​มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ

สถานการณ์โควิด 19 เร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (new normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรการทางการเงินในช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition period ปี 65-66) จึงมุ่งเน้นสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs เตรียมความพร้อมในการปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้สอดรับกับ new normal

 

วัตถุประสงค์

 

เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้ประคับประคองกิจการ ผ่านช่วงที่รุนแรงของสถานการณ์โควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน cheap funding ในขนาดวงเงินที่เหมาะสมกับความต้องการเงินลงทุนในการปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจ ภายใต้เงื่อนไขการค้ำประกันที่ยืดหยุ่นขึ้น

 

รูปแบบการปรับตัว (transformation activities) ที่สนับสนุน

 

1. กระแสดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital technology)

2. การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green)

3. นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation)

 

เงื่อนไข transformation loan

 

ตัวอย่างรูปแบบการปรับตัว

 

transformation loan example 1. digital technology 2. green 3. innovation

 

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัว

(เช่นเดียวกับสินเชื่อฟื้นฟู)  

 

1) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย

2) มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด ๆ เลย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่นับรวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อ เว้นแต่ เป็นวงเงินสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ

3) ต้องไม่เป็นลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสูญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

4) ต้องไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

5) ต้องไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน

 

ประเภทสินเชื่อ / วงเงินที่จะได้รับ

 

สินเชื่อเพื่อการปรับตัว คือ สินเชื่อที่มีกำหนดระยะเวลา (term loan) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน (ไม่ใช่เพื่อหมุนเวียน)
ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับวงเงินสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท (รวมวงเงิน soft loan และสินเชื่อฟื้นฟูเดิมที่เคยได้รับอยู่ก่อนด้วย) โดยไม่นับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจทั่วไป (ยังไม่ประสงค์ลงทุนใหม่) สามารถยื่นขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 ภายใต้มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ได้  ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นกู้สินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 และ/หรือ สินเชื่อเพื่อการปรับตัว อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือควบคู่กันได้ โดยประเภทของสินเชื่อจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจในครั้งนั้น ๆ

 

ระยะเวลาในการกู้ยืม


ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี แต่หากประสงค์ขอวงเงินสินเชื่อที่ยาวนานกว่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องตกลงกับสถาบันการเงินเป็นรายกรณีไป โดยสถาบันการเงินอาจคิดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างจากช่วง 5 ปีแรกได้ตามต้นทุนและความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืม


ผู้ประกอบธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง


ดอกเบี้ย: ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก และจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปีใน 2 ปีแรกของสัญญา และดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปีในช่วง 5 ปีแรกของสัญญา ทั้งนี้ ตามอัตราที่สถาบันการเงินกำหนดโดยสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของตัวผู้ประกอบธุรกิจเอง
ค่าธรรมเนียม: ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้แก่สถาบันการเงิน รวมถึง ดอกเบี้ยผิดนัดในส่วนของสินเชื่อเพื่อการปรับตัว
ทั้งนี้ หากมีการค้ำประกันโดย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) ผู้ประกอบธุรกิจจะมีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันที่ต้องจ่ายตามอัตราที่ บสย. กำหนด
 

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวของสถาบันการเงิน

 

ข้อมูลอ้างอิงอื่น

 

1) พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564

2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส1. 1/2565 เรื่อง มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 3)

3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 7/2566 เรื่อง มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 4) (ขยายอายุมาตรการ 1 ปี)

 

มาตรการสนับสนุนอื่นของภาครัฐ