเภทของสินเชื่อจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจในครั้งนั้น ๆ
ระยะเวลาในการกู้ยืม
ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี แต่หากประสงค์ขอวงเงินสินเชื่อที่ยาวนานกว่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องตกลงกับสถาบันการเงินเป็นรายกรณีไป โดยสถาบันการเงินอาจคิดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างจากช่วง 5 ปีแรกได้ตามต้นทุนและความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืม
ผู้ประกอบธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ดอกเบี้ย: ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก และจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปีใน 2 ปีแรกของสัญญา และดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปีในช่วง 5 ปีแรกของสัญญา ทั้งนี้ ตามอัตราที่สถาบันการเงินกำหนดโดยสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของตัวผู้ประกอบธุรกิจเอง
ค่าธรรมเนียม: ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้แก่สถาบันการเงิน รวมถึง ดอกเบี้ยผิดนัดในส่วนของสินเชื่อเพื่อการปรับตัว
ทั้งนี้ หากมีการค้ำประกันโดย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) ผู้ประกอบธุรกิจจะมีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันที่ต้องจ่ายตามอัตราที่ บสย. กำหนด
2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส1. 1/2565 เรื่อง มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 3)
3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 7/2566 เรื่อง มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 4) (ขยายอายุมาตรการ 1 ปี)
มาตรการสนับสนุนอื่นของภาครัฐ ข้อมูลอ้างอิงอื่น